ชาผูเอ่อร์

ชาผูเอ่อร์ (อักษรจีน: 普洱茶) เป็นชาที่ปลูกทางภาคใต้ของมณฑลยูนนาน ที่อำเภอผูเอ่อร์ โดยชนชาติอี๋ ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยของมณฑลยูนนาน ชาผูเอ่อร์ นับว่าเป็นชาที่ดังและมาแรงมากในปัจจุบัน เปรียบกันว่ามีราคาเท่ากับทองคำเลยทีเดียว ชาผูเอ่อร์เป็นชาหมัก น้ำชามีสีดำ ผลิตมากจากชาพันธ์ใบใหญ่ยูนนานเท่านั้น ชาชนิดนี้ผู้ใดได้ดื่มเป็นครั้งแรกจะรู้สึกว่ามีกลิ่นแรงและรสชาติเข้มข้นมาก แต่เมื่อดื่มเป็นครั้งต่อ ๆ ไปจะรู้สึกติดใจจนลืมไม่ลง ชาผูเอ่อร์มีกรรมวิธีการผลิดแบบโบราณโดยการหมักไว้ในเข่งตะกร้าสานด้วยไม้ไผ่และรองด้วยใบตอง หมักแล้วอัดเป็นก้อนตั้งแต่ขนาดเท่าหัวแม่มือ ไปจนถึงขนาดเท่าโต๊ะกลม ๆ แล้วเก็บไว้ตั้งแต่ 1 ปี 5 ปี 10 ปี ไปจนถึง 20 ปี แล้วนำออกขายเมื่อ 2,100 ปีก่อน ได้มีการค้นพบใบชาและริเริ่มการปลูกชา ในเวลาต่อมา แต่ชาผูเอ่อร์นั้น ได้มีประวัติความเป็นมาราวๆ 1,700 กว่าปี ถึงแม้ชาจะมีอยู่มากมายหลายชนิด แต่ชาทั้งหลายเหล่านี้ จะถูกจำแนกออก เป็น 4 ชนิดใหญ่ ตามวิธีการผลิต คือชาชนิดไม่หมัก ซึ่งได้แก่ ชาเขียว ชาชนิดหมักตลอดการผลิต ได้แก่ ชาดำ ชาชนิดหมักช่วงระยะเวลาหนึ่งของการผลิต ได้แก่ ชาอูหลง ชาชนิดหมักช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วสามารถพัฒนาอายุด้วยการบ่ม ด้วยตัวของมันเอง ได้แก่ ชาผูเอ่อร์การผลิตชาผูเอ่อร์ที่ลึกลับและน่าค้นหานั้น ก็คือ การนำใบชาเขียว ที่ตากแห้งแล้ว จากนั้นนำมาผ่านกรรมวิธีการบ่มโดยวิธีธรรมชาติ หรือว่าโดยวิธีที่มนุษย์คิดค้นขึ้น เพียงระยะเวลา 800 ปี ชื่อเสียงของชาผูเอ่อร์นั้น โด่งดังไปยังทั่วโลก จากทิศเหนือดังไปจนถึง รัสเซีย ตะวันตกไปยัง ยุโรป และอาหรับ ทิศตะวันออก ไปยัง ญี่ปุ่น ทิศใต้ไปยัง มาเลเซีย และประเทศสยาม เมื่อประมาณ 150 ปีก่อน ได้มีนักวิชาการ ชาวรัสเซีย ชื่อ Tolstoy ได้บรรยายถึง สรรพคุณของชาตัวหนึ่ง ซึ่งมีสรรพคุณที่น่าศึกษาและค้นคว้าลงในหนังสือ (WAR & PEACE) ว่าสามารถทำให้สร่างเมาได้ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหารได้อีกด้วย ซึ่งก็คือ ชาผูเอ่อร์นั่นเอง แม้แต่ประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็นหลังคาโลก อย่าง ทิเบตนั้น ไม่ว่าจะเป็นชนชั้นระดับสูง อย่าง ลามะ รวมถึง ประชาชนทั่วไป ได้มีคำกล่าวที่ว่า “ยอมแม้แต่ที่จะไม่ทานข้าว 3 มื้อ แต่ไม่ยอมที่จะขาดการดื่ม ชาผูเอ่อร์ แม้แต่วันเดียว” ชาที่มีประวัติยาวนานต่อเนื่องนับร้อย ๆ ปี อย่างชาผูเอ่อร์นั้น การขนส่งชา ก็จะมีการใช้ทั้งคนแบกและใช้รถม้าบรรทุกชาไปส่งยังที่ต่างที่ห่างไกล จึงเป็นที่มาของ “เส้นทางการเดินของรถม้าส่งชาที่โด่งดัง” ด้วย ฉะนั้น
ไม่เพียงแต่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปเท่านั้น แต่เป็นส่วนหนึ่ง ในชีวิตประจำวันของผู้คนอีกด้วย ประเทศอื่น ๆ นั้น ก็มีการรับรู้และดื่มชาผูเอ่อร์มาเป็นระยะเวลานานแล้ว อาทิ ในฮ่องกง รู้จักชาผูเอ่อร์มา มากกว่า 100 ปี ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เกาหลี เยอรมัน รู้จักมา มากกว่า 50 ปี ไต้หวัน รู้จักมา ประมาณ 30 ปีและ มาเลเซีย มากกว่า 20 ปี เป็นต้นชาผู๋เอ๋อร์ความจริงแล้วไม่จำเป็นต้องเป็นก้อนอย่างที่เราเข้าใจเสมอไป แต่เนื่องการจากการอัดเป็นก้อนเป็นแผ่นนั้นในสมัยโบราณย่อมสะดวกกว่าในด้านการขนส่ง ปัจจุบันเราจึงเห็นเป็นก้อนเสียโดยมาก เพราะการรักษาวัฒนธรรมเดิม ๆ ไว้นั่นเอง