ความเชื่อ ของ ชาวกะเหรี่ยง

เดิมนั้นชาวกะเหรี่ยงนับถือผีมีการบวงสรวงและเซ่นสังเวยอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตาม ในภายหลังชาวกะเหรี่ยงในหลายชุมชนหันมานับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์มากขึ้น แต่ก็ยังคงความเชื่อเดิมอยู่ไม่น้อย เช่น ความเชื่อเรื่องขวัญ

ชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่าคนเรามีขวัญอยู่ทั้งหมด 37 ขวัญ เมื่อคนตายไป ขวัญจะละทิ้งหรือหายไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าขวัญจะหนีไปท่องเที่ยว และอาจถูกผีทำร้ายหรือกักขังไว้ ทำให้เจ้าของขวัญล้มป่วย การรักษาหรือช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยก็คือ ต้องล่อและเรียกขวัญให้กลับคืนมา

ส่วนค่าใช้จ่ายส่วนมากจะช่วยกันออก แต่ส่วนใหญผู้ชายจะเป็นฝ่ายออกมากกว่า ส่วนความนับถือบรรพบุรุษของเรานับถือศาสนาพุทธมายาวนานไม่ใช่นับถือผีแต่คนกะแหรี่ยงส่วนใหญ่ไม่รู้ข้อมูลในส่วนนี้โดยเฉพาะกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย คนกะเหรี่ยงในจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี และอุทัยธานีส่วนใหญ่ไม่รู้ความเป็นมาของบรรพบุรุษบางคนไม่รู้แม้ภาษาเขียนของตนเองชาวกะเหรี่ยงพุทธที่อยู่ในประเทศไทยและแนวชายแดน มีความเชื่อและศรัทธาในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยการบอกเล่าถึงการร่วมกันต่อสู้ในสงครามกับพม่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงในเขตจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรีในปัจจุบัน ล้วนสืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่เป็นนักรบในกองทัพชาวสยามที่เรียกว่า กองเสือป่าแมวเซา กองอาทมาต และกองอาสา จึงมีความสัมพันธุ์อย่างแน่นแฟ้นในฐานะกัลยาณมิตรกับชาวไทยและชาวมอญที่เข้ามาพึ่งบรมโพธิสมภาร มาแต่ครั้งรัชสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทั้งมีศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวในวิชาดาบ และวิชามวย ใกล้เคียงกันจนอาจกล่าวได้ว่ามีการผสมกลมกลืนสืบทอดกันมานานหลายร้อยปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ความเชื่อว่า ชาวกะเหรี่ยง มีหน้าที่ดูแลรักษาแผ่นดินสยาม ซึ่งเป็นกันชนตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี ระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่าในปัจจุบัน

หมายเหตุ...นับถือ ผี เป็นความเชื่อดั้งเดิมอยู่คู่กับชาติพันธ์นี้มานานแล้ว ซึ่งเป็นความเชื่อในเหล่าบรรพบุรุษ เจ้าที่เจ้าทาง เจ้าป่าเจ้าเขา เนื่องจากชีวิตของ ปง่า-เก่อ-หญอ อยู่กับป่าเขา ผูกพันกับธรรมชาติมาเนิ่นนาน จึงหล่อหล่อมความเชื่อกับธรรมชาติเข้าด้วยกัน ในการทำกิจกรรมต่างๆ จะต้องมีการเซ่น เจ้าที่เจ้าทาง และบอกกล่าวบรรพชน ให้ท่านได้มาอุดหนุนค้ำจูน ช่วยให้กิจการงานนั้นๆ เจริญก้าวหน้า ทำกสิกรรมได้ผลผลิตดี ขอให้ท่านดลบันดาลให้อยู่เย็นเป็นสุข ปกป้องคุ้มครองดูแล และยังเป็นการขอขมาต่อท่านเหล่านั้นด้วย ซึ่งเป็นความเชื่อและเป็นประเพณีที่ดีงาม เป็นการสร้างความรักความสามัคคีในหมู่คณะ และให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขในครอบครัว เป็นความเชื่อที่ชาติพันธ์นี้ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ความเชื่อในลักษณะนี้มีอยู่ในทุกชนชาติ