วัฒนธรรม ของ ชาวแมนจู

ทรงผม

ทรงผมตามประเพณีของชาวแมนจู คือ โกนครึ่งหัวด้านหน้าและไว้ผมแบบหางเปียข้างหลังรวบเป็นเส้นเดียวและยาว เรียกว่า "เปี้ยนจึ" (辮子; biànzi) หรือ "ซอนโกโฮ" ในภาษาแมนจู ต้นกำเนิดของทรงผมนี้คาดว่าน่าจะมาจากข้อสันนิษฐานว่าชาวแมนจูนิยมใช้ม้าเยอะ ทรงผมนี้ช่วยในการเคลื่อนไหวบนม้าและเวลายิงธนู เส้นผมจะไม่ปกหน้า ถักเปียพันคอเอาไว้ให้ความอบอุ่นกับลำคอ ส่วนโกนด้านหน้ามีสองทฤษฎี คือไม้ให้มาปลิวปิดตา หรือทำให้ใส่หมวกเหล็กสะดวก (แบบทรงผมซามูไร)

  • องค์ชายไจ้เต้าแห่งราชวงศ์ชิงไว้ผมเปียตามแบบชาวแมนจู
  • การไว้ผมเปียรูปแบบต่าง ๆ ของชาวแมนจู
  • หางเปียของชาวแมนจู (สังเกตจากด้านหลัง)
  • การโกนครึ่งหัวด้านหน้า

ส่วนสตรีชาวแมนจูจะไว้ทรงผมที่แตกต่างออกไปที่เรียกว่า "เหลียง ปาโตว" สตรีชาวแมนจูนิยมผมทรงสูง ๆ ใหญ่ ๆ ใส่ดอกไม้ดอกโต ทรงผมของหญิงชาวแมนจูแบ่งเป็น 2 แบบ คือ 1.ทรงสองแกละ 2.ทรงหมวกปีกกว้าง ทรงสองแกละนั้นเริ่มจากการหวีผมไปไว้ด้านหลัง จากนั้นแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนล่างถึงลำคอ แล้วแบ่งผมออกเป็นสองช่อยกสูง ตอนที่พับนั้นชโลมน้ำยาจัดทรงผมพร้อมกับจัดให้เรียบ ยกสูงขึ้นเล็กน้อย แล้วพับ จากนั้นรวมกันเป็นช่อเดียว แล้วย้อนกลับไปด้านหน้า ใช้เชือกมัดให้แน่นจากโคนผมจากนั้นสอดแถบเหล็กสำหรับจัดทรง แล้วนำเส้นผมพันรอบแถบเหล็กนั้นไว้ ให้เป็นรูปตัว T แล้วค่อยประดับด้วยดอกไม้ ลูกปัด และพู่ห้อยหรือตุ้งติ้ง ภายหลังในสมัยเสียนเฟิงฮ่องเต้ (ก่อนสมัยซูสีไทเฮา) ผมทรงนี้ก็ค่อย ๆ มีขนาดใหญ่ขึ้น แกละทั้งสองข้างก็มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จึงนำแถบรูปพัดสีดำมาประดับให้ปีกผมทั้งสองข้างกว้างขึ้น แล้วเรียกว่า ฉีโถว หรือ กวนจวง ซึ่งเรารู้จักกันในนาม ต้าลาเช่อ

  • การไว้ทรงผมของสตรีชั้นสูง (แบบทรงหมวกปีกกว้าง)
  • สตรีชั้นสูงชาวแมนจู (แบบทรงหมวกปีกกว้าง)
  • การไว้ผมทรงสองแกละ
  • สตรีแมนจูไว้ผมทรงสองแกละ

วันหยุดทางประเพณี

ชาวแมนจูมีวันหยุดทางประเพณีหลายวัน บางวันได้รับอิทธิพลจากชาวฮั่น เช่น ตรุษจีน[18] และ เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง[19] บางวันก็เป็นวันหยุดของแมนจูแท้ ๆ เช่น เทศกาลปานจิน (頒金節, Banjin Inenggi, แม่แบบ:ManchuSibeUnicode) ซึ่งจัดทุกวันที่ 13 ของเดือนสิบในปฏิทินจันทรคติ เป็นวันฉลองครบรอบการตั้งชื่อคำว่า "หม่านจู๋" (แมนจู)[12] โดยในปีค.ศ. 1635, จักรพรรดิหฺวัง ไถจี๋ ได้ทรงเปลี่ยนชื่อชาวแมนจูจาก "หนวี่เจิน" (女真) เป็น "หม่านจู๋" (滿族)[9][20] วันเจว๋เหลียง (絕糧日) หรือ วันกำจัดอาหาร ซึ่งจัดทุกวันที่ 26 ของเดือนแปดของในปฏิทินจันทรคติ เป็นอีกวันหยุดหนึ่ง ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากเรื่องเล่าของจักรพรรดินู่เอ๋อร์ฮาชื่อและกองทัพของพระองค์ ซึ่งกำลังทำศึกกับศัตรูกระทั่งเกือบไม่มีอาหารเหลือ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้สนามรบ ได้ยินว่าเสบียงอาหารใกล้หมด จึงมาช่วยจักรพรรดิและกองทัพ ขณะนั้นสนามรบไม่มีภาชนะที่ใช้ในการรับประทานอาหาร จึงต้องใช้ใบจี่ซู (紫蘇) ห่อข้าว จากนั้นกองทัพก็ได้ชัยชนะ คนรุ่นหลังจึงระลึกถึงความลำบากนี้ โดยจักรพรรดินู่เอ๋อร์ฮาชื่อทรงสถาปนาวันนี้ให้เป็นวันเจว๋เหลียง ตามประเพณีแล้ว ชาวแมนจูมักกินใบจี่ซูหรือใบผักกาดห่อด้วยข้าวสวย ไข่คน เนื้อวัวหรือเนื้อหมู[21]