ประวัติ ของ ชาเอิร์ลเกรย์

ชาเอิร์ลเกรย์บรรจุในกระป๋อง

ชาเอิร์ลเกรย์เป็นชาที่ปรุงแต่งขึ้นให้แก่ ชาลส์ เกรย์ เอิร์ลเกรย์ที่ 2 นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ช่วงปีคริสต์ศักราช 1830 ถึงปีคริสต์ศักราช 1834 โดยการนำชาดำผสมกับน้ำมันมะกรูด[3] ต่อมาได้รับความนิยมในหมู่ชนชั้นสูงและได้แผ่ขยายไปทั่วโลก ชาเอิรล์เกรย์เป็นชาที่ปรุงขึ้นเพื่อเลียนแบบชาจีนซึ่งมีราคาสูง ซึ่งชานี้เป็นที่รู้จักในประเทศอังกฤษตั้งแต่ปีคริสต์ศักราช 1820 ในช่วงแรกชาเอิร์ลเกรย์เป็นที่รู้จักในชื่อ "เกรยส์ (Grey's Tea)" จนกระทั่งในปีคริสต์ศักราช 1880 บริษัทชาร์ลตันแอนด์โค ได้โฆษณาชานี้ในชื่อ"เอริล์เกรย์" ในเดือนเมษายน คริสต์ศักราช 2011 บริษัททไวนิงส์ (อังกฤษ: Twinings) ผู้เป็นต้นตำรับชาเอิรล์เกรย์ได้ประกาศการปรับเปลี่ยนสูตรชาเอิลร์เกรย์ของบริษัท โดยมีการเพิ่มน้ำมันมะกรูดและซิตรัส ชาเอิร์ลเกรย์ถือว่าเป็นชาตัวหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญและส่งผลต่อวัฒนธรรมการดื่มชาของชาวอังกฤษ ซึ่งก่อให้เกิดการคิดค้นชาสูตรใหม่ขึ้น เช่น ชาเลดีเกรย์ที่มีการใส่ผลไม้จำพวกมะนาวและส้ม ชาเอิร์ลเกรย์นิยมดื่มกันในช่วงบ่าย มักทานคู่กับขนมเค้กหรือของว่างต่างๆ เช่น แซนด์วิช แยมโรล มาการง หรือ สกอน สามารถดื่มได้ทุกช่วงเวลา

มีเรื่องราวกล่าวถึงต้นกำเนิดชาเอิร์ลเกรย์ระบุว่า ผู้รับใช้คนหนึ่งของลอร์ดเกรย์ได้ช่วยชีวิตลูกชายของครอบครัวชาวจีนครอบครัวหนึ่ง ครอบครัวชาวจีนครอบครัวนั้นจึงต้องการตอบแทนลอร์ดชาลส์ เกรย์ เอิร์ลเกรย์ที่ 2 โดยปรุงชาสูตรพิเศษมอบให้แก่ลอร์ดเกรย์ในปีคริสต์ศักราช 1803 เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา เรื่องราวนี้ไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือยืนยันข้อเท็จจริงและมีข้อขัดแย้งทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากลอร์ดเกรย์มิเคยเดินทางไปประเทศจีน[4] นอกจากนี้ในช่วงเวลาดังกล่าว การใช้น้ำมันมะกรูดยังไม่เป็นที่ทราบกันในประเทศจีน อย่างไรก็ตามเรื่องราวได้รับการบอกเล่าในเชิงปากต่อปากส่งผลให้ข้อมูลผิดเพี้ยนไปเมื่อเวลาผ่านไป ในเว็บไซต์ทไวนิงส์ได้ระบุว่า


" ราชทูตผู้หนึ่งได้เดินทางเดินทางไปประเทศจีน ภายหลังเดินทางกลับสหราชอาณาจักร ทูตท่านนี้ได้นำชาเอิร์ลเกรย์กลับมาด้วยและได้มอบให้แก่ ลอร์ดชาลส์ เกรย์ เอิร์ลเกรย์ที่ 2 " - ทไวนิงส์ ออฟ ลอนดอน[5]

ร้านแจ็คสันออฟพิคคาดิลลี่อ้างว่าทางร้านเป็นผู้ริเริ่มขายสูตรชาเอิร์ลเกรย์นี้เป็นร้านแรก ลอร์ดเกรย์ได้มอบสูตรชานี้ให้แก่โรเบิร์ต แจ็คซันและบริษัทหุ้นส่วนจอร์จ ชาร์ลตันในปีคริสต์ศักราช 1830 ตามที่ตระกูลแจ็คซันกล่าวอ้าง พวกเขาผลิตชาเอิร์ลเกรย์นี้ขึ้นมาตั้งแต่ได้รับสูตรมาโดยที่ชานี้มีพื้นฐานมาจากชาดำจีนตั้งแต่ต้น[6][7]