ประวัติการศึกษา ของ ชิต_เหล่าวัฒนา

ดร. ชิต เหล่าวัฒนา พื้นฐานการศึกษาจาก รร. พัฒนาราษฏร์/พัฒนานุกูล บ้านหมอ สระบุรี จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี (มจธ) เป็นลูกศิษย์เอกของ ปรมาจารย์ผู้ก่อตั้ง มจธ: ดร.หริส สูตะบุตร และ ดร.ไพบูลย์ หังสพฤกษ์ ไดัรับทุนมอนบูโช รัฐบาลญี่ปุ่นไปศึกษาและทำวิจัยด้านหุ่นยนต์ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนฟุลไบรท์ และจากบริษัท AT&T ได้รับประกาศนียบัตรด้านการจัดการเทคโนโลยีลจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาชูเซสต์ (เอ็มไอที) สหรัฐอเมริกา

ภายหลังจบการศึกษา ดร.ชิต ได้รับโอกาสสำคัญทำงานแทนคุณแผ่นดินเกิด โดยกลับมาเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ด้วยแรงสนับสนุนจจากปรมาจารย์ทั้งสองท่าน ดร. ชิต จึงก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม หรือที่คนทั่วไปรู้จักในนาม “ฟีโบ้ (FIBO)”ได้สำเร็จ ฟีโบ้เป็นหน่วยงานหนึ่งในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี แสดงบทบาทผู้นำในงานวิจัยพื้นฐาน และประยุกต์ด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ตลอดจนให้คำปรึกษาหน่วยงานรัฐบาล เอกชน และบริษัทข้ามชาติ (Multi-national companies) ในประเทศไทยด้านการลงทุนทางเทคโนโลยี การใช้งานเทคโนโลยีอัตโนมัติชั้นสูงและการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้ ดร.ชิต ยังผู้รับผิดชอบโครงการ Hard Disk Cluster ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติในการประสานงานนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆกับ มืออาชีพจากบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสค์เพื่องานวิจัยและพัฒนา การอบรมบุคลากรตลอดจนการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานจนเกิดบริษัทคนไทยที่มีความแข็งแกร่งทางเทคโนโลยีสามารถทำธุรกิจร่วมกับบริษัทข้ามชาติได้ ในปี พ.ศ. 2540 ดร. ชิตได้ร่วมกับนักวิจัยรุ่นใหม่ของประเทศจัดตั้งสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทยขึ้น และรับตำแหน่งนายกสมาคมฯ คนแรก  แม้จะมีภาระงานทางวิชาการแล้ว ดร. ชิต ยังอุทิศเวลาเป็นวิทยากรรายการโทรทัศน์ ส่งเสริมความสามารถของเยาวชนไทยตลอดเวลากว่า 10 ปี: "สมรภูมิไอเดีย" ในฐานะกูรูนักวิทยาศาสตร์ และ กรรมการตัดสินรายการ "คิดส์ กระหึ่มโลก" เป็นผู้ริเริ่มการแข่งขันหุ่นยนต์ในประเทศไทยหลายรายการ สาธารณะให้เกียรติยกย่องเป็นบิดาแห่งวิทยาการหุ่นยนต์ไทย

งานที่ภาคภูมิใจมากที่สุดอีกงานหนึ่งในชีวิต คือ การได้ถวายงาน เป็นผู้ประสานงาน โครงการน้ำ กับ King Bhumipol Professor on Water Resource Management Dr. Dennis McLaughlin จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาชูเซสต์ (เอ็มไอที) สหรัฐอเมริกา ล่าสุดได้รับการแต่งตั้งจาก พณฯ นายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการเศรษฐกิจดิจิทัลและกรรมการซุปเปอร์คลัสเตอร์อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อนำเสนอมาตรการต่อคณะรัฐมนตรีสร้างอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ของประเทศ พร้อมๆกันการริเริ่มจัดตั้งสมาคมผู้ออกแบบและติดตั้งหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของไทย (Thai Automation and Robotics Association: TARA) และ ศูนย์ประสานงานความเป็นเลิศด้านวิทยาการหุ่นยนต์ (Center of Robotics Excellence: CoRE) ทำงานกับ 10 มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย

ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษา (Excecutive Advisor) สำนักงานระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก:อีอีซี

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชิต_เหล่าวัฒนา //scholar.google.com/scholar?q=%22%E0%B8%8A%E0%B8%... //www.google.com/search?&q=%22%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E... //www.google.com/search?as_eq=wikipedia&q=%22%E0%B... //www.google.com/search?q=%22%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0... //www.google.com/search?tbs=bks:1&q=%22%E0%B8%8A%E... http://fibo.kmutt.ac.th/fiboweb07/thai/download/pd... http://fibo.kmutt.ac.th/fiboweb07/thai/download/pd... http://fibo.kmutt.ac.th/fiboweb07/thai/download/pd... http://fibo.kmutt.ac.th/fiboweb07/thai/download/pd... http://fibo.kmutt.ac.th/fiboweb07/thai/images/stor...