แหล่งที่มาของวันทั้งเจ็ด ของ ชื่อวันของสัปดาห์

จากหลายๆ แหล่งที่มาพบว่าวันทั้งเจ็ดนั้นต่างก็มีที่มาจากอารยธรรมบาบิโลน หรือ สุเมเรียน แต่ก็มีผู้ที่กล่าวว่าพวกมันเกิดก่อนหน้านั้นอีกนัก ส่วนวันทั้งเจ็ดที่เกี่ยวกับดาวเคราะห์นั้นมีที่มาจากอารยธรรมอียิปต์ (สมัยอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช)

การจดบันทึกที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยค้นพบมาจากพระคัมภีร์ไบเบิ้ล ในหลักธรรมสิบประการของพระเจ้า อพยพ 20:11 ว่า "พระเจ้าใช้เวลาหกวันในการสร้างสวรรค์และแผ่นดิน มหาสมุทร และพักผ่อนในวันที่เจ็ด" ซึ่งมีความหมายย้อนกลับไปถึงสัปดาห์ของการสร้าง ปฐมกาล 1 และ 2 วันทั้งเจ็ดนั้นกะคร่าวๆ ว่าเป็นช่วงการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ (ขึ้น 15 ค่ำ, ขึ้น 8 ค่ำ, แรม 8 ค่ำ และแรม 15 ค่ำ) แต่ไม่ว่ากรณีใดก็ตาม วันทั้งเจ็ดนั้นตั้งอยู่บนสวรรค์ที่ส่งไปทั้งทางตะวันตกและตะวันออก ตั้งแต่อารยธรรมกรีกไปจนถึงอารยธรรมโรมัน ตั้งแต่อารยธรรมญี่ปุ่นจนถึงอรายธรรมแมนนิเชียน ตั้งแต่อารยธรรมจีนจนถึงอารยธรรมอินเดีย

ในอารยธรรมฮินดู ก็ได้มีการใช้วันทั้งเจ็ดจากเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งเขียนเป็นภาษาสันสกฤตราว 500 ปีก่อนคริสตกาล โดยใช้คำว่า Bhanu-vaar หมายถึง วันอาทิตย์ Soma-vaar หมายถึง วันจันทร์ และต่อๆ ไป

การอ้างอิงที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบอยู่ในงานเขียนของจีน ซึ่งถูกระบุว่าเป็นของ ฟาน หนิง มีชีวิตอยู่ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 ส่วนในประเทศอินเดียนั้นก็มีการบันทึกเกี่ยวกับงานเขียนของพระสงฆ์จีนชื่ออี ชิง และพระสงฆ์จากเกะลังกาชื่อบู คง ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 การถ่ายตัวอักษรจีนเรื่องระบบดาวเคราะห์นั้นภายหลังได้ถูกนำไปสู่ดินแดนญึ่ปุ่นโดยพระสงฆ์ชาวญี่ปุ่น โคโบ ไดชิ

วันทั้งเจ็ดนั้นได้ถูกใช้มาแล้วเป็นเวลากว่าสองสหัสวรรษ และมีทั้ง ปฏิทินอเล็กซานเดรียน ปฏิทินจูเลียนและปฏิทินเกรโกเรียน

ใกล้เคียง

ชื่อวันของสัปดาห์ ชื่อวิทยาศาสตร์ รายชื่อวิดีโอบนยูทูบที่มียอดผู้ชมมากที่สุด รายชื่อวัดในจังหวัดนครศรีธรรมราช รายชื่อวิดีโอเกมโปเกมอน รายชื่อวรรณคดีไทย รายชื่อของวิเศษของโดราเอมอน รายชื่อวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รายชื่อวัดในจังหวัดเชียงใหม่ รายชื่อวงศ์พรรณไม้