พระราชประวัติ ของ ชุมนุมสมเด็จพระโสร์ทศ_(เจ้าฟ้าจุ้ย)

สมเด็จพระโสร์ทศ[3][หมายเหตุ 1] มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุ้ย หรือ เจ้าจุ้ย[7] ภาษาจีนเอ่ยพระนามว่า เจาจุ้ย[8] (จีน: 昭翠)[9] เป็นพระราชโอรสของเจ้าฟ้าอภัย[10]: 210  ส่วน จดหมายเหตุรัชกาลเกาจง "เกาจงสือลู่" บรรพ ๘๖๔ ว่า เจ้าจุ้ย (เจาชุ่ย) เป็นพระโอรสของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์[11]: 150  และเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ หลังเสียกรุงศรีอยุธยาแล้วจึงเสด็จลี้ภัยไปยังเมืองพุทไธมาศ (หรือ ฮาเตียน ปัจจุบันคือ ราชรัฐห่าเตียน)[12] ขณะนั้นเมืองพุทไธมาศอยู่ในอำนาจของจีนกวางตุ้ง[7] มีคนไทยจำนวนมากทั้งชายและหญิงไปรวมอยู่กันกว่าสามหมื่นคน[7] จักรพรรดิเฉียนหลงได้ให้การสนับสนุนเจ้าฟ้าจุ้ยให้ขึ้นปกครองกรุงสยาม โดยพระราชทานตราตั้งพระราชลัญจกรตราหยก[13] เมื่อปี พ.ศ. 2310 เพื่อรับรองสถานะความเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรสยาม (เสียมหลอ)

ใกล้เคียง

ชุมนุมสมเด็จพระโสร์ทศ (เจ้าฟ้าจุ้ย) ชุมนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมพระยาตาก ชุมนุมสมัยกรุงธนบุรี ชุมนุมดาว การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 การชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภาไทย 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน การชุมนุมที่เนือร์นแบร์ค

แหล่งที่มา

WikiPedia: ชุมนุมสมเด็จพระโสร์ทศ_(เจ้าฟ้าจุ้ย) https://www.silpa-mag.com/history/article_41081 https://finearts.go.th/kanchanaburilibrary/view/32... http://www.usakanaenew.com/17249710/%E0%B8%9E%E0%B... https://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%... https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/5/5... https://so05.tci-thaijo.org/index.php/thammasat_hi... http://www.openbase.in.th/files/tbpj134.pdf https://angkordatabase.asia/libs/docs/publications... https://finearts.go.th/kanchanaburilibrary/view/24... https://www.finearts.go.th/main/view/27313-%E0%B8%...