ประวัติ ของ ช่องเขาขาด

ช่องเขาขาด หรือ ช่องไฟนรก เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า (ทางรถไฟสายมรณะ) ตลอดเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า มีหลายจุดที่มีเนินหิน ภูเขา หน้าผา หรือหุบเหว ขวางอยู่จึงต้องขุดให้เป็นช่องเพื่อที่รถไฟสามารถวิ่งผ่านไปได้ ซึ่งที่ช่องเขาขาด หรือ ช่องไฟนรก เป็นจุดที่ใหญ่ที่สุดบนเส้นทางนี้ การขุดเจาะช่องเขาขาดเริ่มในเดือนเมษายนปี พ.ศ. 2486 ปรากฏว่างานล่าช้ากว่ากำหนดจึงมีช่วงที่เร่งงานซึ่งแรงงานแต่ละกะต้องทำงานถึง 18 ชั่วโมง โดยงานส่วนใหญ่ล้วนใช้แรงคนทั้งสิ้น เช่นการสกัดภูเขาด้วยมือ ซึ่งเป็นการทำงานที่ทารุณยิ่ง เนื่องจากต้องปีนลงไปสกัดในช่องเขาซึ่งบางช่วงสูงถึง 11 เมตร จนแทบไม่มีอากาศหายใจทั้งยังต้องทำงานท่ามกลางอากาศร้อนอบอ้าวในช่วงเดือนมีนาคม ในภาวะขาดแคลนน้ำและอาหาร เมื่อเจ็บป่วยแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ก็ไม่เพียงพอต่อการรักษา เชลยศึกและกรรมกรที่ช่องเขาขาดต้องทำงานตอนกลางคืนด้วยแสงไฟจากคบเพลิงและกองเพลิงทำให้สะท้อนเห็นเงาของเชลยศึกและผู้คุมวูบวาบบนผนัง ทำให้ที่นี่ได้รับการขนานนามว่า "ช่องไฟนรก" หรือ Hellfire Pass ในภาษาอังกฤษ

สถานีในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

ทางเดินที่ช่องเขาขาด

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รื้อทางรถไฟบางส่วนออก ทางรถไฟสายมรณะในปัจจุบันจึงเหลือเพียงแค่ตั้งแต่สถานีหนองปลาดุกถึงสถานีน้ำตกเท่านั้น (ถ้าเป็นขบวนรถนำเที่ยวจะสุดทางที่สถานีน้ำตกไทรโยคน้อย)

1.กงม้า (คอนม้า)

2.บ้านโป่งใหม่

3.เขาดิน

4.ท้องช้าง

5.ถ้ำผี

6.หินตก

7.แคนนิว

8.ไทรโยค

9.กิ่งไทรโยค

10.ริ่นถิ่น

11.กุยแซง

12.หินดาด

13.ปรางกาสี

14.ท่าขนุน

15.น้ำโจนใหญ่

16.ท่ามะยอ

17.ตำรองผาโท้

18.บ้านเกริงไกร

19.กองกุยตะ

20.ทิมองตะ

21.นิเกะ

22.ซองกาเลีย

23.ด่านเจดีย์สามองค์ (สถานีจันการายา - ด่านพระเจดีย์สามองค์ฝั่งพม่า)