ประวัติ ของ ซอแทจีแอนด์บอยส์

ภายหลังจากมีการยุบวง ซินาวี ในปี 2534 ซอ แทจีก็หันเหตั้งวงดนตรีเพลงแดนซ์โดยตั้งชื่อวงว่า ซอแทจีแอนด์บอยส์ (서태지와 아이들) กับนักเต้น อี จูโน (이주노) และ ยัง ฮย็อน-ซ็อก โดยซอ แทจีได้เป็นผู้นำมิดิ เทคโนโลยี มาใช้ในเพลงเป็นครั้งแรกในเกาหลีใต้ในช่วงต้นยุค 90 และได้เริ่มทดลองนำเสียงมิดิแบบต่างๆในการสร้างแนวเพลงใหม่ๆที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน โดยในขั้นต้นเขาไม่มีแผนที่จะตั้งวงดนตรีแนวแดนซ์ แต่อย่างไรก็ตามวงซอแทจีแอนด์บอยส์กลับประสบความสำเร็จอย่างน่าประหลาดใจ

2535: นัน อาราโย (I Know)

เป็นซิงเกิลเปิดตัวของวงซอแทจีแอนด์บอยส์ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม และยังเป็นเพลงที่ได้รับการกล่าวถึงในวงการเพลงเกาหลีจนปัจจุบัน เพลงนัน อาราโยเป็นเพลงแนวนิวแจ็กสวิง โดยเพลงนี้สร้างสถิติอยู่ในชาร์ตอันดับ 1 ยาวนานถึง 17 สัปดาห์ ก่อนจะถูกทำลายสถิติด้วยเพลง Lies ของ บิกแบง ที่ขึ้นอันดับ 1 นาน 18 สัปดาห์

2536: ฮายอกา

อัลบั้มที่สองนั้นดำเนินไปในแนวที่แตกต่าง ในขณะที่เพลงส่วนใหญ่ในอัลบัมประกอบไปด้วยเพลงแดนซ์ แต่เพลงฮายอกามีองค์ประกอบไปในเพลงร็อกและเมนทัล

2537: บัลแฮรึล กุ่มกู่มยอ (Dreaming of Balhae)

อัลบั้มที่สามของพวกเขามีความเป็นเมทัลหนักๆและเป็นเป็นร็อคมากขึ้น ความเป็นเพลงแดนซ์แทบจะหายไปจากอัลบั้มยกเว้นในเพลง บัลแฮรึล กุ่มกู่มยอ (발해를 꿈꾸며, Dreaming of Balhae) เป็นเพลงแนวอัลเทอร์เนทีฟ โดยเพลงแสดงให้เห็นถึงความหวังในการรวมชาติของเกาหลี แต่เพลงก็ทำให้เกิดการโต้แย้งอย่างมากคือเพลง คโยซิล อีเดอา (교실 이데아, Class Idea) ด้วยเดทเมทัลที่น่าประทับใจโดย อัน ฮึง-ชัน แห่งวงแคลช เพลงคโยซิล อีเดอา ได้วิพากษ์วิจารย์ระบบการศึกษาของเกาหลีอย่างหนักและล้างสมองเยาวชนของเกาหลี นี่เป็นครั้งแรกที่กอให้เกิดข้อโต้เถียงอย่างมากมายเกี่ยวกับวงซอแทจีแอนด์บอยส์ พวกเขาถูกกล่าวหาว่าซ่อนข้อความลับเกี่ยวกับลัทธิซาตานในเพลงของพวกเขา ถึงแม้ว่าสื่อสารมวลชนกระแสหลักในเวลาต่อมาจะอ้างแหล่งที่มาของข้อกล่าวหาเหล่านั้นมาจากพยานหลักฐานที่ไม่เป็นสาระอย่างมาก แต่อาการตื่นตระหนกทางใจของประชาชนก็ยากที่จะกำจัดไปให้หมดสิ้น

2538: Come Back Home

อัลบั้มที่สี่ของพวกเขาก่อให้เกิดข้อโต้เถียงเพิ่มขึ้นอีกมากมายในเพลง "Come Back Home" โดยการเข้าไปเกี่ยวข้องกับแกงค์เพลงแร็พเหล่าร้ายของเกาหลี ซึ่งทำให้วัยรุ่นเกาหลีใต้ที่ออกมาเร่ร่อนอย่างมากมายกลับสู่บ้านของพวกเขา เพลงพิลซึง (필승, "Must Triumph") ได้รับความนิยมอย่างมากด้วยเพลงแนวอัลเทอร์เนทีฟและการตะเบ็งเสียง ส่วนเพลง ซีแดยูคัม (시대유감, "Regret of the Times") เกือบจะถูกแบนจาก คณะกรรมการจริยธรรมการแสดงแห่งเกาหลี (한국공연윤리위원회, ปัจจุบันคือ '한국영상물관리위원회'คณะกรรมการจัดการวิดิทัศน์แห่งเกาหลี) สำหรับเนื้อเพลงที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมกับเยาวชน ซึ่งการกระทำดังกล่าวได้รับปฏิกิริยาสะท้อนกลับอย่างรุนแรงจากเหล่าแฟนคลับ และทำให้ระบบ "การเซ็นเซอร์ล่วงหน้า" (사전심의제) ถูกยกเลิกไปในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2539 ซึ่งบางส่วนก็มีผลมาจากเหตุการณ์นี้

2539: ยุบวง

วงซอแทจีแอนด์บอยส์ได้ยุบวงในเดือนมกราคม พ.ศ. 2539 ในขณะที่วงได้รับความนิยมถึงขีดสุด การประกาศยุบวงได้สร้างความผิดหวังให้กับแฟนคลับนับล้านในเกาหลีใต้ โดยซอ แทจี ได้ไปพักอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาภายหลังจากการยุบวง อี จู-โน และ ยัง ฮย็อน-ซ็อก ได้ตั้งบริษัทเพลงหลังจากนั้น โดยตัว ยัง เองประสบความสำเร็จอย่างมากกับค่ายเพลงวายจีเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ภายหลังจากการประกาศยุบวง ซอแทจีแอนด์บอยส์ได้ปล่อยอัลบั้ม Goodbye Best Album ซึ่งเป็นเพียงอัลบั้มเดียวที่รวมเพลงของวงซอแทจีแอนด์บอยส์ ในหนังสือเล่มเล็กมีข้อความเขียนว่า "ใช่ มันยังไม่สิ้นสุดความรักของพวกเราจะยังมีต่อไปและมันยังไม่จบลง"