กู้ซากเรือไททานิก ของ ซากเรืออัปปางของเรืออาร์เอ็มเอส_ไททานิก

สถานที่พบซากของเรือ ไททานิก ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ

หลังจากที่เรืออาร์เอ็มเอส ไททานิก อัปปางลงเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 ได้ไม่นานนัก มีการเตรียมการปฏิบัติงานกู้ซากของเรือภายในอาณาเขตของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ แม้จะไม่ทราบพิกัดและสถานที่ที่แน่นอน ครอบครัวของเหยื่อจากเหตุการณ์ – ครอบครัวกุกเกนไฮม์, ครอบครัวแอสเตอร์ส และครอบครัวไวด์เนอร์ส – ได้ก่อตั้งกิจการค้าร่วมกับบริษัทเมอริฟแอนด์แชฟแมนเดอร์ริคแอนด์เวกกิง เพื่อดำเนินการกู้ซากของเรือ ไททานิก[1] โครงการล้มเหลวไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยเหตุว่านักดำน้ำไม่สามารถดำน้ำลงส่วนที่ลึกของมหาสมุทรซึ่งมีความดันมากถึงกว่า 60,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (410 บาร์) ทรัพยากรเรือดำน้ำไม่มีประสิทธิภาพมากพอ ประกอบกับระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โครงการนี้จึงล่าช้า[2] บริษัทพิเคราะห์ว่าจะหย่อนระเบิดตรงบริเวณของซากเรือเพื่อให้แรงดันซากศพขึ้นมาผิวน้ำ แต่นักสมุทรศาสตร์แย้งว่า การกระทำแบบนี้อาจทำให้ซากศพถูกแรงดันจนเป็นก้อนวุ้น[3] ในความเป็นจริง ข้อความไม่ถูกต้อง ไม่มีการค้นพบปรากฏการณ์ตกปลาวาฬตั้งแต่ปี ค.ศ. 1987—ในการสำรวจหาซากเรือ ไททานิก โดยเรือดำน้ำกลับพบเจอภายในก่อนปีในการสำรวจครั้งแรก[4]—แสดงให้เห็นถึงซากศพภายในใต้น้ำ เช่นเดียวกับวาฬและโลมาที่จมน้ำลงไปสู่ก้นมหาสมุทร[5] ด้วยสภาวะแรงดันสูงและอุณหภูมิต่ำของน้ำ จึงทำให้ช่วยซับแรงของแก็สในระหว่างกระบวนการการย่อยสลายของเหยื่อเหตุเรือ ไททานิก ส่งผลร่างกายเหยื่อไม่ขึ้นมาสู่เหนือผิวน้ำ[6]

ในหลายปีต่อมา มีการพยายามอย่างมากมายที่จะกู้ซากเรือ ไททานิก อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดทางด้านทรัพยากรและเทคโนโลยีไม่ทันสมัย ทำให้ต้องปฏิบัติการอย่างยากลำบาก ประกอบกับการขาดงบประมาณ และขาดความเข้าใจกับสภาพกายภาพบริเวณพื้นที่อัปปางของเรือ ชาร์เลต สมิท สถาปนิกจากเมืองเดนเวอร์, สหรัฐ นำเสนอแผนปฏิบัติในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1914 ว่าใช้วิธีติดแม่เหล็กไฟฟ้ากับเรือดำน้ำในการระบุตำแหน่ง เพื่อให้เกิดแรงดึงดูดระหว่างแม่เหล็กไฟฟ้ากับซากเหล็กของเรือ เมื่อสามารถระบุพิกัดได้แล้ว จึงส่งสัญญาณไปยังกองเรือบรรทุกสินค้าเพื่อนำซากเรือ ไททานิก ขึ้นมาเหนือผิวน้ำมหาสมุทร[7] มีการตีงบประมาณไว้ที่ 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (35 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน) แนวคิดนี้เป็นไปไม่ได้ จึงไม่ได้นำมาใช้ในการกู้ซากของเรือ อย่างไรก็ดี มีแนวดิดมากมายสำหรับการปฏิบัตการกู้ซากเรือ ไททานิก อาทิ การใช้ลูกโป่งนำเข้าไปยังซากของเรืออาศัยแม่เหล็กไฟฟ้า โดยเมื่อลูกโป่งมีจำนวนมาก ส่งผลให้ดันซากเรือมาเหนือยังผิวน้ำ แต่แล้วแนวคิดนี้ก็ไม่ได้ถูกนำมาใช้จริง[8]

ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970

ในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 คนงานขายเครื่องถุงเท้า และเสื้อกับกางเกงชั้นในจากเมืองโบลด็อค, ประเทศอังกฤษ ชื่อว่า ดักลาส วูเรย์ มีแผนปฏิบัติในการหาพิกัดของซากเรือ ไททานิก โดยใช้วิธียานสำรวจน้ำลึก และกู้ซากของเรือโดยลูกโป่งไนลอนซึ่งจะนำไปใส่ภายในซากของเรือ[9] จุดประสงค์ของแนปฏิบัติในครั้งนี้คือ "ต้องการนำซากไปยังเมืองลิเวอร์พูล เพื่อจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ลอยน้ำ"[10] บริษัทไททานิกเซอร์เวจก่อตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมนักธุรกิจจากเบอร์ลินตะวันตกซึ่งเรียนกันว่า ไททานิก-ทรีเซอร์ เพื่อสนับสนุนการเงินในการปฏิบัติการกู้ซากของเรือ[9] อย่างไรก็ดี โครงการล้มเหลวเนื่องด้วยผู้ร่วมลงทุนพบว่าการใช้ลูกโป่งทำให้ซากเรือลอยขึ้นทำไม่ได้ เมื่อคำนวณแล้วอาจจะต้องใช้ถึงเวลาถึงสิบปีในการสร้างแก็ส[11]

ในช่วงระหว่างนี้มีหลากหลายแนวคิดสำหรับกู้เรือแต่มีความพยายามกู้เรือด้วยวิถีใหม่ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 หนึ่งในข้อเสนอใช้วิธีบรรจุขี้ผึ้งเหลว (หรือรู้จักกันว่า วาสลีน) จำนวน 180,000 ตันภายในของเรือไททานิก เพื่อให้ดันซากเรือขึ้นมาผิวน้ำ[12] และข้อเสนอในการกู้ซากเรือ ไททานิก โดยใช้ลูกปิงปอง แต่เมื่อนึกถึงสภาพแวดล้อมความเป็นจริงแล้ว ลูกปิงปองจะถูกแรงกดดันของน้ำทำให้ไม่สามารถนำไปบรรจุที่ความลึกของซากเรือได้[13] แนวคิดที่คล้ายคลึงกัน เพียงเปลี่ยนเป็นกระจกแก้วทรงกลมเบนทอส จะทำให้แรงกดดันของน้ำไม่สามารถกระทำต่อวัตถุได้ มีการตีงบประมาณในการจัดทำแก้วทรงกลมนี้กว่า 238 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[12] ผู้รับเหมารับจ้างลำเลียงของจากเมืองวอลสอร์ ชื่อว่า อัลทรูน ฮิกกรี ได้เสนอให้เปลี่ยนซากเรือ ไททานิก ให้เป็นภูเขาน้ำแข็ง โดยกระทำแช่แข็งน้ำบริเวณโดยรอบซากของเรือแล้วจึงห่อหุ้มแล้วนำขึ้นมาเหนือผิวมหาสมุทร ซึ่งจะต้องมีน้ำหนักเบากว่าน้ำ ต่อมาจึงลากเข้าสู้ฝั่ง เดอะบีโอซีกรุ๊ปคำนวณว่า จะต้องใช้ไนโตรเจนเหลวกว่าครึ่งล้านตันลงไปยังซากของเรือ[14] ในปี ค.ศ. 1976 ภาพยนตร์ระทึกขวัญ เรส เดอะ ไททานิก! กำกับโดยครีฟ ครุยเซอร์ เนื้อเรื่องคือฮีโร่ เดิรก์ พิตต์ ได้อุดรูรั่วเรือไททานิก แล้วได้ปั้มอากาศส่งผลให้ "ลอยขึ้นมาเป็นคลื่นเหมือกับทิ้งอับเฉาเรือดำน้ำ" ฉากนี้ปรากฏใบปิดภาพยนตร์ แม้ว่าจะเป็นเพียง "ภาพศิลปะปลุกกระตุ้น" ของจุดเด่นภาพยนตร์[15] ภาพยนตร์ได้สร้างแบบจำลองของเรือไททานิก ขนาด 55 ft (17 m) ในความเป็นจริง ไม่สามารถกู้เรือได้ในทางกายภาพ[16]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ซากเรืออัปปางของเรืออาร์เอ็มเอส_ไททานิก http://www.fox10tv.com/dpps/news/national/northeas... http://www.history.com/news/2012/03/08/first-map-o... http://marconigraph.com/titanic/cameron/mgy_camero... http://news.nationalgeographic.com/news/2010/08/10... http://ngm.nationalgeographic.com/ngm/0412/feature... http://www.scientificamerican.com/article.cfm?id=t... http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,9... http://www.gc.noaa.gov/gcil_titanic-intl.html http://oceanexplorer.noaa.gov/explorations/03titan... http://oceanexplorer.noaa.gov/explorations/04titan...