ซาคูเล็ว
ซาคูเล็ว

ซาคูเล็ว

ซาคูเล็ว (มัมและกีเชะ: Saqulew; แปลว่า ดินขาว),[1] ซากูเลว (สเปน: Zaculeu) หรือ ชีนาบาฆุล (มัม: Chinabajul)[2] เป็นแหล่งโบราณคดีอารยธรรมมายาสมัยก่อนโคลัมบัสในที่สูงทางภาคตะวันตกของประเทศกัวเตมาลา ตั้งอยู่ห่างจากเมืองอูเออูเอเตนังโกสมัยใหม่ประมาณ 3.7 กิโลเมตร (2.3 ไมล์)[3] การตั้งถิ่นฐานที่แหล่งนี้มีอายุย้อนไปถึงสมัยคลาสสิกตอนต้น (ค.ศ. 250–600) ของประวัติศาสตร์มีโซอเมริกา ซาคูเล็วเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรของชาวมัมในสมัยหลังคลาสสิก[4] และถูกอาณาจักรกูมาร์คัฆของชาวกีเชะพิชิตได้ แสดงให้เห็นถึงการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบอย่างมัมกับสถาปัตยกรรมแบบอย่างกีเชะ[5]ใน ค.ศ. 1525 ซาคูเล็วถูกผู้พิชิตชาวสเปนภายใต้การนำของกอนซาโล เด อัลบาราโด อี กอนเตรรัส โจมตีระหว่างการล้อมเมืองซึ่งกินเวลานานหลายเดือน ในที่สุดไกบิล บาลัม ผู้ปกครองคนสุดท้ายของเมืองก็ทรงยอมจำนนต่อสเปนเนื่องจากความอดอยาก[6][7]ซาคูเล็วมีวิหาร-พีระมิดจำนวนหนึ่งที่มีสถาปัตยกรรมและช่องบันไดคู่แบบตาลุด-ตาเบลโร พีระมิดและที่ทำการของรัฐตั้งอยู่รอบ ๆ ลานสาธารณะขนาดใหญ่หลายแห่ง แหล่งโบราณคดีนี้ยังมีสนามบอลสำหรับเล่นเกมบอลมีโซอเมริกาอีกด้วย[2]บริษัทยูไนเต็ดฟรูตได้บูรณะแหล่งโบราณคดีซาคูเล็วในปลายคริสต์ทศวรรษ 1940 ในปัจจุบันเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมและมีพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กหนึ่งแห่ง[8]

ซาคูเล็ว

ที่ตั้ง อูเออูเอเตนังโก จังหวัดอูเออูเอเตนังโก กัวเตมาลา
พิกัด 15°20′1.66″N 91°29′33.88″W / 15.3337944°N 91.4927444°W / 15.3337944; -91.4927444
สร้าง สมัยคลาสสิกตอนต้น ประมาณ ค.ศ. 250–600
ละทิ้ง ค.ศ. 1525
สมัย สมัยคลาสสิกตอนต้นถึงสมัยหลังคลาสสิกตอนปลาย
วัฒนธรรม มายา
เหตุการณ์ ถูกพิชิตโดย:
อาณาจักรกีเชะแห่งกูมาร์คัฆ (สมัยหลังคลาสสิก)
กอนซาโล เด อัลบาราโด อี กอนเตรรัส แห่งสเปน (ค.ศ. 1525)
ขุดค้น คริสต์ทศวรรษ 1940
ผู้ขุดค้น จอห์น เอ็ม. ดิมิก
รูปแบบสถาปัตยกรรม พีระมิดมีโซอเมริกาที่มีสถาปัตยกรรมและช่องบันไดคู่แบบตาลุด-ตาเบลโร

แหล่งที่มา

WikiPedia: ซาคูเล็ว http://www.famsi.org/mayawriting/dictionary/christ... https://web.archive.org/web/20110721084703/http://... http://www.mcd.gob.gt/wp-content/uploads/2009/03/z... https://www.worldcat.org/issn/0188-8218 https://www.worldcat.org/oclc/29789840 https://www.worldcat.org/oclc/297146853 https://www.worldcat.org/oclc/34658843 https://www.worldcat.org/oclc/243309954 https://www.worldcat.org/oclc/31405975 https://www.worldcat.org/oclc/33359444