ประวัติ ของ ซิลเวอร์แชร์

การรวมตัวและผลงานช่วงแรก (1992–1996)

จุดกำเนิดของ ซิลเวอร์แชร์ เริ่มตั้งแต่ปี 1992 โดยดาเนียล จอห์นส (ร้องนำและกีตาร์) และเบน จิลลีส์ (กลอง) เริ่มเล่นดนตรีด้วยกันมาตั้งแต่สมัยชั้นประถมศึกษา จนเมื่อขึ้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนนิวคาสเซิลไฮสคูล ก็ได้ชักชวนคริส โจนนาว (กีตาร์เบส) เข้ามาเล่นดนตรีด้วยกัน ในนาม ชอร์ตเอลวิส (Short Elvis) จากนั้นเปลี่ยนชื่อเป็น อินโนเซนต์คริมินอลส์ (Innocent Criminals)[4][5] พวกเขาได้แสดงโชว์อยู่หลายครั้งในแถบฮันเตอร์วัลเลย์ ในช่วงวัยรุ่นของพวกเขา ซึ่งพวกเขาก็ได้ลงแข่งขันในงานยูธร็อกในปี 1994 (ซึ่งตอนนั้นยังไม่โด่งดัง) เป็นการแข่งขันวงดนตรีที่มาจากโรงเรียน[6] จนกระทั่งวงได้มีชื่อเสียงจากการเป็นวงชนะเลิศการแข่งขันระดับประเทศที่ชื่อ "Pick Me" เป็นรายการทางสถานีโทรทัศน์เอสบีเอสร่วมกับสถานีวิทยุแนวอัลเทอร์เนทีฟที่ชื่อ ทริปเปิลเจ กับเพลงของเขาเองที่ชื่อ "Tomorrow" และส่วนหนึ่งของรางวัลก็คือ สังกัดเพลงทริปเปิลเจ ได้ช่วยบันทึกเพลงและเอสบีเอสทำมิวสิกวิดีโอให้พวกเขา[5] วงอินโนเซนต์คริมินอลส์ในขณะนั้นก็ได้โอกาสเปลี่ยนชื่อวงก่อนที่จะออกซิงเกิลแรกในชีวิต "Tomorrow"[7] โดยทางวงได้เลือกชื่อว่า ซิลเวอร์แชร์ ซึ่งมาจากการเพี้ยนคำของเพลงหนึ่งของวงเนอร์วานาที่ชื่อว่า Sliver กับชื่อของวงเบอร์ลินแชร์[8]

ความนิยมในซิลเวอร์แชร์ทำให้พวกเขาได้เซ็นสัญญาการทำอัลบั้มกับสังกัดโซนีมิวสิก 3 อัลบั้ม และในส่วนสังกัดทริปเปิลเจได้ออกซิงเกิลในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1994 ที่สามารถขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ทอาเรีย ซิงเกิลชาร์ท เป็นเวลานาน 6 สัปดาห์[9] ต่อมาในปี 1995 พวกเขาได้ทำการบันทึกเสียงเพลง "Tomorrow" อีกครั้ง (รวมถึงทำมิวสิกวิดีโอใหม่) สำหรับตลาดในอเมริกา และได้กลายเป็นเพลงที่เล่นบ่อยที่สุดสำหรับสถานีวิทยุโมเดิร์นร็อกในปีนั้น[5] อัลบั้มแรกของพวกเขา Frogstomp ใช้เวลาบันทึกเสียงเพียง 9 วัน และออกวางขายในปี ค.ศ. 1995 ซึ่งในเวลาที่บันทึกเสียงอัลบั้มนี้ สมาชิกแต่ละคนมีอายุเพียง 15 ปีเท่านั้น และยังศึกษาในระดับไฮสคูลอยู่[5][10] แนวความคิดในการเขียนเนื้อร้องสำหรับเพลงในอัลบั้ม Frogstomp ได้มาจากนิยาย ภาพเขียนทางโทรทัศน์ โศกนาฏกรรมในแถบที่เขาอยู่อาศัย ความเจ็บปวดของเหล่าเพื่อนพ้องของเขา อัลบั้มนี้ได้รับเสียงตอบรับที่ดี All Music Guide และ นิตยสารโรลลิงสโตน ให้คะแนนไว้ที่ 4 ดาว และ 4 ดาวครึ่ง ตามลำดับ ให้คำชมต่อความเอาจริงเอาจังสำหรับอัลบั้มนี้โดยเฉพาะกับเพลง "Tomorrow"[11][10] และอัลบั้ม Frogstomp ก็ขึ้นอันดับ 1 ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และสามารถขึ้นไปใน 10 อันดับแรกของนิตยสารบิลบอร์ดในส่วนของชาร์ทบิลบอร์ด 200 และทำให้พวกเขาเป็นวงออสเตรเลียวงแรกตั้งแต่วง อินเอ็กเซส สามารถทำได้ อัลบั้มนี้มียอดขาย 2.5 ล้านชุดทั่วโลก[5] ทั้งอัลบั้ม Frogstomp และเพลง "Tomorrow" ก็ยังคงรับรับความนิยมในปีนั้น พวกเขายังได้ทัวร์ร่วมกับวงอย่างเรดฮ็อตชิลิเป็ปเปอร์ส และร่วมแสดงบนชั้นหลังคาของเรดิโอซิตีมิวสิกฮอลล์ ขณะที่พวกเขาก็ยังคงศึกษาต่อในนิวคาสเซิลด้วย[12] ต่อมาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1996 เกิดเหตุฆาตกรรมขึ้น จำเลยที่ชื่อว่า ไบรอัน บาสเซ็ตต์ อายุ 16 ปี และนิโคลัส แม็กโดนัลด์ อายุ 18 ปี ทั้งคู่ได้อ้างว่าฟังเพลงที่ชื่อ "Israel's Son" จากอัลบั้ม Frogstomp เป็นเหตุจูงใจในการฆาตกรรมผู้ปกครองของบาสเซ็ตต์และพี่ชาย ทนายฝ่ายจำเลยพยายามโยนความผิดให้วง ทางวงได้ออกมาปฏิเสธว่าเพลงของพวกเขาไม่ได้สร้างความรุนแรงดังกล่าว และทางวงพ้นข้อกล่าวหานี้[13]

เสียงวิจารณ์และความสำเร็จ (1997–2001)

ขณะที่พวกเขากำลังประสบความสำเร็จจากผลงานอัลบั้มชุด Frogstomp ทั้งในออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา ซิลเวอร์แชร์เริ่มบันทึกเสียงผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 2 Freak Show ออกวางขายในปี 1997 อัลบั้มนี้มีเพลงติดใน 10 อันดับแรกบนชาร์ทซิงเกิลของออสเตรเลียคือเพลง "Freak", "Abuse Me" และ "Cemetery" ซิงเกิลที่ 4 "The Door" ติดชาร์ทที่อันดับ 25[9] หลายเพลงในอัลบั้มนี้สื่อถึงอารมณ์โกรธ ปฏิกิริยาอันรุนแรงที่คาดหวังในอัลบั้ม Frogstomp ของวงซิลเวอร์แชร์เอง[14] Freak Show ทำยอดขายระดับแผ่นเสียงทองคำในสหรัฐอเมริกา[15] และมียอดขายอัลบั้มชุดนี้เกินกว่า 1.5 ล้านชุดทั่วโลก[16]

หลังจากที่เรียนจบจากโรงเรียน ทางวงสามารถที่จะมีเวลามากพอที่จะสร้างสรรค์ผลงานอัลบั้มชุดใหม่ Neon Ballroom ซึ่งออกวางขายในปี ค.ศ. 1999 เดิมทีทางวงตั้งใจไว้ว่าจะหยุดพักเป็นเวลา 12 เดือนแต่สุดท้ายก็ใช้เวลาทำงานเพลงชุดนี้[17] Neon Ballroom มีซิงเกิลอยู่ 4 ซิงเกิลคือ "Anthem for the Year 2000", "Ana's Song (Open Fire) ", "Miss You Love" และ "Paint Pastel Princess" ซึ่งมี 3 ซิงเกิลที่สามารถขึ้นชาร์ทใน 50 อันดับแรกของ ชาร์ทอาเรีย[9]

ทั้งอัลบั้ม Freak Show และ Neon Ballroom ขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ทอาเรีย อัลบั้มส์ชาร์ท[18] อีกทั้ง Freak Show ยังสามารถขึ้นชาร์ทอัลบั้มในแคนาดาที่อันดับ 2 และ Neon Ballroom ที่อันดับ 5[19] ซิงเกิล "Freak", "Abuse Me" และ "Cemetery" ติดใน 10 อันดับแรกของชาร์ทซิงเกิลในออสเตรเลีย[9] และ "Abuse Me" ติดอันดับ 4 ในชาร์ทฮ็อตโมเดิร์นร็อกแทร็กส์ และ ชาร์ทเมนสตรีมร็อกแทร็กส์ ของอเมริกา[20] ซิงเกิล "Anthem for the Year 2000" สามารถขึ้นชาร์ทได้สูงจากซิงเกิลทั้งหมดในอัลบั้ม Neon Ballroom สูงสุดที่อันดับ 3[9] ขณะที่ซิงเกิล "Ana's Song (Open Fire) " สูงสุดที่อันดับ 10 บนชาร์ทโมเดิร์นร็อกแทร็กส์ ในอเมริกา[19]

ในปี 1999 จอห์นสออกมาประกาศว่าเขารักษาโรคความผิดปกติในการกินอันเนื่องจากความเครียด จอห์นเผยว่า เนื้อเพลง "Ana's Song (Open Fire) " เป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติตัว โดยเขากล่าวว่า "กินเพื่ออยู่"[21] จอห์นออกมาเปิดเผยว่า เพลงดังกล่าว เขาเขียนในขณะที่เขากำลังป่วยเป็นโรคความผิดปกติในการกิน เขารู้สึกไม่อยากกินอะไร เขาเกือบฆ่าตัวตาย เขาเกลียดทุกอย่างในช่วงนั้น แม้กระทั่งดนตรี แต่กระนั้นเขาก็เขียนเพลงออกมาได้[22]

ซิลเวอร์แชร์ขยายการทัวร์ออกไปสำหรับอัลบั้ม Neon Ballroom สามารถเพิ่มยอดขายประสบความสำเร็จมากกว่าอัลบั้ม Freak Show นิตยสารโรลลิงสโตนกล่าวถึงความสำเร็จนี้ว่า "มีดนตรีที่โตขึ้น"[23] ในยุโรปและอเมริกาใต้ อัลบั้มนี้ประสบความสำเร็จมากที่สุดของวงจนปัจจุบัน ซิลเวอร์แชร์ออกทัวร์และแสดงสด ในงานแสดงดนตรี รีดดิงเฟสติวัล และ เอ็ดจ์เฟสต์ และ อื่น ๆ[24] ส่วนในปี 2000 ซิลเวอร์แชร์ได้แสดงสดที่ฟอลส์เฟสติวัลเพียงแห่งเดียวในช่วงวันปีใหม่ และในวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2001 ได้แสดงต่อหน้าคน 250,000 คนในงานร็อกอินริโอ ถือเป็นหนึ่งในแสดงโชว์ที่น่าจดจำของอาชีพนักดนตรีของพวกเขา[25] หลังจากการทัวร์ทั่วโลก ทางวงประกาศว่าจะหยุดพักเป็นเวลา 12 เดือน[25]

หลังจากออกอัลบั้ม Neon Ballroom เงื่อนไขสัญญา 3 อัลบั้มก็หมดลง มีหลายค่ายเพลงที่ยื่นข้อเสนอมาให้ แต่ก็ลงเอยเมื่อเขาเซ็นสัญญาบค่ายแอตแลนติกเรคคอร์ดส ในอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ อีกทั้งพวกเขาก็ได้ตั้งค่ายเพลงของตนเองขึ้นใหม่ในชื่อ อีเลฟเวน: อะ มิวสิก คอมพานี สำหรับในออสเตรเลียและเอเชีย หลังจากที่พวกเขาประกาศ บริษัทโซนีก็ออกอัลบั้มรวมฮิตที่ชื่อว่า The Best of Volume 1 โดยปราศจากการอนุญาตจากทางวง[25]

Diorama (2002–2003)

ตัวอย่างเสียงของ ซิลเวอร์แชร์ เพลง "Luv Your Life"
    "Luv Your Life" (จาก en:)
    220px|noicon
    "Luv Your Life" เพลงที่จอห์นสใช้วิธีเขียนเพลงแบบใหม่ด้วยเปียโน และมีการเรียบเรียงออสเครสตราโดยแวน ไดค์ พาร์กส
  • หากไม่ได้ยินเสียง โปรดดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:วิธีใช้สื่อ

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2001 ซิลเวอร์แชร์เข้าสตูดิโอในซิดนีย์กับโปรดิวเซอร์ เดวิด บ็อททริลล์ (เคยทำงานร่วมกับ ทูล ,ปีเตอร์ แกเบรียล, คิง คริมสัน) เริ่มทำงานอัลบั้มชุดที่ 4 Diorama โดยหนนี้ ดาเนียล จอห์นส รับหน้าที่เป็นโปรดิวเซอร์ร่วม[26] อัลบั้มนี้จอห์นสอธิบายไว้ว่า "เป็นโลกในอีกโลก""[27] มาจากการค้นพบการเขียนเพลงวิธีใหม่ ที่มาจากการใช้เปียโน เป็นเทคนิกที่เขาพัฒนาระหว่างช่วงพัก[28] และยังมีนักดนตรีหลายคนร่วมได้มาทำงานร่วมในอัลบั้ม Diorama ไม่ว่าจะเป็น แวน ไดค์ พาร์กส ที่เรียบเรียงออร์เครสตราให้กับเพลง "Tuna in the Brine", "Luv Your Life" และ "Across the Night"[29] และยังมีพอล แม็ก จิม โมจินี และ ยอน การ์เฟียส ก็ร่วมงานกับวงด้วย[30] ขณะที่บันทึกเสียงอัลบั้ม Diorama จอห์นสกล่าวว่าเขาเหมือนเป็นศิลปินคนหนึ่ง มากกว่าสมาชิกวงร็อกวงหนึ่ง และหลังจากอัลบั้มออก คำวิจารณ์ต่ออัลบั้มมีว่าเป็นอัลบั้มที่มีศิลปะมากกว่างานชิ้นก่อน ๆ[31][32]

ซิงเกิลแรกจากอัลบั้ม Diorama คือ "The Greatest View" ออกอากาศทางเครือข่ายสถานีวิทยุในออสเตรเลียในช่วงต้นเดือนธันวาคม หลังจากนั้นซิงเกิลก็ออกวางขายในช่วงเวลาใกลกับที่วงปรากฏตัวในการทัวร์ บิ๊กเดย์เอาท์ทัวร์[33] ในช่วงออกทัวร์ จอห์นสประสบปัญหากับอาการข้อต่ออักเสบ ทำให้เป็นการยากต่อการเล่นกีตาร์[34][35]

Diorama ขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ทอัลบั้มของชาร์ทอาเรีย และอยู่ในอันดับนาน 50 สัปดาห์ใน 50 อันดับแรก[9] 5 ซิงเกิลจากอัลบั้มนี้คือ "The Greatest View", "Without You", "Luv Your Life", "Across the Night" และ "After All These Years" ซิงเกิลที่ขึ้นอันดับสูงสุดคือ "The Greatest View" ที่สามารถขึ้นอันดับ 3 บนชาร์ทซิงเกิลของอาเรีย[9] Diorama ยังประสบความสำเร็จในงาน 2002 อาเรียอวอร์ดส รับรางวัล 5 สาขา รวมถึงอัลบั้มร็อกยอดเยี่ยม และ ศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยม[1] ซิลเวอร์แชร์เล่นเพลง "The Greatest View" ในงานประกาศรางวัลครั้งนี้ และเพลงนี้ก็ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลวิดีโอยอดเยี่ยมอีกด้วย[36] หลังจากงานครั้งนี้ทางวงได้ออกมาประกาศการแยกวง จอห์นสออกมาเปิดเผยว่า "ตามความจริงวงได้อยู่ร่วมกันมานานกว่า 10 ปี ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ"[5][37]

ช่วงพักและโครงการอื่น (2004–2005)

ในปี 2000 ขณะที่ยังทำงานร่วมวงซิลเวอร์แชร์ จอห์นและพอล แม็ก ออกอีพี ที่มีเฉพาะอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ชื่อชุดว่า I Can't Believe It's Not Rock และหลังจากการประกาศแยกวงซิลเวอร์แชร์ ทั้งจอห์นสและพอลก่อตั้งวงที่ชื่อ เดอะดิซโซซิเอทีฟส์ ออกอัลบั้มแรก The Dissociatives ในปี 2004[38] จอห์นยังได้ทำงานร่วมกับนาตาลี อิมบรูกเลีย ภรรยาของเขา (ในขณะนั้น) ในอัลบั้มของเธอ Counting Down the Days ออกเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2005[39] ขณะที่โจนนาวทำงานในโปรเจกต์อื่นในนามวง เดอะเมสส์ฮอลล์ ทำเพลงอัลบั้มที่สองของพวกเขาที่ชื่อ Feeling Sideways[40] อัลบั้มนี้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงอาเรียอวอร์ดส สาขาผลงานจากค่ายอิสระยอดเยี่ยม ในปี 2003[41] จิลลีส์ก็มีงานโปรเจกต์อื่นในนามวง แทมบาเลน กับอัลบั้ม Tambalane และได้ทัวร์คอนเสิร์ตทั่วออสเตรเลีย[42]

หลังจากเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย ค.ศ. 2004 ซิลเวอร์แชร์รวมตัวสำหรับงานเวฟเอด เพื่อหาเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย งานจัดขึ้นในซิดนีย์ในปี 2005 และเพื่อหาเงินช่วยเหลือกับองค์การสำหรับภัยพิบัติครั้งนี้ เป็นเวลาเดียวกันกับที่ทางวงตัดสินใจที่จะรวมตัวกันใหม่[43] จิลลีส์ได้พูดถึงปฏิกิริยาการรวมตัวของสมาชิกในวงนี้ในรายการเดอะซิดนีย์มอร์นิงเฮอร์รัลด์ว่า "มันเป็นเวลา 15 ปีของพวกเรา แต่ตอนนี้พวกเราก็ตระหนักดีว่า เรามีสิ่งพิเศษและจะต้องทำมัน"[44]

กลับมาอีกครั้ง (2006–2010)

หลังจากแสดงในงานเวฟเอด ซิลเวอร์แชร์รวมตัวกันอีกครั้งและเริ่มเตรียมการทำงานสำหรับอัลบั้มถัดไป ในปี 2006 ทางวงได้ทำเดโมอัลบั้ม Young Modern ในฮันเตอร์วัลเลย์ และบันทึกเสียงในลอสแอนเจลิส ที่ซีนีอันเดอร์เบลลีสตูดิโอ ร่วมกับโปรดิวเซอร์ นิก ลอเนย์[45] แวน ไดค์ พาร์กส ได้มาร่วมงานอีกครั้ง โดยเดินทางไปที่ปราก เพื่อบันทึกเสียงออร์เครสตรากับวงเชคฟิลฮาร์โมนิก[46] ซิลเวอร์แชร์ได้สร้างสรรค์ผลงานโดยอิสระ ผิดจากอัลบั้มก่อนที่ต้องทำงานร่วมกับค่ายเพลงต้นสังกัด[5]

ซิลเวอร์แชร์แสดงได้ อะครอสเดอะเกรตดีไวด์ทัวร์ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2007

วงได้ออกทัวร์ก่อนที่จะออกวางขายอัลบั้ม การแสดงที่ โฮมเบกและอีกหลายที่ พวกเขาได้นำเพลงเก่าของวงมิดไนต์ออย มาทำใหม่ในเพลง "Don't Wanna Be the One" และได้แสดงที่งาน 2006 อาเรียอวอร์ดส ที่เป็นส่วนหนึ่งของรางวัลยกย่องในอาเรียฮอลล์ออฟเฟรม ระหว่างการแสดง จอห์นสพ่นสเปรย์เป็นคำว่า PG4PM ซึ่งย่อมาจาก Peter Garrett for Prime Minister (ปีเตอร์ การ์เร็ตต์ สำหรับนายกรัฐมนตรี) เพื่อเป็นการสนับสนุนเขา ซึ่งการ์เร็ตต์ก็ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคแรงงานออสเตรเลีย[47] และในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 2007 ซิลเวอร์แชร์และวงพาวเดอร์ฟิงเกอร์ประกาศทัวร์ด้วยกันในอะครอสเดอะเกรตดีไวด์ทัวร์ โดยจุดประสงค์ของทัวร์เพื่อหารายได้ให้โครงการรีคอนซิลิเอชันออสเตรเลียในการลดช่องว่างระหว่างเด็กชาวอะบอริจินและที่ไม่ใช่ชาวอะบอริจิน[48][49]

อัลบั้ม Young Modern ออกวางขายในปี 2007 มีซิงเกิลแรกคือ "Straight Lines" และซิงเกิลถัดมาคือ "Reflections of a Sound", "If You Keep Losing Sleep" และ "Mind Reader" ซึ่ง Young Modern เป็นอัลบั้มที่ 5 ของวงซิลเวอร์แชร์ที่สามารถขึ้นอันดับ 1 บนชาร์ทอัลบั้มของชาร์ทอาเรีย[50] ซิงเกิล "Straight Lines" เป็นซิงเกิลที่สามของวงที่สามารถขึ้นอันดับ 1 ในออสเตรเลียได้[9] ทั้งอัลบั้มและเพลงได้รับ 3 รางวัลจากเวที 2007 อาเรียอวอร์ดส ทำให้ซิลเวอร์แชร์ได้รับรางวัลรวมจากเวทีนี้ 20 รางวัล[1] วงยังได้รับ 3 รางวัลเอพรา จากเพลง "Straight Lines" รวมถึงสาขานักเขียนแห่งปีสำหรับจอห์นส ที่ได้รับรางวัลนี้เป็นครั้งที่ 3 ในงานแจกรางวัลอาเรีย 2008 ทั้งซิลเวอร์แชร์และพาวเดอร์ฟิงเกอร์ ได้รับรางวัล ดีวีดีประเภทดนตรียอดเยี่ยม จากผลงานชุด Across the Great Divide สำหรับซิลเวอร์แชร์แล้ว การเสนอชื่อครั้งนี้เป็นการได้รับรางวัล 21 ครั้ง จากการเสนอชื่อ 49 ครั้ง[1][51]

ซิลเวอร์แชร์ในงานเบนดิโกเมย์ ในปี ค.ศ. 2010

จากเว็บไซต์ของซิลเวอร์แชร์ เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2009 วงเริ่มทำงานผลงานอัลบั้มชุดใหม่หลังจากอัลบั้ม Young Modern พวกเขาใช้เวลา 3 สัปดาห์ในออสเตรเลียสำหรับการบันทึกเสียง ที่คาดว่าจะออกปลายปีนั้น แต่ก็ไม่ได้กำหนดวันออกขาย แต่วงก็ได้อัปโหลดวิดีโอการทำงานในสตูดิโอ ในเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของวง ในเดือนธันวาคม จอห์นสเรียกผลงานนี้ในรายการวิทยุทริปเปิลเจ ว่า Robbie, Marieke and The Doctor และสนทนาว่าพวกเขากำลังทำงานอยู่ในนิวคาสเซิล โดยบอกว่า "ความแตกต่างคือ ได้ทดลองเรื่องการใช้เครื่องดนตรีและดนตรีสังเคราะห์"[52] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2010 โจนนาวออกมาประกาศทางเว็บไซต์ของเขาว่า จะเล่นเพลงใหม่ 2 เพลงที่ชื่อ "16" และ "Machina Collecta" ที่งานเทศกาลดนตรีกรูฟวิลเดอะมู ในเดือนพฤษภาคม เขาบอกว่างานกำลังเป็นไปได้ด้วยดีและยังไม่มีชื่ออัลบั้ม โดยพวกเขาจะเรียกชื่อลำลองอัลบั้มนี้ว่า Album #6[53] คอนเสิร์ตสุดท้ายในเทศกาลดนตรีเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ที่บันบูรี[53] และในปลายปีนี้พวกเขาจะหยุดทำผลงานอัลบั้ม เหตุเพราะสมาชิกแต่ละคนกำลังสนใจในงานอื่นอยู่[5]

การจำศีลอย่างไม่มีกำหนด

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 วงออกมาประกาศว่าจำศีลอย่างไม่มีกำหนด

พวกเราก่อตั้งวงซิลเวอร์แชร์มาเกือบ 20 ปี เมื่อพวกเราอายุแค่ 12 ปี ณ วันนี้พวกเราได้ยืนอยู่บนกฎเดิม ๆ ที่ตอนนี้ก็กลับมาอีกครั้ง ถ้าวงไม่สนุกและหมดความคิดสร้างสรรค์ พวกเราก็ต้องหยุดไป ถึงแม้ว่าสิ่งที่เราได้มาจะดีที่สุดในปีที่ผ่านมา หรือทำให้รู้แจ้งเพิ่มขึ้นว่า ความมีชีวิตชีวานั้นไม่ได้เกิดขึ้นระหว่างเราทั้ง 3 คนเท่านั้น ดังนั้นหลังจากที่เราค้นหาจิตวิญญาณอย่างมาก เราต้องการให้พวกคุณรู้ว่าซิลเวอร์แชร์ "จะจำศีลอย่างไม่มีกำหนด" และเราตัดสินใจว่าจะทำให้สิ่งที่แต่ละคนต้องการ ที่จะเห็นในอนาคตไม่ไกลนี้

เบอร์นาร์ด ซูเอล นักเขียนจาก Sydney Morning Herald พูดว่าที่วงใช้คำว่า "จำศีลอย่างไม่มีกำหนด" เพื่อที่จะให้ดูเบาลงกว่าการแตกวง เขายังหวังว่าวงจะรวมตัวกันใหม่[54] ในเดือนมิถุนายน จิลลีส์ได้ขึ้นแสดงหลังจากทำผลงานอัลบั้มเดี่ยวกว่า 12 เดือน และเขาพูดว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับผลงานก่อนหน้านี้กับวงแทมบาเลน[55] ในเดือนตุลาคม จอห์นส ทำงานเพลงประกอบภาพยนตร์สั้นเรื่อง My Mind's Own Melody[56]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ซิลเวอร์แชร์ http://www.ama.com.au/web.nsf/doc/SHED-5EXHVQ http://www.apra.com.au/awards/music/winners1996.as... http://www.apra.com.au/awards/music/winners2003.as... http://www.ariaawards.com.au/history-by-artist.php... http://www.ariaawards.com.au/history-by-artist.php... http://www.ariaawards.com.au/history-by-year.php?y... http://www.ariaawards.com.au/history-by-year.php?y... http://www.ariaawards.com.au/history-by-year.php?y... http://www.brisbanetimes.com.au/news/music/in-conc... http://www.channelv.com.au/V/Article.aspx?id=1518