การใช้งาน ของ ซีอาร์อาร์ซีฉางชุนเรลเวย์วีฮิเคิลส์

EMU-B1 / B2 ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสEMU-B3 ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสรถไฟฟ้าบีทีเอส EMU-B (ซ้าย) และ EMU-B3 (ขวา)

ประเทศไทย

  • รถไฟฟ้าบีทีเอส
    • "EMU-B1" จำนวน 12 ขบวน เพื่อรองรับเส้นทางส่วนต่อขยายสายสีลม ช่วงสะพานตากสิน-วงเวียนใหญ่และแก้ไขปัญหาคอขวดบริเวณสถานีสะพานตากสิน และ "EMU-B2" จำนวน 5 ขบวน เพื่อรองรับเส้นทางส่วนต่อขยายสายสีลม ช่วงวงเวียนใหญ่-บางหว้า รวมทั้งหมด 17 ขบวน ซึ่งมีลักษณะภายนอกเหมือนกัน แต่มีจุดที่แตกต่างอยู่เล็กน้อยภายในของขบวนรถ[1] ตัวรถจะประกอบไปด้วย Tc-Car และ M-Car โดย Tc-Car จะอยู่ด้านหัวและท้ายขบวน 2 ตู้ และ M-Car จะอยู่กลางขบวน 2 ตู้ สามารถต่อพ่วงได้สูงสุด 6 ตู้ต่อ 1 ขบวน ตัวถังของขบวนรถทำเหล็กปลอดสนิมและอะลูมิเนียม ติดตั้งระบบปรับอากาศทั้งหมด 8 ยูนิต พร้อมหน้าต่างชนิดกันแสง และมีระบบแผนที่นำทางหรือ Dynamic Route Map ซึ่งทำงานพร้อมกับระบบอาณัติสัญญาณ ติดตั้งอยู่เหนือประตูทุกบาน รถไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนได้โดยใช้แรงดันไฟฟ้า 750 Vdc โดยรับจากรางส่งที่ 3 ซึ่งปัจจุบันรถไฟฟ้ารุ่นนี้ให้บริการทั้งสายสุขุมวิท และสายสีลม
    • "EMU-B3" จำนวน 24 ขบวน เพื่อรองรับเส้นทางส่วนต่อขยายสายสุขุมวิทตอนเหนือ ช่วงหมอชิต–สะพานใหม่–คูคต โดยลักษณะตัวถังภายนอกจะเหมือนขบวนรถรุ่นซีเมนส์ โบซันคาย่าดีไซน์ แตกต่างเพียงป้ายไฟ LED แสดงสถานีปลายทาง ลวดลายบริเวณประตูห้อง Tc-Car ไฟสัญญาณข้างตู้ และเลขขบวนรถ. โดยภายในขบวนรถ ได้ออกแบบให้มีลักษณะเดียวกับ EMU-B รุ่นแรก แต่เปลี่ยนแผนที่แสดงเส้นทางจากแบบ LED เป็นแบบ LCD และเพิ่มพนักยืนพิงในขบวนรถแบบเดียวกับขบวนรถรุ่นซีเมนส์ โบซันคาย่าดีไซน์. โดยรับมอบครบทุกขบวนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยขบวนที่ 75-91,93-98 ให้บริการแล้วในสายสีลมและสายสุขุมวิท (ส่วนขบวน 92 กำลังทดสอบระบบ)[2][3]
  • รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (สายอีสาน) ทางการจีนเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาขบวนรถไฟฟ้ารุ่น CR400 Series (ฟู่ซิง) พร้อมชุดระบบอาณัติสัญญาณส่งมอบให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยดีไซน์ของตัวรถยังไม่ได้รับการเปิดเผย

ต่างประเทศ

  • รถไฟใต้ดินปักกิ่ง
  • รถไฟใต้ดินเทียนจิน
  • เอ็มทีอาร์ ฮ่องกง