ซุบ
ซุบ

ซุบ

ซุบ เป็นคำนามในภาษาไทยถิ่นอีสาน หมายถึง ชื่ออาหารอีสานชนิดหนึ่งจำพวกยำ เรียกชื่อตามสิ่งของที่นำมาประกอบเป็นหลัก เช่น ซุบหน่อไม้ ซุบเห็ด[1] ซุบมะเขือ ซุบบักมี่ (ขนุนอ่อน) ซุบเห็ดกระด้าง (เห็ดขอนไม้ตากแห้ง นำมาต้มให้อ่อนนุ่ม) การทำซุบจะไม่นิยมให้มีรสเผ็ดมากนักสันนิษฐานว่า คำว่า "ซุบ" มาจากคำว่า "ชุบ" หมายถึง จุ่มหรือจิ้ม คือการนำผักมาจิ้มแจ่ว โดยแจ่วมีส่วนผสมเป็นปลาร้าและพริก ผักที่นิยมนำมาทำซุบ เช่น หน่อไม้สดต้มขูดฝอย ขนุนอ่อน มะเขือต้ม ผักเม็ก ผักติ้ว[2] หากเป็นซุบหน่อไม้ จะใช้หน่อไม้ขูดเส้นต้มในน้ำคั้นใบย่านางส่วนผสมอื่นในการทำซุบ ได้แก่ น้ำปลาร้า เนื้อปลาต้มโขลก ข้าวคั่วโขลก งาคั่ว คลุกเคล้าผสมกัน ไม่นิยมใส่พืชที่ให้รสเปรี้ยวจัด เช่น มะนาว มะขาม ใส่หอมแดงซอย พริกป่น (บ้างใส่พริกสด)[3] โรยด้วยต้นหอมซอยหยาบ ๆ ใบสัง และใบผักชีฝรั่ง และสะระแหน่เด็ดเป็นใบ ๆ[4] มักรับประทานโดยนำข้าวเหนียวลงไปจิ้มหรือชุบแล้วทานพร้อมกัน