ความเชื่อมโยงกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ ของ ซูเปอร์มูน

การคาดคะเนว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างการเกิดปรากฏการณ์ซูเปอร์มูนกับภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างเช่นแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามินั้นมีความหนักแน่นน้อยมาก มีการโต้แย้งว่าภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายครั้งได้เกิดขึ้นในปีที่เกิดปรากฏการณ์ซูเปอร์มูนขึ้น ซึ่งได้รับอิทธิพลจากแรงโน้มถ่วงที่เพิ่มมากขึ้นของดวงจันทร์ ถึงแม้ว่าเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงระยะห่างจากโลกของดวงจันทร์ การให้เหตุผลนี้จะไม่ได้รับการสนับสนุนหากภัยพิบัติที่กล่าวถึงนั้นตรงกับวันที่เกิดซูเปอร์มูน[1]

มีการให้เหตุผลว่าแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 ได้รับอิทธิพลมาจากซูเปอร์มูนที่เกิดขึ้นสองสัปดาห์ถัดมาเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2548[5] อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 (ที่เกิดภัยพิบัติขึ้น) ดวงจันทร์อยู่ในจุดที่อยู่ไกลโลกที่สุด ดังนั้น ปรากฏการณ์ซูเปอร์มูนจึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้[1][6]

นักโหราศาสตร์[ใคร?]ระบุว่าแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ พ.ศ. 2554 ได้รับอิทธิพลมาจากซูเปอร์มูนที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม ซึ่งเป็นซูเปอร์มูนที่เข้าใกล้โลกมากที่สุดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2535[7] ปัญหาคือ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม (ที่เกิดภัยพิบัติขึ้น) ดวงจันทร์อยู่ใกล้จุดที่อยู่ไกลโลกมากกว่าจุดที่อยู่ใกล้โลก ที่ระยะห่างประมาณ 400,000 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ไกลกว่าระยะห่างเฉลี่ยระหว่างโลกและดวงจันทร์เสียอีก [1]