ฐานความรู้ที่มนุษย์อ่านได้ ของ ฐานความรู้

ฐานความรู้ที่มนุษย์อ่านได้ออกแบบขึ้นมาเพื่อให้บุคคลค้นคืนและใช้ความรู้ที่มันบรรจุอยู่ ตามปกติมันจะถูกใช้เพื่อเติมเต็มแผนกช่วยเหลือ (help desk) หรือเพื่อแบ่งปันสารสนเทศระหว่างพนักงานภายในองค์การ มันอาจเก็บบันทึกสารสนเทศการแก้ไขปัญหา บทความ สมุดปกขาว คู่มือ ป้ายความรู้ หรือคำตอบของคำถามที่ถามบ่อย โดยทั่วไปจะใช้เสิร์ชเอนจินเพื่อค้นหาสารสนเทศในระบบ หรือผู้ใช้สามารถสืบค้นผ่านทางแผนการจำแนกประเภท

ระบบที่ใช้พื้นฐานบนข้อความ ซึ่งสามารถรวมกลุ่มเอกสารที่มีการเชื่อมโยงหลายมิติระหว่างกัน เรียกว่า ระบบข้อความหลายมิติ (hypertext system) [3] ระบบข้อความหลายมิติช่วยสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจ โดยลดภาระความพยายามที่มีนัยสำคัญของผู้ใช้ ซึ่งต้องสร้างความสัมพันธ์และจดจำสิ่งต่าง ๆ [4] ซอฟต์แวร์วิกิสามารถนำมาใช้เป็นฐานความรู้ชนิดระบบข้อความหลายมิติได้ ฐานความรู้สามารถมีได้บนทั้งคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์เคลื่อนที่ในรูปแบบข้อความหลายมิติ [5]

ฐานความรู้ที่มนุษย์อ่านได้สามารถเชื่อมต่อกับฐานความรู้ที่เครื่องอ่านได้ ผ่านทางการสำเนาทิศทางเดียวหรือสองทิศทาง หรือส่วนต่อประสานในเวลาจริงบางชนิด จากนั้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็จะสามารถใช้เทคนิคเชิงปัญญาประดิษฐ์กับส่วนของข้อมูลที่คอมพิวเตอร์อ่านได้ เพื่อเตรียมผลลัพธ์การค้นหาที่ดีที่สุด เพื่อตรวจสอบบูรณภาพของข้อเท็จจริงที่พบในเอกสารต่างชนิดกัน และเพื่อจัดหาเครื่องมือการประพันธ์ที่ดีกว่า ตัวอย่างหนึ่งคือ ดีบีพีเดีย (DBPedia) เป็นฐานความรู้ที่เครื่องอ่านได้ ซึ่งดึงข้อมูลไปจากวิกิพีเดียที่มนุษย์อ่านได้

หมวดหมู่ของสารสนเทศในฐานความรู้

ฐานความรู้ที่มนุษย์อ่านได้สามารถมีสารสนเทศตามประเภทดังนี้