ลักษณะ ของ ดนตรีสมัยโรแมนติก

ดนตรีสมัยโรแมนติกมีลักษณะของแนวทำนองที่เต็มไปด้วยการบรรยายความรู้สึก มีแนวทำนองเด่นชัด ลักษณะการแบ่งวรรคตอนเพลงไม่ตายตัว การประสานเสียงได้พัฒนาต่อจากสมัยคลาสสิกทำให้เกิดการคิดคอร์ดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อใช้แสดงออกถึงอารมณ์และความรู้สึก มีการนำคอร์ดที่เสียงไม่กลมกลืนมาใช้มากขึ้น มีการใช้โน้ตนอกคอร์ด บันไดเสียงที่มีโน้ตครึ่งเสียง (chromatic scale) การเปลี่ยนบันไดเสียงหนึ่งไปอีกบันไดเสียงหนึ่งอย่างคาดไม่ถึง การประสานเสียงแบบสหศัพท์ (homophony) ยังคงเป็นลักษณะเด่นสืบเนื่องมาจากสมัยคลาสสิก การใช้เสียงดัง-เบา มีตั้งแต่ ppp ไปจนถึง fff คีตลักษณ์ของเพลง (form) ยังคงเป็นแบบโซนาตาฟอร์มแบบสมัยคลาสสิก แต่มีความยืดหยุ่นของโครงสร้าง

ในยุคนี้ดนตรีบรรเลงและบทเพลงสำหรับเปียโน เป็นที่นิยมประพันธ์กันมากขึ้น ลักษณะของวงออร์เคสตราจะมีขนาดใหญ่ขึ้นตามแต่ผู้ประพันธ์เพลงจะกำหนด เพลงคฤหัสถ์หรือเพลงสำหรับชาวบ้านเป็นที่นิยมประพันธ์กัน แต่เพลงโบสถ์ก็ยังคงมีการประพันธ์อยู่เช่นกัน ในลักษณะของเพลงแมส ที่ใช้เพื่อประกอบศาสนพิธี และเพลงเรเควียม ที่ใช้ในพิธีศพ สำหรับบทเพลงอุปรากร และเพลงร้องก็มีพัฒนาการควบคู่ไป เนื้อร้องมีตั้งแต่การล้อการเมือง ความรัก ไปจนถึงเรื่องโศกนาฏกรรม

ใกล้เคียง

ดนตรี ดนตรีเกาหลีใต้ใน พ.ศ. 2567 ดนตรีเกาหลีใต้ใน พ.ศ. 2566 ดนตรีเกาหลีใต้ใน พ.ศ. 2565 ดนตรีคลาสสิก ดนตรีไทย ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์ ดนตรีประกอบของแกรนด์เธฟต์ออโต V ดนตรีแทร็ป ดนตรีสมัยคลาสสิก