ประวัติ ของ ดัชนีความมั่นคงทางสุขภาพโลก

ดัชนี้นี้ตีพิมพ์เป็นครั้งแรกในปี 2019 และได้กล่าวไว้อย่างหนึ่งว่า "ไม่มีประเทศใดที่เตรียมพร้อมอย่างสมบูรณ์เพื่อรับโรคระบาดหรือโรคระบาดทั่ว และประเทศทุกประเทศมีจุดอ่อนที่จะต้องแก้ไข"[2]ประเทศที่อยู่ในหมู่ "เตรียมพร้อมสุด" ตามลำดับคือ สหรัฐ สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย แคนาดา ไทย สวีเดน เดนมาร์ก เกาหลีใต้ ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส สโลวีเนีย และสวิตเซอร์แลนด์สหรัฐอยู่ในอันดับแรกโดยมีค่าดัชนี 83.5 จาก 100 และไทยอยู่ในอันดับที่ 6 โดยมีค่าดัชนี 73.2ประเทศที่อยู่ในหมู่ "เตรียมพร้อมน้อยสุด" โดยมากเป็นประเทศในแอฟริกาตะวันตกและกลาง[3]

ดัชนีนี้กลายเป็นเรื่องดังในช่วงการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562-2563ในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 ประธานาธิบดีสหรัฐดอนัลด์ ทรัมป์ได้ใช้แผนที่ดัชนีนี้เป็นข้ออ้างว่า สหรัฐเป็นประเทศซึ่งเตรียมพร้อมที่สุดในโลกเพื่อรับมือกับโรคระบาดทั่วแต่ที่ปรึกษาของโปรเจ็กต์นี้ได้ให้สัมภาษณ์ตอบว่า จริงอยู่ว่า สหรัฐจัดอยู่ในลำดับสูงสุดในดัชนี แต่ก็ยังมีข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไข[4]วันที่ 26 มีนาคม 2020 บทความในวารสารแพทย์เดอะแลนซิตชื่อเรื่องว่า "โควิด-19 บ่งความเชี่ยวชาญทางสุขภาพโลกว่าเป็นเรื่องเท็จ (COVID-19 gives the lie to global health expertise)" ได้โจมตีรายงานนี้ว่า ในเหตุการณ์โรคระบาดทั่ว ประเทศที่จัดลำดับว่าเตรียมพร้อมสุด เช่นสหรัฐและสหราชอาณาจักร กลับแย่กว่าประเทศในเอเชียและแอฟริกาซึ่งจัดลำดับว่าต่ำกว่า[5]วันที่ 27 เมษายน 2020 กลุ่มดัชนีจึงได้ตอบว่า ลำดับของสหรัฐในดัชนีไม่สะท้อนถึงความพร้อมของประเทศเพื่อตอบสนองต่อการระบาดของโรคติดต่อซึ่งอาจก่อความหายนะ[6] คือ

...คะแนนและลำดับของประเทศไม่ได้แสดงว่า ประเทศมีความพร้อมเพียงพอเพื่อตอบสนองต่อการระบาดของโรคติดต่อที่อาจก่อความหายนะ จุดอ่อนของความเตรียมพร้อมที่สำคัญก็ยังมี และจุดอ่อนเหล่านั้นบางอย่างก็กำลังแฉปรากฏในวิกฤติการณ์นี้ การตอบสนองของสหรัฐต่อการระบาดของโควิด-19 จนถึงปัจจุบันแสดงว่า สมรรถภาพเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอถ้าไม่งัดสมรรถภาพนั้นออกมาใช้อย่างเต็มที่ ระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็งจำเป็นต้องมีเพื่อรับใช้ประชากรทุกหมู่เหล่า และความเป็นผู้นำทางการเมืองที่มีประสิทธิภาพและที่สร้างความเชื่อมั่นในการตอบสนองของรัฐก็สำคัญมาก

—  The U.S. and COVID-19: Leading the World by GHS Index Score, not by Response (2020-04-27)[6]

ในวันที่ 28 เมษายนต่อมา แพทย์สำนักงานของกระทรวงบริการทางสุขภาพและสังคมแห่งสหราชอาณาจักรจึงตีพิมพ์คำตอบสนองในเดอะบีเอ็มเจวิจารณ์ความสมเหตุสมผลของตัวชี้บอกต่าง ๆ ที่มีผลต่อค่าดัชนี แล้วตั้งความสงสัยว่า ดัชนีมีประโยชน์อะไรต่อการประเมินสุขภาพโลก และแนะนำให้ไม่ใช้ดัชนี[7]

ใกล้เคียง

ดัชนี ดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน ดัชนีการพัฒนามนุษย์ ดัชนีสันติภาพโลก ดัชนีประชาธิปไตย ดัชนีความมั่นคงทางสุขภาพโลก ดัชนีมวลกาย ดัชนีเศรษฐกิจ ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ดัชนีฮั่งเส็ง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ดัชนีความมั่นคงทางสุขภาพโลก //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32222159 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32349994 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7194526 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7213809 //doi.org/10.1016%2FS0140-6736(20)30739-X //doi.org/10.1136%2Fbmjgh-2020-002477 https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/... https://www.businessinsider.de/international/trump... https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC72138... https://web.archive.org/web/20200410102551/https:/...