ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์
ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์

ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์

ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์[1] (Transit of Venus) เป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ที่เกิดขึ้นเมื่อดาวศุกร์เคลื่อนที่ผ่านแนวเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ คนบนโลกจะเห็นดาวศุกร์เป็นดวงกลมดำขนาดเล็กเคลื่อนที่ผ่านดวงอาทิตย์ การผ่านหน้าคล้ายกับสุริยุปราคาที่เกิดจากดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์ ต่างกันตรงที่ดาวศุกร์อยู่ห่างจากโลกมากกว่าดวงจันทร์ (แม้ว่าจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า) เราจึงมองเห็นดาวศุกร์มีขนาดเล็กมาก ในอดีตนักดาราศาสตร์ใช้ปรากฏการณ์นี้ในการวัดระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์โดยอาศัยการเกิดแพรัลแลกซ์เจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์ นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเป็นคนแรกที่ได้คำนวณและสังเกตเห็นการเคลื่อนตัวในวงโคจรของดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ดังกล่าวเมื่อเวลาตั้งแต่ 15.15 น. จนดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2182[2]ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5–6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 และเป็นครั้งสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 21[3] โดยครั้งต่อไปจะเกิดขึ้นในวันที่ 10–11 ธันวาคม พ.ศ. 2660 และวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2668[4]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ http://skyandtelescope.com/observing/objects/sun/a... http://sunearth.gsfc.nasa.gov/eclipse/transit/cata... http://www.astronet.nl/venustransit http://www.transitofvenus.org/ http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=... http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/200... http://www.nao.rl.ac.uk/nao/transit/ http://www.transit-of-venus.org.uk/transit.htm https://www.theguardian.com/science/2012/jun/03/tr... https://aas.org/posts/news/2017/06/month-astronomi...