ดาวเวกา
ดาวเวกา

ดาวเวกา

ดาวเวกา (อังกฤษ: Vega) หรือแอลฟาพิณ (อังกฤษ: Alpha Lyrae) เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวพิณ ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดเป็นอันดับห้าในท้องฟ้าราตรี และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดเป็นอันดับสองในซีกฟ้าเหนือ รองจากดาวอาร์คตุรุส ดาวเวกาอยู่ค่อนข้างใกล้โลก ระยะห่างจากโลก 25 ปีแสง และดาวเวกา กับดาวอาร์คตุรุสและดาวซิริอุส เป็นหนึ่งในกลุ่มดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในย่านดวงอาทิตย์นักดาราศาสตร์ศึกษาดาวเวกาอย่างละเอียด ทำให้ได้ชื่อว่า "อาจเป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญที่สุดในท้องฟ้ารองจากดวงอาทิตย์"[11] ดาวเวกาเคยเป็นดาวเหนือเมื่อราว 12,000 ปีก่อน ค.ศ. และจะกลับมาเป็นดาวเหนืออีกราว ค.ศ. 13727 เมื่อมุมบ่ายเบนเป็น +86°14'[12] ดาวเวกาเป็นดาวฤกษ์ดวงที่สองที่มีการถ่ายภาพ ถัดจากดวงอาทิตย์ และเป็นดาวแรกที่มีการบันทึกสเปคตรัม เป็นหนึ่งในดาวฤกษ์ดวงแรก ๆ ที่มีการประเมินระยะห่างด้วยการวัดพารัลแลกซ์ ดาวเวกาเป็นเส้นฐานสำหรับการปรับมาตรความสว่างของการวัดแสง (photometry) และเคยเป็นดาวฤกษ์ที่ใช้นิยามค่ามัธยฐานสำหรับระบบวัดแสงอัลตราไวโอเล็ตบีดาวเวกาอายุได้หนึ่งในสิบของดวงอาทิตย์ แต่ใหญ่กว่า 2.1 เท่า อายุขัยคาดหมายอยู่ที่หนึ่งในสิบของดวงอาทิตย์ ปัจจุบัน ดาวฤกษ์ทั้งสองกำลังย่างเข้าจุดกึ่งกลางอายุคาดหมายของพวกมัน ดาวเวกามีความอุดมของธาตุที่มีเลขอะตอมสูงกว่าฮีเลียมต่ำผิดปกติ[8] และยังต้องสงสัยว่าเป็นดาวแปรแสงซึ่งอาจมีความสว่างผันแปรน้อยมากในลักษณะเป็นคาบ[13] ดาวเวกาหมุนเร็ว โดยมีความเร็ว 274 กิโลเมตรต่อวินาทีที่เส้นศูนย์สูตร ส่งผลให้เส้นศูนย์สูตรโป่งออกเพราะผลหนีศูนย์กลาง และมีความผันแปรของอุณหภูมิทั่วโฟโตสเฟียร์ (photosphere) ของดาวโดยมีอุณหภูมิสูงสุดที่ขั้วทั้งสอง ดาวเวกาสังเกตจากโลกได้โดยทิศทางของขั้วดาว[14]ดาวเวกาดูเหมือนว่ามีแผ่นจานดาวฤกษ์ฝุ่น สังเกตได้จากการปล่อยรังสีอินฟราเรดที่สังเกต ฝุ่นนี้มีแนวโน้มเป็นผลจากการชนกับวัตถุในแผ่นฝุ่นที่โคจรอยู่ ซึ่งเปรียบได้กับแถบไคเปอร์ในระบบสุริยะ[15] ดาวฤกษ์ที่แสดงอินฟราเรดเกินเพราะการปล่อยฝุ่นเรียก ดาวฤกษ์คล้ายเวกา[16] ความผิดปกติในแผ่นของเวกานี้แนะว่าอาจมีดาวเคราะห์อย่างน้อยหนึ่งดวง ซึ่งน่าจะมีขนาดราวดาวพฤหัสบดี[17] โคจรรอบดาวเวกาอยู่[18]