การผลิต ของ ดิอะเมซิ่งเรซ_14

การถ่ายทำและการออกอากาศ

ดิ อะเมซิ่ง เรซ 14 ใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 22 วัน คิดเป็นระยะทางประมาณ 40,000 ไมล์ โดยทีมจะเดินทางผ่าน 9 ประเทศ คือ โรมาเนีย (เป็นครั้งแรกของรายการ) สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี ออสเตรีย อินเดีย ไทย สาธารณรัฐประชาชนจีน และ รัสเซีย (ดินแดนครัสโนยาสค์ และแคว้นโนโวซีบีสค์ [4]) ก่อนที่จะไปจบการแข่งขันที่ มาอุย รัฐฮาวาย โดยจากบทสัมภาษณ์กับผู้ผลิตรายการ เบ็นตั้น แวนด์ มัสเตอร์ เขากล่าวว่าทีมจะเดินทางระหว่างเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่งโดยรถไฟสายทรานส์ ไซบีเรียรวมถึงผจญพายุหิมะกลางทุ่งไซบีเรียที่อุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส[4][6] เขายังกล่าวอีกว่าทีมจะต้องเผชิญกับสภาพอากาศสุดโหด ภารกิจอุปสรรคที่เข้มข้นและเวลาในท่าอากาศยานที่น้อยลง ซึ่งอาจทำให้ทีมเกิดอาการอ่อนเพลียได้ นอกจากนี้ ซีบีเอสยังเปิดเผยว่าในการแข่งขันจะมีการบันจีจัมพ์จากหอที่สูงเป็นลำดับสองของโลก ผจญกับอากาศที่ร้อนอบอ้าวจนหายใจไม่ออกในอินเดีย และการท้าทายระหว่างกีฬาโอลิมปิก ฤดูร้อนประจำปี ค.ศ. 2008 ที่ทำให้ทีมเกิดอาการหอบได้ [7]

สำหรับในซีซั่นที่ 14 นี้ เบอร์แทรม ฟาน มุนสเตอร์ ได้ให้สัมภาษณ์กับยูเอสเอทูเดย์ไว้ว่า จะมีการอัปเดตแผนที่แสดงเส้นทางในรายการผ่านทาง กูเกิล แมปส์ มีช่วงเปิดรายการแบบใหม่ กราฟิกใหม่ (ฟอนต์ของชื่อผู้เข้าแข่งขันและคำอธิบายภารกิจในรายการ และไอคอนแสดงสัญลักษณ์คำใบ้ต่าง ๆ อย่างไรก็ดีไอคอนแบบเก่ายังพบในการถ่ายทำอยู่) มีการแบ่งครึ่งหน้าจอในช่วงที่มีสองฉากเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน และมีการปรับปรุงเพลงประกอบรายการใหม่อีกด้วย[6] นอกจากนี้ซีซั่นนี้เป็นครั้งที่สองที่เส้นชัยไม่ได้อยู่ที่แผ่นดินใหญ่ในสหรัฐอเมริกา โดยฤดูกาลแรกที่เส้นชัยอยู่นอกแผ่นดินใหญ่ในสหรัฐอเมริกาคือ ดิ อะเมซิ่ง เรซ 12 ไม่เพียงเท่านี้ ฤดูกาลนี้ยังมีการเปลี่ยนกติกาของคำสั่งย้อนกลับ (U-Turn) เล็กน้อย ซึ่งปรากฏในเลกที่ 4 ของการแข่งขัน คำสั่งย้อนกลับที่ปรากฏในเลกนั้นทีมที่ใช้ไม่จำเป็นต้องเปิดเผยว่าตนสั่งย้อนกลับ (ไม่จำเป็นต้องปิดป้ายแสดงว่าพวกเขาเป็นผู้สั่งย้อนกลับ[8] (Blind U-Turn) ซึ่งตั้งแต่มีการใช้คำสั่งถ่วงเวลา (Yield) และคำสั่งย้อนกลับ ทีมที่ใช้จะต้องปิดป้ายแสดงว่าตนเป็นผู้สั่งย้อนกลับให้ทีมอื่น ๆ ทราบ) แต่ทว่า U-Turn ในเลกที่ 10 ของฤดูกาลนี้นั้นเป็น U-Turn แบบปกติ คือ ต้องติดแผ่นป้ายบอกว่าใครเป็นคนสั่ง U-Turn ใครในการแข่งขันครั้งนี้ มีคำสั่งทางด่วนที่ไม่ได้ออกอากาศทางโทรทัศน์ 1 ครั้ง โดยเมลกับไมค์ให้สัมภาษณ์หลังจากจบการแข่งขันว่าคำสั่งทางด่วนในเลก 7 ของการแข่งขันเป็นคำสั่งที่ให้ทีมเดินทางไปยังตลาดและซื้อของให้กับสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า ด้วยเงินของพวกเขาเอง ซึ่งในที่สุดแล้วไม่มีทีมใดใช้ทางด่วนในเลกดังกล่าวเลยรวมถึงเป็นครั้งแรกที่จำนวนทางด่วนนั้นมีแค่ 1 ครั้งเท่านั้นซึ่งโดยปกติแล้วจำนวนทางด่วนในฤดูกาลที่ 5-13 จะมีทั้งหมด 2 ครั้ง (ฤดูกาลที่ 1-4 มีจำนวนทางด่วน 9-11 ครั้งด้วยกัน)[9]

การคัดเลือกผู้เข้าแข่งขัน

สำหรับฤดูกาลที่ 14 นี้ปิดรับสมัครเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 การสัมภาษณ์เพื่อคัดตัวรอบรองสุดท้ายมีขึ้นในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2551 และรอบสุดท้ายมีขึ้นเมื่อประมาณปลายเดือนมิถุนายน ถึงต้นเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 ที่ ลอสแอนเจลิส, แคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา การค้นหาสถานที่แข่งกระทำขึ้นในช่วงเดือน สิงหาคม และการถ่ายทำคาดว่ามีขึ้นในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2551[10] [11]

ผู้เข้าแข่งขันในครั้งนี้มีทั้งคู่แต่งงานที่แต่งกันมาแล้ว 17 ปีจากรัฐเวอร์จิเนีย พี่ชายกับน้องชายสตั๊นท์แมน ไปจนถึงผู้เข้าแข่งขันที่หูหนวกครั้งแรกของเวอร์ชันสหรัฐอเมริกา ลูค อดัมส์ ที่อาศัยคุณแม่ของเขาในการสื่อสารด้วยภาษามือ[7][12] โดยผู้เข้าแข่งขันที่หูหนวกครั้งแรกในทุก ๆ เวอร์ชันคือเอเดรียน แย็บ ซึ่งเป็นผู้ชนะใน ดิ อะเมซิ่ง เรซ เอเชีย 2 (สำหรับในกรณีที่ถ้ามาร์กี้กับลุคเข้าถึงจุดพักพิธีกรจะใช้ภาษามือในการบอกลำดับที่ของพวกเขา ซึ่งปรากฏขึ้นในตอนที่ 1)

แหล่งที่มา

WikiPedia: ดิอะเมซิ่งเรซ_14 http://www.cbs.com/info/schedule/index.php http://www.cbs.com/primetime/amazing_race/ http://www.cbs.com/primetime/amazing_race_applicat... http://www.cbs.com/primetime/amazing_race_applicat... http://www.cbsnews.com/stories/2008/10/29/earlysho... http://www.fancast.com/blogs/the-amazing-race/the-... http://futoncritic.com/news.aspx?id=20081202cbs02 http://www.realitytvworld.com/news/cbs-reveals-the... http://www.starpulse.com/news/index.php/2009/01/26... http://www.thefutoncritic.com/showatch.aspx?id=ama...