ตกลงว่าไม่อาจจะตกลงกันได้

ตกลงว่าไม่อาจจะตกลงกันได้ (อังกฤษ: Agree to disagree) เป็นสำนวนปฏิพจน์ภาษาอังกฤษที่เป็นการปิดท้ายความขัดแย้งอย่างฉันมิตรว่าคู่กรณีต่างมีความเห็นต่างกันที่ไม่อาจจะประนีประนอมกันได้ สำนวนเช่นนี้มักจะเกิดขึ้นในสถานการณ์เช่นการโต้วาที หรือ การโต้เถียงกันที่ต่างฝ่ายต่างก็เห็นพ้องกันว่าเป็นการเปล่าประโยชน์ที่จะดำเนินการโต้เถียงต่อไป และอาจจะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงกว่าที่เป็นอยู่ เพราะทั้งสองฝ่ายต่างก็มีความเห็นที่ห่างไกลจากกันเกินกว่าที่จะหาทางประนีประนอมความคิดเห็นกันได้ เมื่อตกลงกันได้เช่นนั้นคู่กรณีก็ยังคงมีสัมพันธ์ฉันมิตรต่อไปได้วลีดังกล่าวปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรในปี ค.ศ. 1770 เมื่อนักคริสต์ศาสนวิทยาจอห์น เวสลีย์เขียนบทเทศนาไว้อาลัยเนื่องในโอกาสการเสียชีวิตของนักสอนศาสนาจอร์จ ไวท์ฟิลด์ยอมรับถึงความขัดแย้งทางความคิดเห็นระหว่างกันว่า “มีสิ่งหลายสิ่งที่ไม่ไคร่สำคัญนัก ... สิ่งต่างๆ เหล่านี้เราอาจจะไตร่ตรอง หรือ ควรคิด และเราอาจจะ “ตกลงว่าไม่อาจจะตกลงกันได้” แต่ในขณะเดียวกันก็ขอให้เรายึดมั่นในสิ่งที่สำคัญกันเถิด...”[1] เวสลีย์จึงเป็นบุคคลแรกที่ตีพิมพ์สำนวน “ตกลงว่าไม่อาจจะตกลงกันได้”[2]สำนวน “ตกลงว่าไม่อาจจะตกลงกันได้” ที่ปรากฏในปี ค.ศ. 1785;[2] กล่าวว่าประโยชน์ของการ “ตกลงว่าไม่อาจจะตกลงกันได้” มิได้สร้างความขัดแย้งทางตรรกศาสตร์[3] แต่ผลเสียคือเป็นที่ไม่ควรค่าแก่การทรงจำแม้ว่าสำนวนดังกล่าวมักจะใช้เฉพาะในโอกาสลำลองหรือสถานการณ์ชั่วครั้งชั่วคราวเกี่ยวกับเรื่องการเมือง แต่ก็คล้ายคลึงกับสำนวนภาษาละตินว่า “modus vivendi” (ความตกลงชั่วคราว) แต่อาจจะถือว่าเป็นสำนวนจำเจเพื่อหยุดยั้งความคิดเห็น

ใกล้เคียง

ตกลงว่าไม่อาจจะตกลงกันได้ ความตกลงวอชิงตัน ความตกลงมิวนิก ความตกลงปางหลวง ความตกลงการสงบศึกเกาหลี ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ความตกลงอังกฤษ-รัสเซีย ความตกลงปารีส ความตกลงมาเลเซีย