ตราสัญลักษณ์ ของ ตราสัญลักษณ์ผู้ชนะเลิศฟีฟ่า

ข้อบังคับของตราสัญลักษณ์

ตรานี้มีขนาด 78 x 58 มม. (3.1 x 2.3 นิ้ว) มีรูปร่างคล้ายโล่[lower-alpha 1] และมีรูปถ้วยรางวัลที่ชนะเลิศ พร้อมจารึกคำว่า FIFA WORLD CHAMPIONS ถัดจากปีที่ชนะการแข่งขันของฟีฟ่า[3][4] ตราสัญลักษณ์มีเพียงสองสีเท่านั้น คือ ตัวอักษรสีทองบนพื้นหลังสีขาว และตัวอักษรสีขาวบนพื้นหลังสีทอง[5] ทีมชาติหรือสโมสรที่ชนะ จะประดับตราบนเสื้อจนกว่าจะสิ้นสุดการแข่งขันของฟีฟ่าในการแข่งขันครั้งต่อไป ดังนั้นจึงสวมใส่เพื่อแสดงถึงแชมป์ปีนั้นเท่านั้น[1][4][6]

ตราสัญลักษณ์สามารถติดบนเสื้อได้ตั้งแต่วันที่ทีมเป็นผู้ชนะเลิศในการแข่งขันของฟีฟ่าจนถึงและรวมถึงวันสุดท้ายของการแข่งขันครั้งต่อไป (เช่น หากทีมชนะการแข่งขันอีกครั้ง พวกเขาสามารถประดับตราสัญลักษณ์ต่อไปได้เลย)[7][8] ตราสัญลักษณ์สามารถติดได้เฉพาะเสื้อแข่งอย่างเป็นทางการของทีมชุดแรกของสโมสรเท่านั้น (ทั้งเสื้อเหย้า และเยือน) ซึ่งเป็นทีมที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันของฟีฟ่าครั้งนั้น และไม่สามารถติดในเสื้อพิเศษ หรือเสื้อย้อนรำลึกของสโมสร หรือทีมสำรองของสโมสร / ทีมอื่น ๆ ของสโมสร[7][8]

เชิงการค้า

ตราสัญลักษณ์ผลิตโดยบริษัทที่สามในนามของฟีฟ่า (ซึ่งเป็นยูนิสปอร์ตใน ค.ศ. 2019)[9] และคำสั่งซื้อตราสัญลักษณ์จากผู้ผลิตเสื้อแข่งจะต้องผ่านฟีฟ่าเท่านั้น ซึ่งสถานการณ์ด้านลอจิสติกส์ที่สร้างความล่าช้าให้กับผู้บริโภคในการซื้อเสื้อฟุตบอลของทีมฟุตบอลหญิงทีมชาติสหรัฐที่ผลิตโดยไนกี้ พร้อมตราใน ค.ศ. 2019[2][9] นอกจากนี้ยังมีความกังวลว่าผู้ผลิตเสื้อรายใหญ่เช่นไนกี้ และพูม่า มีปัญหาเรื่องการขอใบอนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์จากฟีฟ่าสำหรับเสื้อทีมชุดแรกที่สามารถขายให้กับคนทั่วไปได้[10]

เช่นเดียวกับเกียรติประวัตินี้ นำมาซึ่งประโยชน์ทางการค้ามาสู่ผู้รับผ่านการขายเสื้อที่มีตราสัญลักษณ์ใหม่[10][11]

การแข่งขันที่ไม่ได้จัดโดยฟีฟ่า

การประดับตราสัญลักษณ์จำเป็นต้องมีข้อตกลงแยกต่างหากในการสวมตราสัญลักษณ์ในการแข่งขันที่ไม่ใช่ของฟีฟ่า ตัวอย่างเช่น ใน ค.ศ. 2009 สมาคมฟุตบอลอังกฤษ อนุญาตให้แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ซึ่งเป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2008 ประดับตราสัญลักษณ์ในการแข่งขันเอฟเอคัพได้ แต่ไม่อนุญาตให้ประดับตราสัญลักษณ์ในการแข่งขันพรีเมียร์ลีก[12] ซึ่งคล้ายกับกรณีของลิเวอร์พูล ซึ่งเป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2019[4][13] อย่างไรก็ตาม สมาคมฟุตบอลอังกฤษให้สิทธิลิเวอร์พูลในการประดับตราสัญลักษณ์สำหรับการแข่งขันพรีเมียร์ลีกในเกมที่เปิดบ้านพบกับวุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ เมื่อ 29 ธันวาคม ค.ศ. 2019[14][15] ซึ่งต่างกันกับเรอัลมาดริด ซึ่งพวกเขาได้รับอนุญาตให้ประดับตราสัญลักษณ์ในการแข่งขันทั้งหมดของลาลิกาสเปน[1]

ใกล้เคียง

ตราสัญลักษณ์ผู้ชนะเลิศฟีฟ่า ตราสัญลักษณ์ ตราสัญลักษณ์ของกาชาด ตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ตราสัญลักษณ์สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ตราสัญลักษณ์ตะมะดอ ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 12 สิงหาคม 2555 ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ตราสัญลักษณ์ผู้ชนะเลิศฟีฟ่า http://www.fifa.com/aboutfifa/developing/releases/... https://resources.fifa.com/image/upload/equipment-... https://www.fifa.com/beachsoccerworldcup/news/hold... https://www.fifa.com/beachsoccerworldcup/news/port... https://www.fifa.com/clubworldcup/news/badge-champ... https://www.fifa.com/clubworldcup/news/barcelona-h... https://www.fifa.com/clubworldcup/news/corinthians... https://www.fifa.com/clubworldcup/news/fifa-awards... https://www.fifa.com/clubworldcup/news/fifa-world-... https://www.fifa.com/clubworldcup/news/real-madrid...