พิธีการยอมจำนน ของ ตราสารยอมจำนนของเยอรมนี

การยอมจำนนในแรมส์

นายพลอัลเฟรด โยเดิลลงนามยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขในเมืองแรมส์ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 1945

ตราสารยอมจำนนฉบับแรกถูกลงนามที่แรมส์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อเวลา 2.41 น. ของวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 พิธีลงนามมีขึ้นในอาคารเรียนอิฐแดงซึ่งใช้เป็นกองบัญชาการสูงสุดกำลังรบนอกประเทศสัมพันธมิตร (SHAEF)[4] และจะมีผลเมื่อเวลา 23.01 น. ตามเวลายุโรปกลาง ของวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945[5]

การยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของแวร์มัคท์ถูกลงนามโดยพลเอกอาวุโสอัลเฟรด โยเดิล ในนามของกองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์และในนามผู้แทนของประธานาธิบดีเยอรมนีคนใหม่ จอมพลเรือคาร์ล เดอนิทซ์ ส่วนของฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกถูกลงนามโดย พลโทวัลเตอร์ เบเดล สมิธ ส่วนของสหภาพโซเวียตลงนามโดยพลตรีอีวาน ซูสโลปารอฟ

การยอมจำนนในเบอร์ลิน

ไคเทิลลงนามในตราสารยอมจำนนกองทัพเยอรมันในกรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 8-9 พฤษภาคม 1945

เนื่องจากพิธีการในแรมส์จัดขึ้นโดยฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกโดยไม่ได้ตกลงกับกองบัญชาการทหารโซเวียต ไม่นานหลังจากมีการลงนามยอมจำนนแล้ว ฝ่ายโซเวียตได้ประกาศว่าผู้แทนโซเวียตในแรมส์ พลเอกซูสโลปารอฟ ไม่มีอำนาจที่จะลงนามในตราสารนี้[6] ยิ่งไปกว่านี้ สหภาพโซเวียตยังพบอีกว่าตราสารซึ่งลงนามในแรมส์มีข้อความแตกต่างไปจากร่างที่เตรียมไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งได้รับการรับรองโดยประเทศยิ่งใหญ่ทั้งสาม[6] ที่สำคัญ บางส่วนของกองทัพเยอรมันปฏิเสธที่จะยอมวางอาวุธและยังคงทำการสู้รบต่อไปในเชโกสโลวาเกีย โดยได้มีการประกาศในสถานีวิทยุเยอรมันว่าเยอรมนีตกลงสันติภาพกับฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก มิใช่กับฝ่ายโซเวียต[6]

ฝ่ายโซเวียตแย้งว่าการยอมจำนนนั้นควรจะจัดขึ้นอย่างเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ และไม่ควรมีพิธีในดินแดนของผู้ยึดครอง แต่ในสถานที่ซึ่งการรุกรานของเยอรมนีเริ่มต้นขึ้นมา: ในเบอร์ลิน[6] ฝ่ายโซเวียตยืนกรานว่าการยอมจำนนในลงนามในแรมส์นั้นควรจะถูกพิจารณาว่าเป็น "พิธีสารชั้นต้นของการยอมจำนน"[7] ดังนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตกลงให้มีพิธีการยอมจำนนอีกครั้งหนึ่งในเบอร์ลิน[7] ตราสารยอมจำนนทางทหารได้รับการลงนามไม่นานก่อนเที่ยงคืนของวันที่ 8 พฤษภาคม[8] ณ ที่ทำการทหารสารบรรณโซเวียตในเบอร์ลิน-คาร์ลชอร์สท์ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์เยอรมนี-รัสเซียเบอร์ลิน-คาร์ลชอร์สท์

ใกล้เคียง

ตราสารอนุพันธ์ ตราสารยอมจำนนของเยอรมนี ตราสารยอมจำนนของญี่ปุ่น ตราสารหนี้ ตราสารสิทธิ ตราสารทุน ตราสารทางการเงิน ตราสารหนี้ปลอดดอกเบี้ย ตราสารเอ็นวีดีอาร์ ตราสามดวง