ขบวนแห่ในงานตรุษจีนปากน้ำโพ ของ ตรุษจีนในนครสวรรค์

งานประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ปากน้ำโพจะมีขึ้นหลังวันตรุษจีน 2 วัน คือในวันที่สามหลังวันตรุษจีน (ชิวซา) จะเป็นการแห่กลางคืน และหลังจากนั้นหนึ่งวัน (ชิวสี่) จะเป็นวันแห่กลางวัน โดยในการแห่จะมีขบวนต่างๆมากมาย

ไฟล์:องค์สมมุติเจ้าแม่กวนอิม ปี2552.jpgองค์สมมุติเจ้าแม่กวนอิม ปี พ.ศ. 2552

ขบวนองค์สมมุติเจ้าแม่กวนอิม

ไฟล์:องค์สมมุติ62.jpgองค์สมมุติเจ้าแม่กวนอิม ปี พ.ศ. 2562

ในขบวนองค์สมมุติเจ้าแม่กวนอิมนั้น จะประกอบไปด้วย องค์สมมุติเจ้าแม่กวนอิม และกิมท้ง(เด็กชาย) เง็กนึ่ง(เด็กหญิง)

องค์สมมุติเจ้าแม่กวนอิม

คนในจังหวัดนครสวรรค์นั้นส่วนใหญ่แล้วให้ความเคารพและนับถือเจ้าแม่กวนอิมเป็นอย่างยิ่ง องค์สมมติเจ้าแม่กวนอิมนั้นถือเป็นความใฝ่ฝันอย่างหนึ่งของหญิงสาวในจังหวัดนครสวรรค์ แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นใครที่ไหนก็ได้ หรือสักแต่ว่ารูปโฉมงดงามเท่านั้น แท้ที่จริงแล้วจะต้องผ่านการคัดเลือก ผ่านพิธีกรรมต่างๆมาหลายขั้นตอน จนประหนึ่งว่าเจ้าแม่กวนอิมทรงเลือกเธอมาด้วยพระองค์เอง โดยในแต่ละปีคณะกรรมการใหญ่จะจัดตั้งคณะกรรมการคัดเลือกองค์สมมติขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อเป็นผู้คัดเลือก โดยมีขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่หนึ่ง เริ่มจากประกาศหาหญิงสาวพรหมจรรย์ ที่เป็นลูกหลานชาวปากน้ำโพโดยกำเนิด ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไปมาสมัคร โดยไม่ได้ดูแต่เพียงความงามจากภายนอกเป็นหลัก แต่จะดูถึงความงามภายในจิตใจ คุณงามความดี มีกิริยามารยาทที่ดี และต้องมาจากครอบครัวที่ดี

ขั้นที่สอง  หลังจากปิดรับสมัครและได้ผู้สมัครแล้วคณะกรรมการจะตรวจสอบคุณสมบัติของสาวเหล่านั้นโดยมีระเบียบพื้นฐาน อาทิเช่น

ไฟล์:องค์สมมุติ62-1.jpgงานเปิดตัวองค์สมมติ เจ้าแม่กวนอิม ประจำปี พ.ศ. 2561-2562 และพิธีไหว้พระจันทร์

1.) ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง

2.) สามารถเข้าร่วมกิจกรรมกับคณะกรรมการการจัดงานได้โดยไม่มีข้อต่อรองเกี่ยวกับรายได้

3.) ต้องถือศีล กินเจนับแต่วันแรกที่ได้รับตำแหน่งเจ้าแม่กวนอิม

4.) ระหว่างรับตำแหน่งต้องไม่ไปทำหน้าที่ หรือกิจกรรมอื่นใดอันขัดต่อความเคารพศรัทธาของประชาชน ฯลฯ

ขั้นที่สาม หญิงสาวที่มีคุณสมบัติตรงตามที่คณะกรรมการตรวจสอบ ทางกรรมการจะกำหนดวันที่ทำการคัดเลือกโดยการเสี่ยงทายต่อหน้าองค์เจ้าแม่หน้าผา ซึ่งทางคณะกรรมการจะเชิญกรรมการมาร่วมเป็นสักขีพยาน เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์

ขั้นที่สี่ เป็นวิธีเสี่ยงทายเพื่อเป็นการคัดเลือก โดยจะให้สาวงามจับสลากว่าจะได้อันดับที่เท่าใดในการเสี่ยงทาย ซึ่งสาวงามที่ผ่านเข้ามาจะเป็นผู้เสี่ยงทายเอง โดยการโยนไม้ ปัวะปวย สามครั้ง (ปัวะปวย : มีลักษณะเป็นไม้นูนโค้งหลังเต่าประกบกันสองอัน) เรียกว่า การปัวะปวย ไม้ที่ใช้เสี่ยงทายจะต้องคว่ำอัน หงายอัน (เซ่งปวย) เป็นจำนวนสองครั้ง และการเสี่ยงทายครั้งสุดท้าย ไม้ที่ใช้เสี่ยงทายจะต้องคว่ำทั้งสองอัน(อุ้งปวย) เป็นจำนวนหนึ่งครั้ง ภาษาจีนเรียกว่า 'หน่อเส่งเจ็กอุ้ง' ถึงจะได้เป็นองค์สมมุติเจ้าแม่กวนอิมโดยสมบูรณ์และถูกต้อง

ถ้าคนที่หนึ่งเสี่ยงได้ จะเป็นอันถือว่าผู้นั้นได้รับการคัดเลือกเป็นองค์สมมุติเจ้าแม่กวนอิมทันที ไม่มีการเสี่ยงต่อ แต่ถ้าคนที่หนึ่งเสี่ยงไม่ได้ คนที่สอง ที่สาม หรือที่สี่ในจำนวนที่คณะกรรมการคัดมาได้จะเสี่ยงต่อไปใครได้ก็จะหยุด ณ ตรงนั้น แต่ถ้าเสี่ยงจนครบจำนวนแล้ว แต่ยังมิสามารถเลือกได้ ก็จะมาเริ่มที่คนแรกใหม่ ทำเช่นนี้จนได้ตัวแทนองค์สมมุติเจ้าแม่กวนอิม จะใช้เวลานานเท่าใดก็ต้องทำ ซึ่งบางปีนั้นใช้เวลาหลายชั่วโมงก็ยังไม่ได้ แต่บางปีทำการปัวะปวยเพียงครั้งเดียวก็ได้เลยทันที โดยการคัดเลือกที่ศักดิ์สิทธิ์นี้มีนัยยะโดยสำคัญประหนึ่งว่าองค์เจ้าแม่กวนอิมนั้น เป็นผู้คัดเลือกด้วยตัวพระองค์เองนั่นเอง หญิงสาวที่เข้าคัดเลือกส่วนใหญ่แล้วจะรู้ตัวมาก่อนว่าปีนี้จะเข้ารับเลือก บางคนถือศีลกินเจเป็นเดือนๆ เพื่อทำให้ตัวเองบริสุทธิ์เหมาะสมกับตำแหน่งองค์สมมุติเจ้าแม่ผู้เปี่ยมไปด้วย คุณธรรม เป็นที่เคารพกราบไหว้ของผู้ศรัทธา

ด้วยความยากลำบากในขั้นตอนของการคัดเลือก แสดงขั้นตอนถึงความศักดิ์สิทธิ์ เปรียบเสมือนราวกับว่าเจ้าพ่อเจ้าแม่ รวมถึงองค์เจ้าแม่กวนอิมเลือกหญิงสาวในปีนั้นๆด้วยพระองค์เอง ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองรวมทั้งคนในตระกูลของผู้ที่ได้รับเลือกเป็น องค์สมมติเจ้าแม่กวนอิมในปีนั้นๆ ถือว่าเป็นศิริมงคลกับครอบครัว และวงศ์ตระกูลเป็นอย่างยิ่ง และตัวขององค์สมมติเองนั้น ก็จะโด่งดังไปทั่วประเทศ มีสื่อทุกสำนักมาให้ความสนใจ จนกลายเป็นผู้มีชื่อเสียงในชั่วข้ามคืนในวันไหว้พระจันทร์ จึงไม่แปลกที่ชาวจังหวัดนครสวรรค์นั้นอยากให้ลูกหลานของตนได้มีโอกาสเป็น “องค์สมมติเจ้าแม่กวนอิม ตรุษจีนปากน้ำโพ” สักครั้งหนึ่งในชีวิต

ขบวนมังกรทอง

ขบวนเกี้ยวเจ้าพ่อเจ้าแม่

เจ้าพ่อเทพารักษ์

เจ้าแม่ทับทิม

เจ้าแม่หน้าผา

เจ้าพ่อแควใหญ่

เจ้าแม่สวรรค์

เจ้าพ่อกวนอู

เจ้าพ่อจุ๊ย เจ้าพ่อจุ๊

เทพเจ้าไฉ่ซิ้งเอี๊ย

ขบวนแห่สิงโต

ความพิเศษของตรุษจีนนครสวรรค์อีกอย่างหนึ่งนั้นคือได้มีการรวบรวมการแสดงเชิดสิงโต 5 ชาติพันธุ์ หรือ 5 ภาษา หนึ่งในนั้นเป็นการรื้อฟื้นการเชิดสิงโตฮกเกี้ยน ที่หายไปนานกลับมาให้ชาวไทยและชาวปากน้ำโพได้ร่วมชม และร่วมกันสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นอีกครั้ง ซึ่งถือเป็นที่แรกและที่เดียวในประเทศไทยที่มีการรวบรวมการเชิดสิงโตไว้มากที่สุดถึง 5 ชาติพันธุ์

เสือไหหลำ

เป็นของชาวจีนไหหนำ เหตุที่เรียกเสือไหหนำก็เพราะมีเรื่องเล่าว่ามีแม่ลูกคู่หนึ่งเดินทางไปไหว้ศาลเจ้าปึงเถากงหนึ่งในไหหนำ และได้มีเสือนอนหลับอยู่ข้างศาลเจ้า โดยปกติเสือตัวนี้จะไม่ทำร้ายใคร จนเด็กคนนี้ไปแหย่เสือที่นอนหลับอยู่เสือก็ตื่นขึ้นด้วยความโกรธแล้วกินเด็กลงไป ส่วนแม่ก็ได้แต่ยืนดูโดยที่ช่วยอะไรไม่ได้ก็ได้แต่ยืนร้องไห้อยู่ตรงหน้าศาลเจ้า ฝ่ายเทพเจ้าปึงเถากงเห็นเหตุการณ์ก็นึกสงสารจึงไปขอให้พระภูมิเจ้าที่สององค์ช่วยเหลือชาวจีนไหหนำจึงได้นำตำนานเรื่องนี้มาเป็นการแสดง

ขบวนเสือไหหลำ ขบวนนี้ เกิดขึ้นมาเมื่อครั้งชาวจีนไหหลำได้อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารที่ชุมชนปากน้ำโพจังหวัดนครสวรรค์ จึงได้นำเอาวัฒนธรรมประเพณีการเชิดเสือเข้ามาเผยแพร่ให้ลูกหลานชนรุ่นหลังได้สืบทอดการเชิดจนแพร่หลาย ซึ่งตามความเชื่อถือของชาวจีนไหหลำ เสือเป็นสัญลักษณ์ของ เทพเจ้าบ้วนเถ่ากง หรือที่ชาวไทยรู้จักกันดี คือ เจ้าพ่อเทพารักษ์ เป็นเสมือนสัตว์ที่คอยเบิกทางก่อนที่เทพเจ้าบ้วนเถ่ากงจะเสด็จ คอยปกป้องภยันตรายสิ่งไม่ดีไม่งามมาย่างกราย ดังนั้นชาวไหหลำซึ่งนับถือเทพเจ้าบ้วนเถ่ากง จึงนำเสือมาเป็นสัญลักษณ์ใช้เชิดในเทศกาลและงานพิธีมงคลต่างๆ เพื่อให้ตนเองและครอบครัวประสบแต่โชคดี และนำมาซึ่งความเป็นสิริมงคล

สิงโตทองฮากกา

สิงโตทองฮากกา หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สิงโตจีนแคะ เป็นศิลปะการแสดงที่นิยมอย่างแพร่หลายในหมู่ชาวฮากกาที่อยู่ในประเทศจีน คำว่าฮากกา ปลกว่าแขก หรือผู้มาเยือน ตามความเชื่อดั้งเดิมนั้นมีอยู่ว่า หากมีการจัดงานเฉลิมฉลอง ด้วยการแห่ขบวนสิงโตฮากกาไปทั่วเมือง จะช่วยปัดเป่าเหตุเพทภัยสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ให้หมดสิ้นไป ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ข้าวปลาอาหาร อุดมสมบูรณ์ ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ โดยสิงโตทาองฮากกาที่นี่ เป็นสิงโตจำลองมาจากสิงโตจริงไม่มีเขา ที่คอจะมีขนคอยาวเหมือนสิงโตตัวผู้ รูปหน้าทำขึ้นเป็นเป็นศิลปะพื้นบ้านโบราณ

สิงโตปักกิ่ง

สิงโตปักกิ่ง เป็นศิลปะการเล่นสิงโตของจีนภาคเหนือ เป็นสิงโตพ่อ แม่ ลูก 4 ตัว เต้นหยอกล้อลูกแก้ว มีลีลาสวยงามน่ารัก ท่าที่แสดงออกเป็นไปอย่างสนุกสนาน และร่าเริง ผู้ที่ชมการแสดงอย่างใกล้ชิดอาจได้ร่วมกันรับความรู้สึกจากการแสดงโดยตรงเมื่อสิงโตปักกิ่งมาคลอเคลียด้วย โดยขบวนสิงโตปักกิ่งนครสวรรค์ถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2519 หลังจากที่ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี และคณะกรรมการจัดงานในยุคนั้นได้ชมการแสดงสิงโตปักกิ่งของคณะกายกรรมกวางเจา จึงมีความคิดนำร่วมในขบวนแห่งตรุษจีนด้วย ปัจจุบันคณะสิงโตปักกิ่ง นครสวรรค์มีนักแสดงทั้งหมดกว่า 60 คน

สิงโตกวางตุ้ง หรือ สิงโตกว๋องสิว

สิงโตกว๋องสิว หรือสิงโตกวางตุ้ง เป็นขบวนสิงโตที่นิยมเชิดกันมากที่สุดเพราะมีสีสันและลวดลายสวยงาม ปรากฏให้เห็นตามงานวัดและงานมงคลของไทย-จีน สิงโตกวางตุ้งประกอบด้วยสัตว์ 3 ชนิด คือ แรด เพราะมีนอที่หน้าผากเหมือนแรด ม้าเนื่องจากมีลำตัวเหมือนม้า และ สุนัขเพราะมีอากัปกิริยาเหมือนสุนัข มีคนคอยติดตามคือแป๊ะยิ้มในมือถือพัดที่ทำมาจากใบตาล คู่กับยายซิ้มที่ในมือถือตะกร้าใส่ดอกเบ็ญจมาศ และจี้กงเป็นคนเมามีหน้าตาสกปรกมอมแมมในมือถือขวดน้ำเต่ใส่หล้า การเชิดสิงโตกว๋องสิวของนครสวรรค์ มีท่าเต้นสนุกสนาน เช่น สิงโตตื่นนอน สิงโตกินผัก สิงโตกินส้ม สิงโตเล่นพรหมสี่หน้า สิงโตกินมะพร้าว สิงโตขึ้นเขา สิงโตปีนเสา ทุกท่วงท่ามีลีลาการเต้นที่งดงาม มีความกลมกลืน สิงโตกว๋องสิวของนครสวรรค์ ถือว่ามีชื่อเสียงที่สุดในประเทศ เพราะได้รับรางวัลจากการแข่งขันเชิดสิงโตมาแล้วมากมาย และที่ยังความภาคภูมิใจมาแด่สมาคมกว๋องสิว และชาวปากน้ำโพก็คือสิงโตกว๋องสิวนี้ ได้มีโอกาสเชิดถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และเชื้อพระวงศ์ทอดพระเนตรหลายต่อหลายครั้งอีกด้วย

สิงโตฮกเกี้ยน

สิงโตฮกเกี้ยนเป็นสิงโตเขียวของชาวจีนฮกเกี้ยน ไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก เป็นการละเล่นในช่วงราชวงษ์ชิง เชื่อกันว่าสิงโตประเภทนี้ถูกคิดค้นโดยชาวแมนจู ครั้นเมื่อราชวงษ์ชิงล่มสลายและมีการปฏิวัติเกิดขึ้น วัฒนธรรมการแสดงสิงโตเขียวก็หายไปจากเมืองจีน และปรากฏว่าวัฒนธรรมการแสดงสิงโตเขียวได้ข้ามช่องแคบมาสู่เกาะไต้หวันในศตวรรษที่ 18 โดยเริ่มจากคนที่ตั้งรกรากช่วงแรกๆ ซึ่งเป็นคนเรือที่มีอาชีพยากลำบาก การฝึกฝนจึงเป็นท่วงท่าดุดันแบบกังฟู จึงจะเห็นการฝึกแบบนี้ในบ้านชนบทที่ห่างไกล เพื่อบูชาเทพเจ้า เพื่อออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งการฝึกทหาร รูปแบบหัวสิงโตทางตอนเหนือนิยมแบบเปิดปากได้ ส่วนทางตอนใต้นิยมแบบหัวแข็งแรงที่จะเอาไว้เป็นโล่ต่อสู้กับโจร

หัวสิงโตฮกเกี้ยนจะมีอยู่ 5 สี ตามสีของ 5 ธาตุ ตามความเชื่อของลัทธิเต๋า สีเหลือง อยู่ตรงกลาง ธาตุดิน, สีเขียว ทิศตะวันออก ธาตุไม้, สีแดง ทิศใต้ ธาตุไฟ, สีขาว ทิศตะวันตก ธาตุทอง และสีดำ ทิศเหนือ ธาตุน้ำ หัวสิงโตจะมีกระจกขนาดใหญ่อยู่บนหน้าผาก และขนาดเล็กอยู่บนแก้ม ด้านบนหัวจะมียันต์ 8 เหลี่ยม และสัญญาลักษณ์ หยิน หยาง หนวดและแผงคอ สัญญาลักษณ์แทนฟ้าดิน การต่อสู้สิงโตแทนความดี ต่อสู้กับเหล่าร้าย นำเข้าประเทศไทยปี 2560 ที่ตำบลปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์เป็นที่แรก[1]

ขบวนนางฟ้า

ขบวนดนตรี

วงดุริยางค์

ล่อโก๊ว

ขบวนเด็กรำถ้วย

ขบวนเอ็งกอ-พะบู๊