เหตุการณ์สำคัญ ของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม
ส่วนนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาส่วนนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก

พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2529

  • 17 มีนาคม พ.ศ. 2519 – ดัชนีปิดที่ 76.43 จุดต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์
  • 20 สิงหาคม พ.ศ. 2522 – บริษัทราชาเงินทุนถูกเพิกถอนใบอนุญาต ทำให้ราคาและปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว เรียก วิกฤตการณ์ราชาเงินทุน[ต้องการอ้างอิง]
  • 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 - ตลาดหลักทรัพย์ปิดที่ 146.11 จุด[8] ต่ำที่สุดในรอบหนึ่งปีอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ราชาเงินทุน

พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2539

  • 19 ตุลาคม พ.ศ. 2530 – ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลดต่ำลงอย่างรวดโดยลดลงกว่า 509.32 จุดในวันเดียว (เรียก วันจันทร์ทมิฬ) มีผลถึงตลาดหุ้นไทยที่ผู้ลงทุนหมดความเชื่อมั่นจนมีการสั่งขายหุ้นเป็นจำนวนมากโดยดัชนีปิดตลาดวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2530 ที่ 472.86 จุด และดัชนีปิดตลาดที่ 459.01 จุด ลดลง 13.85 จุดภายในวันเดียว ต่อมาในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2530 ดัชนีลดลงอีก 36.64 จุดปิดที่ 422.37 จุด และลดลงต่อเนื่องเป็นเวลาเกือบ 2 เดือน โดยในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ดัชนีปิดตลาดที่ 253.98 จุดและในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2530 และ ดัชนีปิดตลาดที่ 243.97 ลดลง 10.01 จุด ต่ำสุดในรอบปี[9]
  • 13 ตุลาคม พ.ศ. 2532 - เกิดเหตุการณ์ตลาดหุ้นตกต่ำทั่วโลกเรียกว่า Friday the 13th mini-crash โดยดัชนีดาวน์โจนส์ลงไปกว่า 190.58 จุด -6.91% ด้านตลาดหุ้นไทย ได้รบผลกระทบในวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2532 ดัชนีปิดตลาดวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2532 ที่ 705.60 จุด ดัชนีปิดตลาดวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2532 661.45 จุด ลดลง 44.15 จุดลดลง 6.26%[10]
  • 2 สิงหาคม พ.ศ. 2533 – เกิดสงครามอ่าวเปอร์เซีย ดัชนีปิดตลาดวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2533 ที่ 1,129.36 จุด ดัชนีปิดตลาดวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2533 ที่ 1097.52 จุด ลดลง 31.84 จุด ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2533 ดัชนีปิดตลาดที่ 922.35 จุด ลดลงจากวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2533 อีก 175.17 จุด และลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 3 เดือน โดยในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 ดัชนีปิดตลาดที่ 544.30 จุดต่ำสุดในรอบหนึ่งปี
  • 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 - เกิดเหตุรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 ดัชนีปิดตลาดวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ที่ 791.64 จุด ดัชนีปิดตลาดวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ที่ 734.24 จุด ลดลงไปถึง 57.4 จุดหรือ7.25%
  • 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 - ดัชนีปิดตลาดวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ที่ 732.89 จุด ดัชนีปิดตลาดวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ที่ 667.84 จุด ลดลง 65.05 จุด หรือ 8.88% ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬและรัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
  • 4 มกราคม พ.ศ. 2537 – ดัชนีราคาหุ้นได้สร้างจุดสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยดัชนีปิดตลาดวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ที่ 1682.85จุด ดัชนีปิดตลาดวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2537 ที่ 1,753.73 จุด เพิ่มขึ้น 70.88 จุด หรือ 3.03%

พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2549

  • 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 – รัฐบาลไทยได้ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท นับเป็นจุดเริ่มของวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540
  • 27 ตุลาคม พ.ศ. 2540 – ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลดต่ำลงอย่างรวดโดยลดลงกว่า 554.26 จุดในวันเดียว โดยตลาดปิดทำการเวลา 15.30 น. ก่อนเวลาปิดทำการปกติ เรียก The October 27th 1997 Mini-Crash[11]ด้านตลาดหุ้นไทย ได้รับผลกระทบโดยในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดตลาดที่ 491.01 และในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2540 ดัชนีปิดตลาดที่ 460.80 ลดต่ำลง 30.21 จุด หรือ 6.15%[12]
  • 4 กันยายน พ.ศ. 2541 – ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ได้สร้างจุดต่ำที่สุดในรอบ 11 ปี โดยในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2541 ดัชนีปิดตลาดที่ 207.40 จุด และวันที่4 กันยายน พ.ศ. 2541 ดัชนีปิดตลาดที่ 207.31 จุด ลดลง 0.09 จุด หรือ 0.04%[13]
  • 5 มกราคม พ.ศ. 2543 - ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ดอตคอม ในสหรัฐอเมริกาส่งผลให้ตลาดหุ้นพุ่งสุงขึ้น นักลงทุนแห่เทขายหุ้นในวันดังกล่าวส่งผลให้ ตลาดหุ้นไทยดัชนีลดลง 32.61 จุด ดัชนีปิดตลาดที่ 465.85 จุด ลดลงจากวันก่อน -6.54% และในวันต่อมาดัชนีได้ปรับลดลงอีก 22.39 จุด ปิดที่ 443.46 จุด ลดลงจากวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2543 -4.81%
  • 13 กันยายน พ.ศ. 2544 - ภายหลังเกิดวินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ตลาดหุ้นไทยในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ปิดที่ 330.37จุด ตลาดหุ้นไทยในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2544 ดัชนีลดลง 22.2 จุด ปิดตลาดที่ 308.17 จุด ลดลง -6.27% วันที่14 กันยายน พ.ศ. 2544 ดัชนีลดลงอีก 20.07 จุด ปิดตลาดที่ 288.10จุด ลดลง -6.51% และในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2544 ดัชนีลดลงอีก 17.49 จุด ปิดตลาดที่ 270.61จุด -6.07% มูลค่าตามราคาตลาดของตลาดหุ้นไทยระหว่าง11 กันยายน พ.ศ. 2544 ถึง 20 กันยายน พ.ศ. 2544 เสียหายกว่า 2.51 แสนล้านบาท[14]
  • 8 ตุลาคม พ.ศ. 2544 - เกิดสงครามในอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2544–2557) โดยวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ดัชนีปิดที่ 280.88 จุด และวันที่8 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ดัชนีปิดที่ 277.28 ลดลง 2.6 จุด -1.07% ก่อนลงไปต่ำสุดในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ดัชนีปิดที่ 267.63 จุด ลดลง 3.27จุด -1.21%
  • 23 มกราคม พ.ศ. 2549 – มูลค่าการซื้อขายสิ้นวันอยู่ที่ 94,062.04 ล้านบาท เป็นมูลค่าการซื้อขายที่สูงเป็นอันดับที่ 4 ของประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย โดยเป็นมูลค่าการซื้อขายหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กว่า 57,058.10 ล้านบาท ให้กลุ่มเทมาเสกโฮลดิ้งส์ ประเทศสิงคโปร์[ต้องการอ้างอิง]
  • 19 ธันวาคม พ.ศ. 2549 – ธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาตรการกันสำรอง 30% เพื่อป้องกันกันเก็งกำไรค่าเงินบาท ส่งผลให้ผู้ลงทุนต่างชาติตื่นตระหนกพากันเทขายหุ้นเป็นจำนวนมาก โดยดัชนีลดลงกว่า 142.63 จุดหรือ 19.52% ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดในวันเดียวในประวัติศาสาตร์ตลาดหลักทรัพย์ฯ ก่อนปิดตลาดที่ลบ 108.41 จุด หรือลดลง 14.84% และมีการใช้มาตรการ Circuit Breaker เป็นครั้งแรกของตลาดในช่วงเวลา 11.26 น.ซึ่งเป็นช่วงที่ดัชนีลดลงกว่า 74.06 หรือ 10.14%[ต้องการอ้างอิง]

พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2559

  • 6 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – เนื่องจากการชุมนุมหน้าอาคารรัฐสภาไทย 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ดัชนีตกลงในวันดังกล่าว -6.48% -38.25 จุด ปิดที่ 551.8 จุด วันต่อมา -4.18% -23.09 จุดปิดที่ 528.71 จุด และในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ดัชนีลดลง -36.37 จุด -6.88% ปิดที่ 492.34จุด
  • 10 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยสั่งใช้มาตรการเซอร์กิต เบรกเกอร์ (circuit breaker) 30 นาที ตั้งแต่เวลา 14.35 น. เนื่องจากตลาดหุ้นไท ลดลงมากกว่า 10 % เป็นครั้งที่ 2 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ณ เวลา 14.35 น. อยู่ที่ 449.91 จุด ลดลง 50.08 จุด ลดลง 10.02 %
  • 27 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยสั่งใช้มาตรการเซอร์กิต เบรกเกอร์ (circuit breaker) 30 นาที[15] ตั้งแต่เวลา 16.04 น. เวลานั้น ดัชนีร่วงลง 10% อยู่ที่ระดับ 389.58 จุด หรือลดลง 43.29 จุด หลังเปิดการซื้อขายอีกครั้งในรอบที่ 2 ดัชนียังคงปรับลดลงต่อเนื่อง โดยปิดตลาดช่วงบ่ายที่ระดับ 387.43 จุด ลดลง 45.44 จุด หรือลดลง 10.50 % ดัชนีต่ำที่สุดในรอบ 6 ปี เนื่องจากวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์
  • 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552 – ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดัชนีหุ้นไทยทรุดถึง 58.72 จุด หรือ 8.03% เวลา 14.40 น.[16] ปิดที่ 692.72 ลดลง 38.75 จุดหรือ 5.30% ภายในวันเดียว ผันผวนอย่างมากจากระดับสูงสุด 736.34 จุดและต่ำสุด 670.72 จุดในวันเดียวกัน สาเหตุมาจากการปล่อยข่าวลือในตลาดหุ้นเหตุการณ์ส่งผลให้พนักงานบริษัทเคที ซิมิโก้ และอดีตกรรมการบริษัทยูบีเอส ถูกจับ[17]
  • 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 – กลุ่มบุคคลไม่ทราบฝ่าย บุกเข้าเผาทำลายชั้นล่าง ของอาคารที่ทำการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หลังกองกำลังทหารติดอาวุธ เข้าสลายการชุมนุมของ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ที่แยกราชประสงค์ ทำให้การซื้อขายหุ้น ของตลาดหลักทรัพย์ เปิดเพียงครึ่งวันเช้า ต่อมา ปิดทำการในวันที่ 20 และ 21 พฤษภาคม ตามประกาศของทางราชการ ในระหว่างประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
  • 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 - วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ปิดที่ 744.31 จุดลดลงจากวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 21.23 จุดหรือ-2.77% และในวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ตลาดหุ้นไทยดัชนีลดลง 23.02 จุด -3.09% ปิดที่ 721.29 จุดต่ำสุดในรอบสองเดือน
  • 23 กันยายน พ.ศ. 2554 – ดัชนีปิดตลาดที่ระดับ 958.16 จุด ลดลง 32.43 จุด หรือ -3.27% มูลค่าการซื้อขาย 50,108.85 ล้านบาท ขณะที่ TFEX หยุดซื้อขาย Silver Futures ครึ่งชั่วโมงหลังราคาร่วง 10% เป็นตามทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลก หลังดัชนีดาวโจนส์ดิ่งลงหนักกว่า 400 จุดเมื่อคืน เป็นผลมาจากความวิตกกังวลภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย โดยเฉพาะความผิดหวังต่อมาตรการสว็อปพันธบัตรของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รวมทั้งวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรปกดดันทางจิตวิทยาการลงทุน ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกเข้าสู่ภาวะหมี [18]
  • 26 กันยายน พ.ศ. 2554 – ดัชนีปิดตลาดที่ระดับ 904.06 จุด ลดลง 54.10 จุด หรือเปลี่ยนแปลง -5.65% มูลค่าการซื้อขาย 47,630.63 ล้านบาท [19] ระหว่างวันมีการร่วงลงอย่างรุนแรงถึง -90.30 จุด และปิดทำการซื้อขายชั่วคราว 5 นาที โดยเหตุผลที่ตลาดหลักทรัพย์ชี้แจงมาจากความผิดพลาดของระบบตลาดเอ็มเอไอ [20]
  • 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - ดัชนีปิดที่ 869.31 ลดลง 46.90จุด หรือ -5.12% เนื่องจากนักลงทุนต่างประเทศถอนทุนเพื่อรับมือวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป
  • 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 – ดัชนีปิดตลาดที่ระดับ 1,643.43 จุด เพิ่มขึ้น 0.03 จุด 0.001% มูลค่าการซื้อขาย 57,451.27 ล้านบาท ทำสถิติสูงสุดในรอบกว่า 19 ปี 4 เดือน[21]
  • 15 ธันวาคม พ.ศ. 2557 – ระหว่างวัน ดัชนีหลักทรัพย์ไทยร่วงลงหนักถึง 138.96 จุด หรือลดลง 9.2% สุดท้ายปิดตลาด ดัชนีอยู่ที่ 1,478.49 จุด ลดลง 36.46 จุด มูลค่าการซื้อขาย 102,662.94 ล้านบาท[22] ด้านพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวหาพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตรเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง[23]
  • 7 มกราคม พ.ศ. 2559 - ดัชนีหลักทรัพย์ไทยร่วงลงหนักถึง 35.21 จุด หรือลดลง 2.79% ดัชนีปิดตลาดที่ 1,224.83 จุด ต่ำสุดในรอบ 2 ปี นับจากวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2557 ซึ่งดัชนีปิดที่ 1,230.84 จุด เนื่องจากได้รับผลกระทบจากตลาดหุ้นจีน ระงับการเทรดหลังใช้เซอร์กิต เบรกเกอร์ในวันที่ 4 มกราคม และ 7 มกราคม[24]
  • 12 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - ดัชนีหลักทรัพย์ไทยปิดที่ 1,404.39 จุด ลดลง 36.03 จุด หรือลดลง 2.5% ตำสุดในรอบ 4 เดือน 27 วัน โดยระหว่างวันดัชนีลดลงสูงสุด 99.08 จุด มูลค่าการซื้อขาย 130,152.19 ล้านบาท (สูงสุดเป็นประวัติการณ์)[25]

พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2569

  • 22 ธันวาคม พ.ศ. 2560 - ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทำสถิติสูงสุดในรอบ 4 ปี 7 เดือน 1 วัน ปรับตัวขึ้น 5.17 จุด ดัชนีปิดตลาดที่ 1,742.08 จุด มูลค่าการซื้อขาย 40,115.86 ล้านบาท นับตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งเป็นวันที่ดัชนีหลักทรัพย์ไทยปิดที่ 1,643.43 จุด โดยเป็นสถิติใหม่สูงสุดในรอบ 23 ปี 11 เดือน 1 วัน
  • 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560 - ในการซื้อขายระหว่างวันดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยพุ่งขึ้นไปถึง 1,763.36 จุด ซึ่งสูงกว่าระดับ 1,753.73 จุด ที่เคยทำสถิติไว้เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2537 ก่อนที่จะถูกแรงเทขายกดดันดัชนีและปิดตลาดที่ระดับ 1,752.89 จุด เพิ่มขึ้น 0.41 จุด มูลค่าการซื้อขาย 61,507.53 ล้านบาท [26]
  • 11 มกราคม พ.ศ. 2561 - ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทำสถิติปิดเหนือระดับ 1,800 จุดได้เป็นครั้งแรก ที่ระดับ 1,802.80 จุด หรือเพิ่มขึ้น 7.88 จุด มูลค่าการซื้อขาย 86,821.50 ล้านบาท ทั้งนี้ในการซื้อขายระหว่างวันดัชนีแตะระดับสูงสุดที่ 1,804.54 จุด และแตะจุดต่ำสุดที่ระดับ 1,786.47 จุด[27]
  • 24 มกราคม พ.ศ. 2561 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทำสถิติใหม่ที่ระดับ 1,838.96 จุด[28] สูงที่สุดในประวัติศาสตร์นับตั้งแต่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดทำการ
  • 29 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ต่ำสุดในรอบ 10 เดือน ปิดที่ 1,595.58 จุด นับจากวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ที่ดัชนีปิดที่ 1,614.14 จุด[29][30]
  • 27 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ปิดที่ 1548.37 จุด ต่ำสุดในรอบ 19 เดือน[31]นับจากวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ที่ตลาดหลักทรัพย์ปิดที่ 1561.66 จุด และ ต่ำสุดในรอบปี พ.ศ. 2561
  • 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมูลค่าการซื้อขาย 204,855.67 ล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์[32]

ใกล้เคียง

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ตลาดหลักทรัพย์อาเซียน ตลาดหลักทรัพย์ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ ตลาดหลักทรัพย์บอมเบย์ ตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ตลาดหลักทรัพย์เกาหลี ตลาดหลักทรัพย์ลาว ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์

แหล่งที่มา

WikiPedia: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/789946 http://econsocials.com/wp-content/uploads/2015/01/... http://www.facebook.com/photo.php?fbid=21287612544... http://www.ryt9.com/s/iq05/727418 http://www.ryt9.com/s/prg/168360 http://www.scbam.com/v2/app/setlist.asp http://stooq.com/q/d/?s=%5Eset&c=0&d1=19891002&d2=... http://www.thaismeplus.com/news-395-%E0%B8%95%E0%B... http://www.thaistockinfo.com/forum2010/f0031a.html