วิดีโอเกม ของ ตะลุยดันเจียน

ครอล ซึ่งเป็นเกมดันเจียนประเภทโรกไลต์

เนื่องจากศักยภาพในความเรียบง่าย และความคาดหวังที่จำกัดที่ผู้เล่นส่วนใหญ่มีต่อโครงเรื่อง รวมถึงความสอดคล้องเชิงตรรกะในการรวบรวมข้อมูลของดันเจียน พวกเขาจึงค่อนข้างนิยมในวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทพอสมควร[ต้องการอ้างอิง] ประเภทโรกไลก์เป็นตัวอย่างที่พบเห็นได้ทั่วไป โดยมีภูมิประเทศของดันเจียนที่มีการสร้างเชิงกระบวนการไม่มีที่สิ้นสุดรวมถึงมอนสเตอร์และสมบัติที่วางแบบสุ่มกระจัดกระจายไปทั่ว

เกมคอมพิวเตอร์และซีรีส์จากคริสต์ทศวรรษ 1980 เช่น วิซเซิร์ดรี, อัลทิมา, เดอะบาดส์เทล, คอสมิกโซลเจอร์, ไมต์แอนด์เมจิก, เมกามิเทนเซย์, แฟนตาซีสตาร์, ดันเจียนมาสเตอร์, มาโดโมโนกาตาริ และกอนต์เล็ต ได้ช่วยกำหนดมาตรฐานของประเภทนี้ ในขณะที่กราฟิกดั้งเดิมนั้นจริง ๆ แล้วเอื้อต่อรูปแบบนี้ เนื่องจากความต้องการกระเบื้องซ้ำ ๆ หรือกราฟิกที่ดูคล้ายกันเพื่อสร้างทางวงกตที่มีประสิทธิภาพ

ตะลุยดันเจียนบางเกมจากยุคนี้ยังใช้การต่อสู้แบบเกมแอ็กชันเล่นตามบทบาท เช่น ดรากอนสเลเยอร์[2] และเดอะทาวเวอร์ออฟดรูอากา[3]

รูปแบบของการอุปมาตะลุยดันเจียนสามารถพบได้ในเกมประเภทอื่น ๆ ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 2010 ความนิยมของเกมประเภทนี้กลับมาอีกเล็กน้อย โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากความสำเร็จของซีรีส์เอเทรียนโอดิสซีย์โดยแอตลัส[4]

ตะลุยดันเจียนมุมมองบุคคลที่หนึ่งของคณะ

ภาพหน้าจอในเกมจากเลเจนด์ออฟกริมร็อค เกมตะลุยดันเจียนมุมมองบุคคลที่หนึ่งตามแผ่นกระเบื้องในรูปแบบของดันเจียนมาสเตอร์[5] ตรงกลางภาพ เป็นมุมมองเข้าไปในดันเจียน ส่วนทางด้านขวา คือรายการสิ่งของแบบเปิดของสมาชิกคณะ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ตะลุยดันเจียน http://www.1up.com/features/what-happened-action-r... http://www.1up.com/previews/tgs-labyrinth-beautifu... http://www.edge-online.com/reviews/legend-grimrock... http://www.hardcoregaming101.net/dragon-slayer/ https://web.archive.org/web/20111128151703/http://... https://web.archive.org/web/20120710085959/http://... https://web.archive.org/web/20181003182911/http://... https://web.archive.org/web/20200110211406/https:/... https://insight.ieeeusa.org/articles/going-rogue-a...