สรรพคุณของตะเคียนทอง ของ ตะเคียน

1. แก่นมีรสขมอมหวาน มีสรรพคุณช่วยแก้โลหิตและกำเดา (แก่น)2. ช่วยคุมธาตุ (เนื้อไม้)[10] ปิดธาตุ (แก่น,ยาง)3. ช่วยแก้ไข้สัมประชวร หรือไข้ที่เกิดมาจากหลายสาเหตุ และมักมีอาการแสดงที่ตา เช่น แดง เหลือง หรือขุ่นคล้ำ เป็นต้น (แก่น)4. แก่นไม้ตะเคียน ใช้ผสมกับยารักษาทางเลือดลม กษัย (แก่น)5. ช่วยแก้อาการลงแดง (เปลือกต้น)6. ช่วยขับเสมหะ (แก่น)7. เปลือกต้นนำมาต้มกับเกลือ ใช้อมช่วยป้องกันฟันหลุด เนื่องจากินยาเข้าปรอท (เปลือกต้น)8. ช่วยแก้อาการปวดฟัน แก้เหงือกบวม (แก่น)9. ช่วยแก้อาการเหงือกอักเสบ (เปลือกต้น)10. ช่วยฆ่าเชื้อโรคในปาก (เปลือกต้น)11. ช่วยแก้บิดมูกเลือด (เปลือกต้น)12. ช่วยแก้อาการท้องร่วง (แก่น,เนื้อไม้)13. ช่วยแก้อาการท้องเสีย (ยาง)14. ช่วยห้ามเลือด (เปลือกต้น,เนื้อไม้)15. ใช้เป็นยาสมานแผล (เปลือกต้น)16. เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำใช้ชะล้างรักษาบาดแผลเรื้อรัง (เปลือกต้น)17. ช่วยแก้อาการอักเสบ (เปลือกต้น,เนื้อไม้)18. ยางใช้ผสมกับน้ำใช้ทารักษาบาดแผล หรือจะทำเป็นยางแห้งบดเป็นผงใช้รักษาบาดแผล 19. เปลือกเนื้อไม้มีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะ ใช้ฆ่าเชื้อโรค (เปลือกต้น,เนื้อไม้)20. ยางจากไม้ตะเคียนเมื่อนำมาบดเป็นผง สามารถใช้เป็นยารักษาช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด เช่น ใช้ทำยาหม่องเพื่อช่วยบรรเทารักษาบาดแผลหรือบริเวณที่มีอาการฟกช้ำตามร่างกาย (ยาง)21. ช่วยรักษาคุดทะราด (แก่น)22. ดอกใช้เข้าในตำรับยาเกสรร้อยแปด ใช้ผสมเป็นยาทิพย์เกสร (ดอก)23. ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของตะเคียนทอง มีข้อมูลระบุว่ามีฤทธิ์แก้แพ้ ต้านเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์