ตัวประมาณค่าแคพแพลน–ไมเยอร์
ตัวประมาณค่าแคพแพลน–ไมเยอร์

ตัวประมาณค่าแคพแพลน–ไมเยอร์

ตัวประมาณค่าแคพแพลน-ไมเยอร์ (อังกฤษ: Kaplan–Meier estimator)[1][2] หรือ ตัวประมาณค่าจำกัดผลลัพธ์ (อังกฤษ: product limit estimator) เป็นสถิติแบบนอน-พาราเมทริกใบ้พื่อประมาณฟังก์ชันการรอดชีวิตจากข้อมูลขณะชีวิต ในการวิจัยทางการแพทย์มักใช้เพื่อวัดสัดส่วนของผู้ป่วยที่จะมีชีวิตอยู่เป็นเวลาช่วงหนึ่งหลังได้รับการรักษา ในสาขาอื่น ๆ อาจยกมาใช้ระยะเวลาของผู้คนที่ว่างงานหลังสูญเสียงาน,[3] ค่าเวลาต่อการล้มเหลว (time-to-failure) ของชิ้นส่วนเครื่องกล หรือระยะเวลาที่ผลไม้จะคงอยู่บนต้นพืชก่อนถูกเด็ดออกโดยสัตว์กินผลไม้ ชื่อของตัวประมาณนี้ตั้งชื่อตาม เอ็ดเวิร์ด แอล แคพแพลน และ พอล ไมเยอร์ ผู้ส่งงานเขียนคล้ายกันให้กับ วารสารสมาคมสถิติอเมริกัน เพื่อตีพิมพ์[4] บรรณาธิการของวารสาร จอห์น ทิวคี ให้สัญญาว่าจะรวมงานของทั้งคู่เข้าด้วยกันเป็นชิ้นเดียว ในปัจจุบันงานชิ้นนี้ถูกอ้างถึงมากกว่า 59,000 ครั้งนับตั้งแต่ตีพิมพ์ในปี 1958[5][6]ตัวประมาณของฟังก์ชันการมีชีวิตรอด S ( t ) {\displaystyle S(t)} (ความน่าจะเป็นที่ชีวิตจะยืนยาวกว่า t {\displaystyle t} ) กำหนดโดย:โดย t i {\displaystyle t_{i}} เป็นเวลาที่อย่างน่อยหนึ่งเหตุการณ์เกิดขึ้น, di เป็น จำนวนเหตุการณ์ (number of events, เช่น แรเสียชีวิต) ที่เกิดขึ้นที่เวลา t i {\displaystyle t_{i}} และ n i {\displaystyle n_{i}} เป็น จำนวนปัจเจกที่รอดชีวิต (individuals known to have survived, คือไม่เกิดเหตุการณ์ หรือถูกนำออกจากการคำนวณ) จนถึงเวลา t i {\displaystyle t_{i}}

ใกล้เคียง

ตัวประมาณค่าแคพแพลน–ไมเยอร์ ตัวประกอบเฉพาะ ตัวประกัน ตัวปรับแต่งเกม ตัวประกอบจีของลันเด ตัวประกอบ ตัวระบุวัตถุดิจิทัล ตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด ตัวกระตุ้น ตัวรับแรงกล

แหล่งที่มา

WikiPedia: ตัวประมาณค่าแคพแพลน–ไมเยอร์ http://stat.ethz.ch/education/semesters/ss2011/sem... http://stat.ethz.ch/education/semesters/ss2011/sem... http://articles.chicagotribune.com/2011-08-18/news... http://www.garfield.library.upenn.edu/classics1983... http://www.cancerguide.org/scurve_km.html //doi.org/10.2307%2F2281868 //doi.org/10.2307%2F2938349 //www.jstor.org/stable/2281868 //www.jstor.org/stable/2938349 http://www.nber.org/papers/w2546.pdf