การนำมาใช้งานแทนแบตเตอรี ของ ตัวเก็บประจุยิ่งยวด

ตัวเก็บประจุยิ่งยวดด้วยแกรฟีน สามารถใช้แทนแบตเตอรีได้เลย เพราะทำงานได้เหมือนแบตเตอรีทุกอย่าง เหมาะสำหรับ งานที่ต้องใช้กระแสสูง และชาร์จไฟได้เร็ว และชาร์จบ่อยๆ ตัวประจุไฟฟ้ายิ่งยวด จะมีความต้านทานเสมือนต่ำมาก เพียงประมาณ 0.7 มิลลิโอห์มเท่านั้น เมื่อต้องปล่อยประจุ ออกมาครั้งละมากๆ เกิดความร้อนน้อย ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ แต่แบตเตอรีทั่วไป มีดวามต้านทานเสมือนภายในสูง ถึง 120 มิลลิโอห์ม ถ้าต้องคายประจุมากๆในครั้งเดียว อาจเกิดความร้อนสูง เป็นอันตรายได้ ตัวเก็บประจุยิ่งยวด สามารถใช้ไฟชาร์จเท่ากับความสามารถในการเก็บประจุได้เลย เช่น ตัวอย่าง supercapacitor ขนาด 2600 F 2.5V ความจุ 4300W/kg น้ำหนัก 525 กรัม กระแสสามารถคำนวณได้ดังนี้

พลังงาน = 0.5*C*V^2 = 0.5x2600x2.5^2 = 8.125 KJ3.6 KJ = 1 KW8.125 KJ = 2.25 KW  กระแส = W/V = 2.25x10^3/2.5 = 900Asafety factor 40%

ดังนั้น กระแสสูงสุดที่ supercapacitor ตัวนี้รับได้ เท่ากับ 600 แอมป์ ถ้าเรามี charger ขนาด 2.5 V 600 A ตามทฤษฎีแล้ว สามารถชาร์จเข้าไปได้เลย ไม่ต้องค่อยๆชาร์จทีละ 5-10% เข้าไป อายุการใช้งาน อาจได้ถึง 20,000 ครั้ง เนื่องจาก สารที่ใช้ทำตัวประจุยิ่งยวด มึความแข็งแกร่งที่สุดในโลก ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงเหมาะกับนำไปใช้กับรถไฟฟ้า เพราะสามารถเติมไฟตามปั้มใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีก็เต็ม

ตัวประจุยิ่งยวด สามารถทำงานได้ในอุณหภูมิปกติ ไม่มีปัญหาเรื่องแบตเตอรีเอฟเฟค ไม่ต้องคอยเติมน้ำกลั่น เมื่อหมดอายุ สามารถนำไปเป็นปุ๋ยได้ ไม่มีปัญหากับสิ่งแวดล้อม

การทำงาน(ข้อมูลปี 2010)ตัวเก็บประจุยิ่งยวดลิเทียม ไอออน แบตเตอรี
เวลาประจุเข้า1-10 วินาที10-60 นาที
จำนวนครั้งประจุเข้า20,0001,000
รอบการใช้งาน30,000 ชม.>500 ชม.
เซลล์โวลเทจ2.3-2.75 V3.6-3.7 V
พลังงาน(Wh/kg)5100-200
กำลังงาน(W/kg)สูงถึง 10,0001,000-3,000
ราคา/Wh600 บาท15-30 บาท
อายุการใช้งาน10-15 ปี5-10 ปี
อุณหภูมิที่ประจุไฟเข้า-40-65° C0-45° C
อุณหภูมิที่ปล่อยประจุไฟออก-40-65° C-20-60ยุด° C