ตัวเรียงกระแสแบบไอปรอท
ตัวเรียงกระแสแบบไอปรอท

ตัวเรียงกระแสแบบไอปรอท

ตัวเรียงกระแสแบบไอปรอท (อังกฤษ: mercury-vapor rectifier) หรือ วาล์วปรอทประกายไฟโค้ง (อังกฤษ: mercury-arc valve) หรือ (สหราชอาณาจักร) ตัวเรียงกระแสแบบปรอทประกายไฟโค้ง (อังกฤษ: mercury-arc rectifier)[1][2] เป็น ตัวเรียงกระแส ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับการแปลง กระแสสลับ (AC) ที่มี แรงดัน สูงหรือ กระแส สูง ให้เป็น กระแสตรง (DC) มันเป็น หลอดเติมก็าซ (อังกฤษ: gas-filled tube) แบบ แคโทดเย็น (อังกฤษ: cold cathode) ประเภทหนึ่ง แต่มันไม่ปกติตรงที่ว่าแคโทดแทนที่จะเป็นของแข็ง มันกลับทำจากปรอทเหลว ดังนั้นมันจึงฟื้นฟูตัวเองได้ ผลก็คือตัวเรียงกระแสแบบไอปรอทจะแข็งแรงทนทานได้มากกว่าและใช้งานได้ยาวนานมากกว่า และมันยังสามารถรองรับกระแสได้สูงกว่าหลอดปล่อยก๊าซชนิดอื่น ๆ ส่วนใหญ่ได้รับการคิดค้นในปี 1902 โดย ปีเตอร์ คูเปอร์ เฮวิตต์ วงจรเรียงกระแสไอปรอทจะถูกใช้เพื่อให้พลังงานสำหรับมอเตอร์อุตสาหกรรม รถไฟฟ้าระบบราง รถราง และหัวรถจักรไฟฟ้า รวมทั้งเครื่องส่งสัญญาณวิทยุและ ระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูง (HVDC) พวกมันเป็นวิธีการขั้นแรกของการเรียงกระแสพลังงานสูงก่อนการถือกำเนิดของวงจรเรียงกระแสด้วย สารกึ่งตัวนำ เช่น ไดโอด, ทายริสเตอร์ และ ทายริสเตอร์แบบปิดด้วยประตู (อังกฤษ: gate turn-off thyristor (GTO)) ในทศวรรษที่ 1970

ใกล้เคียง