ประวัติการสร้าง ของ ตาลิส

style="padding:5px; text-align:center; vertical-align:center;
  1. FFFFFF" | เส้นทางรถไฟตาลิส
อัมสเตอร์ดัมเซ็นทรัลอัมสเตอร์ดัม
ท่าอากาศยานอัมสเตอร์ดัมสคิพฮ็อล
รอตเทอร์ดัมเซ็นทรัลรอตเทอร์ดัม
พรมแดนเนเธอร์แลนด์-เบลเยียม
แอนต์เวิร์ปแอนต์เวิร์ป
โอสเทนเดอออสเทนด์
บรูชบรูช
เกนต์ซินท์พีเทอร์เกนต์
เอสเซินเซ็นทรัลเอสเซิน
ดุยส์บูร์กเซ็นทรัลดุยส์บูร์ก
ท่าอากาศยานดึสเซลดอร์ฟ
ดึสเซลดอร์ฟเซ็นทรัลดึสเซลดอร์ฟ
โคโลญเซ็นทรัลโคโลญ
อาเคินเซ็นทรัลอาเคิน
พรมแดนเยอรมนี-เบลเยียม
ลีแยฌ-กีย์แม็งลีแยฌ
ท่าอากาศยานนานาชาติบรัสเซลส์
บรัสเซลส์เซาท์บรัสเซลส์
นามูร์นามูร์
ชาร์เลอรัวเซาท์ชาร์เลอรัว
มงส์มงส์
พรมแดนเบลเยียม-ฝรั่งเศส
ปารีนอร์ปารีส
ตาลิสแนฌ เปิดบริการฤดูหนาว 
ตาลิสซอแลย์ เปิดบริการฤดูร้อน 

การตัดสินใจก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงระหว่างปารีส บรัสเซลส์ โคโลญ และอัมสเตอร์ดัม เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1993 เมื่อบริษัททางรถไฟแห่งชาติฝรั่งเศส (SNCF), การรถไฟแห่งชาติเบลเยียม (NMBS/SNCB), การรถไฟเนเธอร์แลนด์ (Nederlandse Spoorwegen) และบริษัทรถไฟแห่งชาติเยอรมนี (Deutsche Bahn) ได้ทำข้อตกลงที่จะให้บริการรถไฟความเร็วสูงร่วมกันในชื่อ ตาลิส[1]ปี ค.ศ. 1995 ได้มีการจัดตั้งบริษัท Westrail International โดยบริษัททางรถไฟแห่งชาติฝรั่งเศสร่วมกันกับการรถไฟแห่งชาติเบลเยียมให้เป็นผู้ดูแลและให้บริการรถไฟตาลิส และเริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ขบวนรถขบวนแรกวิ่งออกจากปารีสโดยใช้รางสายความเร็วสูงตอนเหนือ (LGV Nord) ของฝรั่งเศสไปถึงกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 7 นาที และถึงสถานีอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ใช้เวลา 4 ชั่วโมง 47 นาที[2]

ปี ค.ศ. 1997 เส้นทางรถไฟความเร็วสูง สาย 1 (Hight-Speed line 1) ของเบลเยียม ซึ่งเป็นระบบรางที่เชื่อมต่อระหว่างบรัสเซลส์กับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงตอนเหนือของฝรั่งเศสได้เปิดให้บริการด้วยระบบของรางเส้นทางรถไฟความเร็วสูง สาย 1 ที่อนุญาตให้รถไฟวิ่งได้ 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้ย่นระยะเวลาการเดินทางจากปารีสถึงบรัสเซลส์เหลือ 1 ชั่วโมง 25 นาที ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันนั่นก็ได้เปิดให้บริการไปยังโคโลญ ในเยอรมนี, บรูช, ชาร์เลอรัว, เกนต์, มงส์, นามูร์ และออสเทนด์ในเบลเยียม

ปี ค.ศ. 1999 ได้เปิดให้บริการจากท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล ตรงไปยังบรัสเซลส์ รวมถึงได้มีการทำ Code sharing กับสายการบินแอร์ฟรานซ์, อเมริกัน แอร์ไลน์ และสายการบินนอร์ทเวสต์แอร์ไลน์ และในปีเดียวกันนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็น ตาลิสแอ็งแตร์นาซียอนาล

ปี ค.ศ. 2002 ได้ขยายการให้บริการไปถึงเมืองมาร์แซย์และอาวีญงในประเทศฝรั่งเศส ในเดือนธันวาคมปีเดียวกันนั้น เส้นทางรถไฟความเร็วสูง สาย 2 ของเบลเยียมได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ ทำให้ขบวนรถระหว่างบรัสเซลส์กับโคโลญได้เปลี่ยนไปใช้เส้นทางนี้แทน

ปี ค.ศ. 2003 เปิดให้บริการไปยังท่าอากาศยานนานาชาติบรัสเซลส์

ปี ค.ศ 2007 การก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูง สาย 3 ช่วงระหว่างเมืองลีแยฌในเบลเยียมกับเมืองอาเคินในเยอรมนีแล้วเสร็จ แต่ขบวนรถตาลิสยังไม่รองรับกับระบบให้สัญญาณ ETCS (European Train Control System)

ปี ค.ศ. 2009 หลังจากปรับปรุงระบบรับสัญญานและทดสอบระบบให้เข้ากับ ETCS แล้ว ขบวนรถไฟตาลิสก็วิ่งอย่างสมบูรณ์แบบบนรางรถไฟความเร็วสูง สาย 3 ทำให้ขบวนรถระหว่างบรัสเซลส์กับโคโลญย่นระยะเวลาเดินทางอีก 19 นาที และในปีเดียวกันนี้รถไฟตาลิส ก็ได้เริ่มให้บริการบนรางรถไฟความเร็วสูง สาย 4 หรือรถไฟความเร็วสูง สายใต้ ซึ่งเป็นรางระหว่างเมืองแอนต์เวิร์ปกับอัมสเตอร์ดัมตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2011 เป็นต้นมาขบวนรถเดิมที่วิ่งระหว่างบรัสเซลส์กับโคโลญ ได้วิ่งไปถึงเมืองดุยส์บูร์กและเอสเซินในเยอรมนี[3]และวิ่งถึงท่าอากาศยานนานาชาติบรัสเซลส์ในเบลเยียม[4]ปี ค.ศ. 2013 เริ่มให้บริการที่สถานีท่าอากาศยานดึสเซลดอร์ฟ[5]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ตาลิส http://www.lalibre.be/economie/actualite/article/6... http://www.railwaygazette.com/nc/news/single-view/... http://www.thalys.com http://www.thalys.com/de/en/about-thalys/history http://www.thalystory.com/en/story/periode.html?da... http://in.news.yahoo.com/jet-airways-forms-air-rai... http://www.derwesten.de/nachrichten/im-westen/Thal... http://pagesperso-orange.fr/actgv/technique/tgv-po... http://www.railfaneurope.net/list/germany/germany_... http://www.ivw.nl/actueel/nieuws/treinbotsinggouda...