ความสัมพันธ์ทางวรรณกรรม ของ ตำนานคนตัดไผ่

เนื้อหาของตำนานมาจากเรื่องราวที่เล่าขานกันมาก่อนหน้าที่จะเขียนเป็นเรื่องราวขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ชื่อตัวเอกของเรื่อง--ตะเกะโตริ โนะ โอะกินะ--ปรากฏในกวีนิพนธ์ชุด (ญี่ปุ่น: 万葉集 โรมาจิman'yōshū ทับศัพท์“รวมโคลงหนึ่งพันใบ (ไม้) ”) ที่รวบรวมขึ้นราว ค.ศ. 759 (โคลง # 3791) ในสมัยนาระ ในโคลงนี้ตะเกะโตริ โนะ โอะกินะพบกลุ่มสตรีที่ขับกลอนให้ฟัง ซึ่งทำให้สันนิษฐานได้ว่าเรื่องราวเกี่ยวกับคนตัดไผ่และสตรีลึกลับเป็นเรื่องราวที่เล่าขานกันมาก่อนหน้านั้น[5][6]

การเอาเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ก็มาเกิดขึ้นอีกในราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 ใน (ญี่ปุ่น: 今昔物語集 โรมาจิKonjaku Monogatarishū ทับศัพท์ หรือ “ประชุมบทนิพนธ์จากอดีต”) (เล่มที่ 31, บทที่ 33) แต่ความเกี่ยวข้องกับตำนานยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่[7]

นอกจากนั้นก็ยังมีผู้เสนอว่า “ตำนานคนตัดไผ่” เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ “ทะเลสาบหงส์ขาว” (Swan Lake) ที่เขียนโดยปีเตอร์ อิลิช ไชคอฟสกีด้วย[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งอาจจะมาจากการที่คะงุยะ-ฮิเมะสวม “hagoromo” (羽衣 หรือ “เสื้อคลุมขนนก”) เมื่อพร้อมที่จะเดินทางกลับจันทรประเทศ แต่ฮะโกะโระโมะเกี่ยวข้องมากกว่ากับตำนานที่เรียกว่า “hagoromo densetsu” เช่นในเรื่องที่บันทึกใน “Ohmi-no-kuni Fudo ki” ที่เป็นเรื่องของชายผู้ที่สอนสุนัขให้ขโมยเสื้อคลุมขนนกของนางฟ้าแปดองค์ขณะที่กำลังสรงน้ำ ซึ่งทำให้องค์หนึ่งต้องตกไปเป็นภรรยา เรื่องหลังนี้มีความคล้ายคลึงกันมากกับตำนานเยอรมันที่ “โวลันเดอร์ช่างเหล็ก” (Völundr หรือ Wayland the Smith) และน้องชายที่แต่งงานกับนางหงส์ นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีความคล้ายคลึงเป็นอันมากกับเรื่อง “พระสุธน-มโนราห์” ที่ตัวเอกของเรื่องเป็นนางกินรีที่ถอดปีกถอดหางลงเล่นน้ำเมื่อถูกจับ จนต้องกลายมาเป็นพระมเหสีของพระสุธน

Banzhu Guniang

เมื่อหนังสือ “Jinyu Fenghuang” (金玉凤凰) ซึ่งเป็นหนังสือจีนเกี่ยวกับตำนานทิเบตได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1957[8]เมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 นักค้นคว้าวรรณกรรมญี่ปุ่นพบว่า “Banzhu Guniang” (班竹姑娘) ซึ่งเป็นตำนานเรื่องหนึ่งในหนังสือที่ว่ามีความคล้ายคลึงกับ “ตำนานคนตัดไผ่”[9][10] แต่นักค้นคว้าบางคนก็ไม่เห็นด้วยว่ามีความละม้ายคล้ายคลึงกันจริง

แต่การศึกษาเรื่องนี้ในคริสต์ทศวรรษ 1980 พบว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวมิใช่ความสัมพันธ์กันอย่างง่าย ๆ ตามที่เชื่อกันมาแต่เดิม โอะกุสึ (Okutsu) [11] ให้คำอธิบายอย่างยืดยาวถึงการค้นคว้าและให้ความเห็นว่าหนังสือ “Jinyu Fenghuang” เป็นหนังสือที่เขียนสำหรับเด็ก ฉะนั้นบรรณาธิการก็อาจจะถือโอกาสปรับให้เหมาะสมกับผู้อ่าน นอกจากนั้นแล้วหนังสือรวมตำนานทิเบตเล่มอื่นก็ไม่มีเรื่องใดที่คล้ายคลึงกับ “ตำนานคนตัดไผ่”[11]

ชาวทิเบตเองที่เกิดในทิเบตก็เขียนว่าไม่ทราบว่าเรื่องราวของคนตัดไผ่[12] นักค้นคว้าผู้เดินทางไปเสฉวนพบว่านอกไปจากผู้ที่อ่าน “Jinyu Fenghuang” แล้ว นักค้นคว้าท้องถิ่นในเฉิงตูก็ไม่มีผู้ใดทราบเรื่องคนตัดไผ่[13] และชาวทิเบตในเขตปกครองตนเองทิเบตและเชียง งาวา ก็ไม่มีผู้ใดทราบเรื่องเช่นกัน[13]

ใกล้เคียง

ตำนาน ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตำนานเก็นจิ ตำนานวีรบุรุษกาแล็กซี ตำนานไซอิ๋วฉบับเกาหลี ตำนานนางพญางูขาว ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี ตำนานเจ้าหญิงไม้ไผ่จากดวงจันทร์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี ตำนานแห่งซิลมาริล