ชีวิตของนักบญ ของ ตำนานทอง

หนังสือรวบรวมมาจากตำนานที่เกี่ยวกับนักบุญที่เป็นที่นิยมสักการะกันในขณะสมัยที่ทำการรวบรวม จาโคบัส เดอ โวราจิเน มักจะเริ่มเรื่องโดยกล่าวถึงที่มาของชื่อนักบุญที่ออกทางจินตนาการ ซึ่งจะเห็นจากตัวอย่างที่แค็กซ์ตันแปล

สมเด็จพระสันตะปาปาซิลเวสเตอร์ที่ 1 ตรัสว่าเป็น “sile” “sol” ซึ่งคือ “แสง”, และเป็น “terra” ซึ่งคือ “ดิน”, ซึ่งเป็นแสงสว่างของโลก, ซึ่งเป็นแสงสว่างของสถาบันศาสนา. หรือ ซิลเวสเตอร์เป็น “silvas” และ “trahens” ซึ่งหมายความว่าเป็นผู้สามารถเปลี่ยนคนที่ยากต่อการเปลี่ยนให้มามีความเลื่อมใส. หรือเป็น “in glossario” ซิลเวสเตอร์หมายถึง เขียว ที่เรียกว่าเป็นผู้มีสติปัญญา, เขียวในความเคร่งครัดในทางศาสนา, และเป็นผู้ทำงานที่ใช้แรงงานหนักด้วยตนเอง; เป็น “umbrous” หรือ “shadowous” ที่หมายความว่าเป็นผู้หุ้มห่อตัวด้วยความเย็นจากตัณหาทางร่างกาย, เต็มไปด้วยกิ่งก้านสาขาเช่นต้นไม้แห่งสรวงสวรรค์

โวราจิเนผู้เป็นนักประพันธ์ภาษาละตินก็น่าจะทราบว่า “ซิลเวสเตอร์” เป็นชื่อพื้นๆ ที่ใช้กันแพร่หลายซึ่งมีความหมายง่ายๆ เพียงว่า “มาจากป่า” ซึ่งโวราจิเนก็กล่าวไว้บ้างแต่ขยายความจนนักภาษาศาสตร์เห็นว่าเป็นการตีความที่เลิศลอยและเกินเลยไปจากรากศัพท์เดิมของคำเป็นอันมาก แม้ว่าการใช้คำว่า “silvas” และ “forest” ของโวราจิเนจะถูกต้อง ตามที่ตีความหมายว่าเป็นกิ่งไม้ แต่เป็นการตีความหมายแบบอุปมานิทัศน์มิใช่การตีความหมายของที่มาของคำ การใช้ที่มาของคำเช่นที่จาโคบัส เดอ โวราจิเนใช้เป็นการใช้อย่างมีจุดประสงค์ที่แตกต่างจากศัพทมูลวิทยาในปัจจุบัน ซึ่งไม่อาจจะเอามาตีคุณค่าโดยใช้มาตรฐานปัจจุบันเป็นกำหนดได้ การใช้ที่มาของคำในลักษณะนี้ของจาโคบัส เดอ โวราจิเนคล้ายคลึงกับคำอธิบายในหนังสือ “ศัพทมูลวิทยา” (Etymologiae) ที่นักบุญอิซิโดโรแห่งเซบิยาเขียนเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7 ที่กล่าวว่าความหมายของที่มาของคำในทางภาษาศาสตร์เป็นสิ่งที่ต้องแยกจากการบรรยายที่มาของคำในการใช้สำหรับ “สัญลักษณ์แฝงคติ”