งานสร้างภาพยนตร์ ของ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

บทความนี้อาจต้องการพิสูจน์อักษร ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้

ภาพยนตร์เรื่องนี้มีความยิ่งใหญ่อลังการ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ามีหลายด้านที่เป็นการปฏิวัติ วงการภาพยนตร์ไทย ได้แก่

  • ด้านเทคนิค ทั้งเทคนิคในการถ่ายทำและตัดต่อ การใช้ visual effect, special effect รวมถึงการทำ computer graphic ซึ่งมี supervisor จากต่างประเทศที่มีผลงานจาก ภาพยนตร์ระดับโลกของ Hollywood มาร่วมงาน
  • ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ เช่น Spider Cam ที่ท่านมุ้ยปรับประยุกต์ให้สามารถใช้งานได้ในรูปแบบเดียวกันกับของต่างประเทศ แต่มีต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างกันหลายเท่าตัว
  • ด้าน Production มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการสร้างฉากและอุปกรณ์ประกอบฉาก, เครื่องประดับตกแต่ง รวมทั้งเครื่องใช้เบ็ดเตล็ดต่างๆ โดยใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีในรูปแบบเดียวกันกับที่ใช้ใน ภาพยนตร์ไตรภาคเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ จาก WETA ประเทศนิวซีแลนด์ (ของ Peter Jackson – ผู้กำกับ) ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย เวลา และ แรงงานได้เป็นอย่างมาก ผลงานที่ผลิตออกมามีรายละเอียดที่ประณีต เหมือนจริง และในภาคที่ห้าได้มีการมิกซ์เสียงในรูปแบบ ดอลบี้ แอทมอส (Dolby Atmos) เป็นครั้งแรกของวงการภาพยนตร์ในประเทศไทย ซึ่งลิขสิทธิ์ในการทำภาพยนตร์ระบบเสียงนี้ใช้ทุนในการดำเนินการสูงมาก และมีสตูดิโอที่สามารถมิกซ์เสียงได้เพียงแค่ไม่กี่แห่งในประเทศ ซึ่งถือเป็นผลพลอยได้จากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2554 ที่ทำให้ฟิล์มต้นฉบับเสียหายทั้งหมด จนต้องดำเนินการถ่ายทำใหม่ตั้งแต่ต้น
  • ม้าศึก ม้าศึกประมาณ 30 ตัวที่ใช้ในเรื่องนี้นำเข้าจากต่างประเทศ (ออสเตรเลีย) โดยเป็นม้าที่ ได้รับการฝึกสำหรับการแสดงโดยเฉพาะ มีความสามารถพิเศษ เช่น เป็นม้าล้มและมีขนาดเหมาะสม โดยบางส่วนเป็นม้าที่แสดงในเรื่อง The Last Samurai

หากเทียบกับภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท ท่านมุ้ยได้วางเป้าหมายเรื่องนี้ไว้ว่าจะต้องทำให้ดีกว่าสุริโยไทใน ทุกด้าน โดยมี scope ของการทำงานใหญ่กว่า,ฉากต่างๆ มีความยิ่งใหญ่อลังการกว่า, นักแสดงหลักและนักแสดงประกอบมีจำนวนมากกว่าและใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีต่างๆ มากกว่า

ในครั้งแรก ท่านมุ้ยได้มีความตั้งใจจะสร้างภาพยนตร์ชุดนี้เป็นภาพยนตร์ไตรภาค หรือ 3 ภาคเท่านั้น ซึ่งถ้าหากเป็นเช่นนั้นก็จะถือว่าเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกด้วยที่มีด้วยกันทั้งหมด 3 ภาค แต่เมื่อสร้างไปแล้วได้เกิดการขยายขึ้นเป็น 6 ภาค โดยเริ่มงานสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 หลังจากที่สุริโยไทได้เข้าฉายทันที รวมระยะเวลาตั้งแต่เริ่มสร้างจนถึงภาคสุดท้ายออกฉายถึง 13 ปี ด้วยกัน และความตั้งใจแรกท่านมุ้ยต้องการที่จะให้ชื่อในแต่ละภาคว่า ภาคแรก สูญสิ้นอิสรภาพ, ภาคสอง อิสรภาพนั้น ยากยิ่งที่จะได้มา และภาคสาม ยากยิ่งกว่าที่จะรักษาไว้[1]

อีกทั้งภาพยนตร์ชุดนี้ อาจถือได้ว่าเป็นภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่เรื่องสุดท้ายที่มีถ่ายทำด้วยฟิล์ม[6]

ต่อมา หลังการฉายภาค 5 แล้ว ท่านมุ้ยไม่พอใจในฉากจบ จึงมีการสร้างภาคต่อเป็นภาค 6 อันเป็นภาคอวสาน[2]

ใกล้เคียง

ตำนาน ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตำนานเก็นจิ ตำนานวีรบุรุษกาแล็กซี ตำนานนางพญางูขาว ตำนานไซอิ๋วฉบับเกาหลี ตำนานเจ้าหญิงไม้ไผ่จากดวงจันทร์ ตำนานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ตำนานแห่งซิลมาริล ตำนานคธูลู

แหล่งที่มา

WikiPedia: ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช http://www.bewblue.com/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1... http://www.imdb.com/title/tttt0817940/ http://www.kingnaresuanmovie.com/movie_tips_thai.p... http://www.kingnaresuanmovie.com/news_item_001_tha... http://www.naresuan.com/ http://tv.ohozaa.com/hourly-rerun/5/2014-05-23/23/ http://movie.sanook.com/15603/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E... http://movie.sanook.com/17882/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E... http://www.shopat7.com/Tiptricks/%E0%B8%A0%E0%B8%B... http://www.siamzone.com/movie/news/?id=3791