ประวัติศาสตร์ ของ ตำบล_(ประเทศไทย)

การปกครองในระดับตำบลนี้มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ครั้งหนึ่งเคยเป็นเขตการปกครองระดับสองในพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การบริหารโดยเมืองในส่วนภูมิภาคในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้ว่าราชการจังหวัดมักจะได้รับการแต่งตั้งเป็นกำนันหรือพัน (commune elder) คำว่า "พัน" ที่หมายถึงจำนวนนั้น หมายถึงข้อเท็จจริงที่ว่าตำบลหนึ่ง ๆ ควรจะมีชายฉกรรจ์ราว 1,000 คน นอกจากนี้คำว่าพันยังถูกใช้เป็นยศทางทหารสำหรับผู้ปกครองตำบล

ในการปฏิรูปการปกครองซึ่งเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2435 โดย กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยพระองค์แรกของไทย การแบ่งเขตการปกครองจังหวัดออกเป็นสามระดับยังคงดำเนินต่อไป การปกครองทั้งสามระดับนั้นได้แก่ อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน

ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 การปกครองระดับตำบลได้กระจายอำนาจไปสู่หน่วยการปกครองท้องถิ่นซึ่งมีสภาตำบลที่ได้รับการเลือกตั้ง ขึ้นอยู่กับขนาดและรายได้จากภาษี ตำบลอาจอยู่ภายใต้การบริหารจัดการโดยองค์การบริหารส่วนตำบลหรือสภาตำบลก็ได้ องค์การบริหารส่วนตำบลและสภาตำบลนี้ประกอบด้วยผู้แทนสองคนจากแต่ละหมู่บ้านในตำบลนั้น ในบรรดาผู้แทนนั้นจะมีการเลือกประธาน ผู้ซึ่งในทางปฏิบัติแล้ว ประธานคนนี้มักจะเป็นกำนันของตำบลนั้น พื้นที่ตำบลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทศบาลจะอยู่ภายใต้การบริหารจัดการโดยสภาเมือง ในกรณีที่มีบางส่วนเท่านั้นที่อยู่ในเขตเทศบาล ส่วนที่เหลือจะอยู่ภายใต้การบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบล ตำบลที่ติดกันในอำเภอเดียวกันจะมีองค์การบริหารส่วนตำบลร่วมรับผิดชอบมากกว่าหนึ่งตำบลก็ได้

ใกล้เคียง

ตำบล ตำบลหนองสามวัง ตำบลคุ้งตะเภา ตำบลบางแก้ว (อำเภอบ้านแหลม) ตำบลบัวงาม (อำเภอเดชอุดม) ตำบลบ้านสวน (อำเภอเมืองสุโขทัย) ตำบลบางตะบูน ตำบลศาลากลาง ตำบลนาป่า (อำเภอเมืองชลบุรี) ตำบลท่าสายลวด