ชื่อตำบล ของ ตำบลท่าสายลวด

มีหลักฐานว่าเมื่อ 150 ปีที่ผ่านมา บริเวณที่ตั้งตำบลท่าสายลวด ปัจจุบันนี้ยังมีสภาพป่ารกทึบ ติดกับฝั่งแม่น้ำเมย และไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ จนกระทั่งมีกลุ่มคนไทยซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานว่าอพยพมาตั้งหลักฐานอยู่บริเวณบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเมยเมื่อใด โดยการปลูกไร่อ้อยและยาสูบ ต่อมาไม่นานก็มีการขยายตัวของหมู่บ้าน ประกอบกับบริเวณหมู่บ้านริมฝั่งแม่น้ำเมยมีการติดตั้งสายโทรเลขจากเมืองกรุกกริก ฝั่งประเทศพม่า ถึงประเทศไทย ผ่านอำเภอแม่สอดจนถึงตัวจังหวัดตาก เป็นความร่วมมือระหว่างไทย-อังกฤษ และในแนวที่สายโทรเลขพาดผ่านนั้นจะมีการทางเดินเท้าติดตามตลอดจนถึงตัวเมืองแม่สอด เส้นทางนี้มีความสำคัญสำหรับชาวบ้านในบริเวณนี้ ซึ่งใช้เป็นเส้นทางคมนาคมและมีการสร้างวัดใกล้ท่าน้ำ และท่าข้ามเรือบริเวณที่มีสายโทรเลขผ่านจึงเรียกว่า "วัดท่าสายโทรเลข" ต่อมามีหมู่บ้านเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และเกิดการรวมตัวกันเรียกชื่อใหม่ว่า "หมู่บ้านท่าสายลวด" มาจนถึงปัจจุบัน

จากชื่อ "ท่าสายลวด" พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

  • ท่า
    • ท่า 1 (น.) ฝั่งน้ำสำหรับขึ้นลงหรือจอดเรือ, ท่าน้ำ ก็เรียก, ที่สำหรับขึ้นลงริมน้ำ เช่น ท่าข้าม; โดยปริยายหมายถึงที่จอดยานพาหนะบางชนิด เช่น ท่าเกวียน ท่าอากาศยาน; เรียกน้ำในแม่น้ำลำคลองว่า น้ำท่า, คู่กับ น้ำฝน.
    • ท่า 2 (น.) ลักษณะท่วงทีของร่างกายที่อยู่นิ่ง ๆ ในบางอิริยาบถ เช่น ท่ายืน ท่านั่ง ท่านอน; การแสดงกิริยายกมือยกเท้าเป็นต้นตามกำหนดเป็นวิธีไว้ เช่น ท่ามวย ท่ารำ; ชั้นเชิง, ท่วงที, วิธี, เช่น พลาดท่า ได้ท่าเสียท่า.
    • ท่า 3 (ก.) รอคอย เช่น เหตุไฉนรีบมาไม่ท่ากัน. (อิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับคอย หรือ รอ เป็น คอยท่า รอท่า.
  • สาย
    • สาย 1 (น.) เวลาระหว่างเช้ากับเที่ยงประมาณ 9.00 น. ถึง 10.00 น. เช่น พอสายก็ออกเดินทาง. ว. ช้ากว่าเวลาที่กำหนด, ล่าช้า, เช่น มาทำงานสาย, โดยปริยายหมายความว่า พ้นเวลาที่จะแก้ไข, สุดที่จะแก้ไขได้ เช่น เรื่องนี้ทำอะไรไม่ได้ สายเกินไปเสียแล้ว.
    • สาย 2 (น.) สิ่งที่มีลักษณะเป็นเส้นเป็นแนวยาว เช่น สายสร้อย สายไฟฟ้า สายรุ้ง สายนาฬิกา สายเข็มขัด, ทาง, เส้นทาง, เช่น รถไฟสายเหนือ รถไฟสายใต้, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สายการบิน สายการเดินเรือ สายงาน; ญาติที่สืบมาจากต้นวงศ์หรือต้นสกุลเดียวกัน แล้วแยกเป็นสกุลย่อยออกไป; ผู้เข้าไปสืบความลับหรือความเคลื่อนไหวเป็นต้นของอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น ระวังคนใช้เป็นสายให้โจร; ลักษณนามเรียกสิ่งที่เป็นแนวหรือเส้นยาวว่า สาย เช่น สายสะพาย ๒ สาย ทาง ๓ สาย.
  • ลวด
    • ลวด (น.) สิ่งที่ทำเป็นเส้นยาว ๆ เช่น ลวดหนัง คือ แผ่นหนังที่เอามาทำเป็นเส้นยาว ๆ, โลหะที่เอามารีดเป็นเส้นเช่นนั้นก็เรียกว่า ลวด เช่น ลวด สังกะสี ลวดทองแดง, โดยมากมักเรียกสั้น ๆ ว่า ลวด; เรียกสิ่งที่ทำด้วยลวด โลหะคล้ายสิ่งทอ ใช้กันยุงต่างมุ้ง ว่า มุ้งลวด; เรียกเครื่องปูลาดสำหรับรองนั่ง ทำด้วยต้นกก ทอเป็นผืน หน้ากว้างประมาณ 1 เมตร ความยาวไม่จำกัด นิยมใช้ตามวัด ว่า เสื่อลวด; ลายที่ลอกเป็นเส้นกลมยาวไปตามขอบตัวไม้ต่าง ๆ, เรียกสิ่งที่นูนขึ้นซึ่งมีลักษณะคล้ายลวด เช่นลวดปากปลา. (โบ) ว. เลย.

ใกล้เคียง

ตำบลท่าสายลวด ตำบลทุ่งมน (อำเภอปราสาท) ตำบลท่าเรือ (อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช) ตำบลท่างิ้ว (อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช) ตำบลท่าตูม (อำเภอศรีมหาโพธิ) ตำบลท่ากระดาน (อำเภอศรีสวัสดิ์) ตำบลท่าทอง (อำเภอเมืองพิษณุโลก) ตำบลท่าศาลา (อำเภอเมืองเชียงใหม่) ตำบลทับยา ตำบลท่าซัก