ความสำคัญทางระบบนิเวศ ของ ตุ่นปากเป็ด

ตุ่นปากเป็ดเป็นสัตว์ที่ออกหากินตอนกลางคืน แม้ตุ่นปากเป็ดจะเกิดและอาศัยอยู่บนบก แต่หากินและใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในน้ำตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป เช่น ลำธาร แม่น้ำ ทะเลสาบ ด้วยลำตัวที่เพรียว เท้ามีพังผืด ทำให้ตุ่นปากเป็ดว่ายน้ำและดำน้ำได้ดีมาก ขณะดำน้ำหาอาหารมันจะส่ายปากไปมา เพื่อให้หน่วยรับสัมผัสประจุไฟฟ้าและอื่น ๆ ตรวจจับเต็มที่ เมื่อเจอเหยื่อ ตุ่นปากเป็ดจะกลั้วน้ำที่มีสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเล็ก ๆ จำพวกกุ้งฝอย กุ้งนาง หนอนต่าง ๆ หอยตัวเล็ก ๆ และแมลงน้ำอื่น ๆ ลงในคอ กรองเอาเหยื่อเหล่านี้เก็บไว้ในกระพุ้งแก้ม บางครั้งตุ่นปากเป็ดจะเก็บเหยื่อไว้จนเต็มกระพุ้งแก้ม แล้วจึงว่ายขึ้นไปนอนเคี้ยว (บด) อาหารที่ผิวน้ำ จึงถือได้ว่าเป็นผู้ล่าที่ช่วยควบคุมขนาดประชากรสัตว์ดังกล่าว เพราะถ้ามีมากเกินไปอาจไปรบกวนและทำลายกลุ่มสิ่งชีวิตจำพวกพืชและสัตว์ที่เป็นเหยื่อให้จำนวนลดลงและสูญหายได้[1]