เนื้อหา ของ ทรัพยศาสตร์

หนังสือกล่างถึงสภาพความยากจนในสยาม แนวทางแก้ไขและพัฒนาเศรษฐกิจ และการจัดระบบเศรษฐกิจใหม่เพื่อลดการเอาเปรียบและความเหลื่อมล้ำทางสังคม[2]:3

ผู้เขียนแบ่งปัจจัยการผลิตออกเป็น 3 ประการ คือ ที่ดิน แรงทำการ และทุน ซึ่งในทัศนะของผู้เขียนมองว่าทุนเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย เนื่องจากช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการลงทุนทำให้เกิดผลตอบแทนงอกเงย ชี้ให้เห็นความเหลื่อมล้ำระหว่างสัดส่วนการถือครองทุนในระบบเศรษฐกิจ แรงงานได้ส่วนแบ่งจากการผลิตน้อย แต่นายทุนที่ผูกขาดปัจจัยการผลิตได้ส่วนแบ่งมาก อย่าไรก็ดี ผู้เขียนยังไม่ต้องการยกเลิกกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลเพราะมองว่ากรรมสิทธิ์ก่อให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน ผู้เขียนเสนอให้ใช้ระบบสหกรณ์และการรวมตัวกันจัดตั้ง "สมาคมคนทำงาน" นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เรียกร้องให้รัฐบาลจัดการศึกษาขั้นต่ำในชั้นประถมศึกษาโดยไม่เก็บเงินแก่ราษฎร[1]