หาดทรายดำในประเทศไทย ของ ทรายดำ

หาดทรายดำบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกของอำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราดพื้นที่ป่าชายเลน (สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 4 (น้ำเชี่ยว ตราด) ที่อยู่ติดกับแนวหาดทรายดำถูกคลื่นทะเลซัดหอบเอาทรายดำไปสะสมตัวหนาและมีความกว้างประมาณ 2-4 เมตรตลอดแนวหาดทรายดำนี้รูปถ่ายภายใต้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดของเม็ดทรายดำจากอำเภอแหลมงอบหินโผล่ของหินเชิร์ตบริเวณชายฝั่งทะเลแหลมงอบ (ถ่ายภาพช่วงน้ำลง) ที่แผ่ออกไปในทะเลเป็นแนวหินโสโครกและมีเศษหินแตกหักเกลื่อนพื้นท้องทะเลที่เข้าใจว่าเป็นหินต้นกำเนิดของแร่เฟอริฮายไดรต์และตะกอนทรายซิลิก้าที่มีแร่เกอไทต์พอกอยู่เป็นตะกอนทรายดำ

สำหรับในประเทศไทยมีการพบหาดทรายดำบริเวณแนวชายฝั่งจากบ้านยายม่อมต่อเนื่องไปทางทิศตะวันออกไปเป็นระยะทางประมาณ 900 เมตรอยู่ในเขตสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 4 (น้ำเชี่ยว ตราด) อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด ที่พบตะกอนทรายดำสะสมตัวอยู่บนพื้นโคลนชายฝั่งทะเลทั้งนอกชายฝั่งออกไปและในเขตพื้นที่ป่าชายเลน

วิฆเนศ ทรงธรรม และคณะ (2553)[50] และ เจนจิรา สระทองยุ้ง (2553)[51] ได้รายงานผลการศึกษาวิจัยการสะสมตัวของทรายดำที่อำเภอแหลมงอบ ด้วยการเก็บตัวอย่างทรายดำและทำการร่อนคัดแยกขนาดของเม็ดตะกอนและศึกษารูปร่างและขนาดของเม็ดตะกอนด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่าเม็ดทรายส่วนใหญ่มีขนาดทรายละเอียดและมีรูปร่างเป็นทรงกลมถึงรูปร่างทรงไข่ มีพื้นผิวตะกอนเรียบ จากผลการวิเคราะห์ด้วย XRD ของตะกอนทรายดำพบว่ามีองค์ประกอบเป็นแร่เหล็กออกไซด์ชนิดเกอไธต์ (Goethite, FeO(OH))และแร่ควอตซ์ (SiO2) จากการศึกษาตัวอย่างหินโผล่ใต้ทะเลใกล้ชายฝั่งที่คาดว่าจะเป็นหินต้นกำเนิดทรายดำจากแผ่นหินบางด้วยกล้องจุลทรรศน์พบว่าส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยผลึกของแร่ควอตซ์ขนาดจุลทั้งชนิดปฐมภูมิและทุติยภูมิและมีร่องรอยของเหล็กออกไซด์ทุติยภูมิ จากการวิเคราะห์ตัวอย่างหินหาองค์ประกอบทางเคมีด้วยเครื่อง XRF พบว่าหินประกอบไปด้วยซิลิก้าถึงร้อยละ 96 และมีเหล็กออกไซด์ปะปนอยู่ร้อยละ 1.93 กล่าวได้ว่าตัวอย่างหินนั้นเป็นหินเชิร์ต

พบรูปแบบการตกสะสมตะกอนในพื้นที่ระหว่างแนวหินโสโครกกับแนวชายฝั่ง แบ่งออกได้เป็น 4 โซนเรียงลำดับจากแนวหินโสโครกถึงแนวชายฝั่งป่าชายเลนคือ โซนเศษตะกอนแตกหัก โซนตะกอนลูกรังสีน้ำตาลเหลือง โซนทรายดำบนพื้นโคลนชายฝั่ง และโซนทรายดำในป่าชายเลน จากรูปแบบการตกสะสมตะกอนนี้และจากผลการวิเคราะห์ตัวอย่างหินและตะกอนทรายดำแปลความหมายได้ว่า ในช่วงแรกเหล็กจะละลายออกมาจากหินเชิร์ตก่อน เกิดเป็นผลผลิตจากการผุพังที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบ แล้วต่อมาเกิดการตกสะสมตัวเป็นแร่เฟอริฮายไดรต์ (Ferrihydrite, 5Fe2O3.9H2O) และ/หรือแร่วัสไทต์ (Wustite, FeO) แล้วท้ายที่สุดก็เกิดการผุพังกลายเป็นทรายซิลิก้าที่มีแร่เหล็กเกอไธต์พอกตัวอยู่เป็นตะกอนรูปทรงกลมถึงรูปทรงไข่ การผุพังสลายตัวของแนวหินโสโครกนี้ เกิดจากคลื่นทะเลที่พัดไปในทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือ ควบคู่ไปกับอิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลงได้พัดพาเอาตะกอนทรายดำไปตกสะสมตัวเป็นชั้นบางๆบริเวณพื้นโคลนชายฝั่ง แล้วบางส่วนถูกพัดพาต่อเนื่องไปสะสมตัวเป็นชั้นตะกอนทรายดำที่หนากว่าที่บริเวณขอบแนวป่าชายเลนใต้ต้นโกงกางเป็นระยะทางประมาณ 900 เมตร และกว้างประมาณ 2 – 4 เมตร

หาดทรายดำที่แหลมงอบถือเป็นชนิดใหม่ที่ยังไม่เคยมีรายงานการค้นพบมาก่อน กล่าวคือไม่ได้เป็นชนิดที่ตกสะสมตัวแบบเพลเซอร์ และไม่ได้เป็นชนิดที่เกิดจากการระเบิดของลาวาร้อนเมื่อไหลไปสัมผัสกับน้ำทะเล แต่เป็นชนิดที่เกิดจากการผุพังทางเคมีจากหินที่มีแร่เหล็กเป็นองค์ประกอบโดยมีปฏิกิริยาการพอกตัวของแร่เหล็กชนิดเกอไธต์ลงบนพื้นผิวของตะกอนทรายซิลิก้าขนาดละเอียด เกิดเป็นตะกอนทรายสีดำแกมน้ำตาลที่มีรูปทรงกลมมน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทรายดำ http://cruises.about.com/library/pictures/tahiti/b... http://gocentralamerica.about.com/od/guatemalaguid... http://www.allposters.com/-sp/Black-Volcanic-Sand-... http://www.balistarisland.com/Bali-Tour/Bali-West-... http://bloggingantarctica.blogspot.com/2006/12/dec... http://briviani.blogspot.com/2009/04/weekend-trip.... http://russiaonline.blogspot.com/2006/10/black-san... http://www.cabinasblacksands.com/ http://www.dominica-weekly.com/information/more-on... http://www.flickr.com/photos/heldercotrim/26092273...