ข้อโต้เถียง ของ ทหารพราน

ช่วงแรกของการก่อตั้งทหารพรานบางคนเป็นอาชญากรที่ต้องคำพิพากษาแต่ได้มีการผ่อนผันโทษ[5] บางส่วนก็สมัครเข้าเป็นทหารพรานเพื่อให้ได้รับพื้นที่ทำกิน[6] ในบางพื้นที่ก็ใช้ทหารพรานทำหน้าที่แทนกองอาสารักษาดินแดน ซึ่งเป็นกำลังพลเรือนที่ปกป้องประชาชนในท้องถิ่นจากกองโจร[7] จนถึงปลาย พ.ศ. 2524 ทหารพรานเข้าแทนที่ 80% ของหน่วยทหารปกติในการปฏิบัติภารกิจตามแนวชายแดนพม่า กัมพูชาและมาเลเซีย[8]

ทหารพรานมีประวัติศาสตร์ที่เจ็บช้ำ โดยเป็นหน่วยที่มักถูกกล่าวหาว่ากระทำการโหดร้าย ใช้อำนาจโดยไม่ถูกต้องและมีส่วนพัวพันกับการค้ายาเสพติด นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าหน่วยทหารพรานมีอันธพาลท้องถิ่นส่วนมาก ซึ่งมักใช้สถานะของตนก่ออาชญากรรมต่อเพื่อนพลเมืองต่อไป มีการปฏิรูปหลายครั้งนับตั้งแต่ พ.ศ. 2523 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคัดเลือกทหารใหม่ ซึ่งเป็นมืออาชีพมากกว่าที่เคยเป็นเมื่อยี่สิบปีก่อน[8]

อดีตทหารพรานยังต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับกิจกรรมก่อการร้ายระหว่างการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ในกรุงเทพมหานคร แต่ไม่มีหลักฐานชัดเจนในการกล่าวอ้าง มีเพียงรัฐบาลในตอนนั้นที่พูดว่ามีชายชุดดำในกลุ่มผู้ชุมนุม[9][10]