เป็นครูมวย ของ ทองหล่อ_ยาและ

ครูทอง ท่านใช้ ชื่อค่ายมวยว่า "ค่ายศรีสกุล" ต่อมาใช้ "ค่ายสิงห์ทองคำ" แต่ซ้ำกับค่ายอื่น ท่านจึงไปกราบขอชื่อ ค่ายมวยจากอาจารย์เขตร ซึ่งก็ได้รับความกรุณาโดยอาจารย์ได้ตั้งชื่อให้ว่า "ค่ายไชยารัตน์" ด้วยเหตุว่าครั้งเรียน วิชามวยไชยากับ อาจารย์เขตร ศิษย์ทุกคนจะใช้สกุลในการขึ้นชกมวยว่า "เชื้อไชยา" ครูทอง มีลูกศิษย์ หลายรุ่น แต่ละรุ่นท่านก็สอนไม่เหมือนกัน บางคนจะชกมวยสากล บางคนจะชกมวยไทยเวที ท่านจะสอนแตกต่างกัน ตามโอกาส

จนเมื่อ พ.ศ. 2526 ครูทอง ท่านได้ไปเผยแพร่มวยไทยคาดเชือกที่ ธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานผ่านฟ้า และได้พบกับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ชมรมต่อสู้ป้องกันตัว อาวุธไทย ได้ขอท่านเรียนมวย แรกๆก็ไปเรียนที่บ้านครู แต่ระยะหลังจึงได้เชิญ ครูทองท่านมาสอนที่มหาวิทยาลัย และครูได้เริ่มสอนแบบโบราณ คาดเชือกด้วยเห็นว่า ท่าย่างสามขุมของดาบ นั้นเป็นแนวเดียวกับการเดินย่างของมวยคาดเชือก จนถึง พ.ศ. 2527 นายชูพงศ์ ปัญจมะวัต นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานชมรมศิลปป้องกันตัวและอาวุธไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในขณะนั้น ได้เชิญครูท่านไปเป็น อาจารย์พิเศษที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสอนวิชามวยไทยสายไชยาและกระบี่กระบอง ในรูปแบบของการตีหัวไม้และการต่อสู้ด้วยดาบแบบใช้แม่ไม้เชิงมวยและการต่อสู้ด้วยไม้พลองสั้นให้กับสมาชิกชมรมศิลปป้องกันตัวและอาวุธไทยตั้งแต่นั้นมา ในปัจจุบันชมรมศิลปป้องกันตัวและอาวุธไทยได้เปิดสอนวิชานี้ให้กับผู้ที่สนใจและตั้งเป็นสำนักดาบ ชื่อว่า สำนักดาบจุฬาไชยารัตน์ เพื่อสืบทอดวิชาการต่อสู้ที่เรียนจากครูทองสืบมา

ครูทอง ได้ถ่ายทอด ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว มวยคาดเชือก สายไชยา ให้กับทั้งสองสถาบันคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นหลัก ส่วนสถาบันการศึกษาอื่นที่ครูทองเคยได้รับเชิญไปสอน ได้แก่ มหาวิทยาลัยสยาม วิทยาลัยเทคโนโลยีบางกะปิ เป็นต้น จนกระทั่งประมาณ พ.ศ. 2537 ครูจึงหยุดเดินทางไปสอน เนื่องจากโรคถุงลมโป่งพองกำเริบหนัก ครูทองหล่อ ยาและ ได้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอด และถึงแก่กรรมด้วยวัยเพียง 67 ปี ในเวลาเช้า 8.45 น. ของวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2539

บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล