ทอมสันส์กาเซลล์
ทอมสันส์กาเซลล์

ทอมสันส์กาเซลล์

ทอมสันส์กาเซลล์ (อังกฤษ: Thomson’s gazelle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Eudorcas thomsonii) เป็นกาเซลล์ชนิดหนึ่งในวงศ์ Antilopinae ในวงศ์ใหญ่ Bovidae โดยได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่โจเซฟ ทอมสัน นักสำรวจชาวสกอต[2]ทอมสันส์กาเซลล์จัดเป็นแอนทิโลปขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 1 เมตร หางยาวประมาณ 25 เซนติเมตร มีความสูงจากพื้นถึงไหล่ประมาณ 70 เซนติเมตร ขนเป็นสีน้ำตาลอมเหลืองมีแถบสีดำพาดอยู่ทั้งสองข้างของลำตัว ขนที่บริเวณท้องเป็นสีขาว หางมีสีดำ มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย แต่เขาของตัวเมียจะเล็กและสั้นกว่าตัวผู้ น้ำหนักเต็มที่อยู่ที่ประมาณ 20-40 กิโลกรัมพบกระจายพันธุ์ทั่วไปในบริเวณภาคตะวันออกของทวีปแอฟริกา เช่น เคนยา, แทนซาเนียมีพฤติกรรมชอบอยู่รวมเป็นฝูงขนาดใหญ่ตามทุ่งหญ้าที่หญ้าไม่สูงมากนักหรืออยู่ตามทุ่งโล่งที่มีพุ่มไม้ขึ้นกระจัดกระจายเป็นสัตว์ที่ปราดเปรียวโดยสามารถวิ่งได้เร็วถึง 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อแรกเกิด ลูกทอมสันส์กาเซลล์จะหมอบซ่อนตัวอยู่ในพงหญ้า โดยแม่จะแวะมาให้นมเป็นระยะ ประมาณ 5-6 วัน จนกว่าจะแข็งแรงพอที่จะวิ่งตามฝูงได้ และจะเริ่มผสมพันธุ์เมื่ออายุได้ประมาณ 8-9 เดือน มีระยะตั้งท้องนาน 5.5-6 เดือน ออกลูกได้ปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ตัว ทอมสันส์กาเซลล์มีนิสัยการกินแบบเดียวกับสัตว์ในวงศ์ Bovinae มากกว่าการกินใบไม้พุ่มแบบสัตว์ในวงศ์ Caprinae มีประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารหยาบเป็นเนื้อสูง ในธรรมชาติ ทอมสันส์กาเซลล์จะตกเป็นเหยื่อของสัตว์กินเนื้ออยู่เสมอ ๆ เช่น สิงโต, เสือดาว, เสือชีตาห์ หรือไฮยีนา เป็นต้นในประเทศไทย ทอมสันส์กาเซลล์กำลังจะเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ จากการสนับสนุนโดยกรมปศุสัตว์ให้เกษตรกรได้เลี้ยง[3]