ชีววิทยา ของ ทะเลลึก

บริเวณด้านล่างของทะเลนั้นจะแบ่งออกเป็นโซนอื่น ๆ โดยเริ่มจากเขตที่มีแสงเข้มซึ่งมีช่วงความลึกตั้งแต่ 200 ถึง 1000 เมตรจากระดับน้ำทะเลซึ่งมีแสงน้อยมากที่ทะลุผ่านลงมาในเขตนี้ได้การผลิตและสังเคราะห์แสงของพืชในเขตนี้จึงค่อนข้างยาก ด้านล่างของเขตนี้จะประกอบด้วยบริเวณที่คล้ายบ่อมีน้ำขังอยู่ลึก ๆ และมีความอุดมสมบูรณ์ อาหารประกอบด้วยสารอินทรีย์ที่ตกค้างซึ่งเรียกว่า 'หิมะทะเล' และซากที่ตกลงมาจากเขตที่แสงส่องถึง

โครงสร้างทางกายภาพ

สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลนั้นส่วนใหญ่มีการปรับตัวที่แปลกประหลาดเช่นการเรืองแสง มีปากที่ใหญ่มีฟันที่แหลมคม โครงสร้างที่สามารถกัดกินเหยือได้โดนไม่เกี่ยงขนาด อีกทั้งพวกมันยังมีตาที่ไวต่อแสงมีช่องมองภาพที่สามารถเห็นเงาของเหยื่อได้ แต่เหยือก็มีการปรับตัวเช่นกันด้วยการทำให้ตัวเองรีบแบนและลดเงาด้วยการเรืองแสงและการที่มีอวัยวะเรืองแสง(photophores)ใต้ท้องเพื่อปรับแสงให้เข้ากับด้านบนตัวปลาเพื่อให้นักล่าจากด้านล่างไม่สามารถมองเห็นมันได้อีกด้วย

การลอยตัว

ปลาทะเลลึกหลายสายพันธุ์มีเนื้อเหมือนวุ้นส่วนใหญ่ประกอบด้วยไกลโคสะมิโนไกลแคนเพื่อมาแทนที่ถุงลมหรือการใช้ก๊าซในการลอยตัวซึ่งการมีเนื้อแบบนี้จะทำให้มีความหนาแน่นต่ำ[11]นอกจากนี้ยังมีการค้นพบหมึกทะเลลึกที่ใช้เนื้อเยื่อที่มีเจลาตินเข้ากับห้องลอยในตัวตัวที่เต็มไปด้วยของเหลวที่สร้างขึ้นจากของเสียจากการเผาผลาญซึ่งของเหลวนั้นคือแอมโมเนียมคลอไรด์ซึ่งมีน้ำหนักเบากว่าน้ำโดยรอบ

การเผาผลาญพลังงาน

พวกมันมีการเผาผลาญอาหารที่ช้าและอาหารที่ล่ามานั้นพวกมันจะล่าแบบไม่เลือกและพวกมันชอบที่จะรออาหารเหยื่อมากกว่าไล่ล่าเพราะมันว่ายน้ำได้ช้าและเพื่อไม่ให้สูญเสียพลังงานมากจนเกินไป

การผสมพันธุ์

เนื่องจากใต้ทะเลลึกนั้นหาคู่ได้ยากพวกมันจึงมีการปรับตัวให้ตัวเองสามารถเปลียนแปลงเพศได้ในกรณีที่เจอเพศเดียวกัน

อาหาร

สิ่งมีชีวิตในทะเลลึกเกือบทั้งหมดพึ่งพาการจมน้ำและสารอินทรีย์ที่ตายแล้วเป็นส่วนใหญ่ซึ่งอยู่ในรูปของหิมะทะเลประมาณ 1-3% กับซากสัตว์ 97-99% เช่นซากปลาหรือวาฬเป็นต้น[12]และนอกจากนี้ยังมีFreyellidaeที่กินอาหารจากอนุภาคอินทรีย์โดยใช้หนวดได้อีกด้วย[13]อีกทั้งไวรัสทะเลยังมีบทบาทสำคัญในการขับสารอาหารในตะกอนในทะเลลึก (ระหว่าง 5x1012 และ 1x1013 เฟสต่อตารางเมตร) ในตะกอนของทั่วโลก[14]

เคมีสังเคราะห์

มีหลายสายพันธุ์ที่ไม่ได้พึ่งพาอินทรียวัตถุโดยสิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะอยู่บริเวณปล่องแบบน้ำร้อนยกตัวอย่างเช่นความสัมพันธ์ทางชีวภาพระหว่างหนอนท่อและแบคทีเรียเคมีบำบัด ซึ่งปล่องแบบน้ำร้อนนี้เป็นหนึ่งในระบบนิเวศที่ไม่กี่แห่งบนโลกที่ไม่ต้องอาศัยแสงแดดในการจัดหาพลังงาน[15]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทะเลลึก http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1801/... http://www.nature.com/nature/journal/v454/n7208/ab... http://www.space.com/searchforlife/seti_phillips_e... http://ing.dk/artikel/spoerg-scientariet-noget-om-... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18756250 http://www.astrobio.net/news/print.php?sid=617 //doi.org/10.1038%2Fnature07268 http://www.nhm.ac.uk/nature-online/earth/oceans/de... https://www.nwdc.navy.mil/Documents/NTRP_1-02.pdf