การก่อตัว ของ ทะเลสาบไท่

จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่าโครงสร้างรูปทรงกลมของทะเลสาบไท่เป็นผลมาจากผลกระทบของดาวตก (meteor impact) โดยมาจากการค้นพบแร่ธาตุต่าง ๆ ในยุคดึกดำบรรพ์ คือ หิน shatter cones หิน shock-metamorphosed ควอตซ์ อุลกมณี และหิน shock-metamorphic unloading fractures[4] จากการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ พบความเป็นไปได้ว่ามีการอัดปะทะเป็นแอ่ง (impact crater) ที่เกิดขึ้นมากกว่า 70 ล้านปีก่อน หรืออาจเป็นช่วงปลายยุคดีโวเนียน (Devonian Period)[5]

จากการศึกษาฟอสซิล หรือซากดึกดำบรรพ์ พบว่าพื้นที่บริเวณทะเลสาบไท่เคยเป็นพื้นดินแห้งมาก่อน จนกระทั่งยุคโฮโลซีน (Holocene) หรือมากกว่าหมื่นปีที่ผ่านมา ได้กลายเป็นทางน้ำไหลผ่านสู่ทะเลจีนตะวันออก ต่อมาสันดอนที่สะสมเพิ่มมากขึ้นบริเวณปากแม่น้ำแยงซี  (อังกฤษ: Yangtze river; จีนตัวย่อ: 扬子江; จีนตัวเต็ม: 揚子江; พินอิน: Yángzǐ jiāng) และแม่น้ำเฉียนถัง (อังกฤษ: Qiantang River; จีนตัวย่อ: 钱塘江; จีนตัวเต็ม: 錢塘江; พินอิน: Qiántáng Jiāng, หรือรูจักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า แม่น้ำเฉียน) ทำให้พื้นที่บริเวณทะเลสาบถูกปิดล้อมและไม่มีทางออกสู่ทะเลอีกต่อไป ภายหลังเมื่อมีการไหลเข้าของน้ำจืดจากแม่น้ำและฝนทำให้ทะเลสาบแห่งนี้กลายเป็นทะเลสาบน้ำจืดในที่สุด

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทะเลสาบไท่ http://www.chinadaily.com.cn/china/2008-04/16/cont... http://www.chinadaily.com.cn/cndy/2008-04/04/conte... http://www.szkp.org.cn/suzhoudili/szdl/200606/0663... http://www.iht.com/articles/2007/10/14/asia/14chin... http://www.jsonline.com/story/index.aspx?id=560975 http://www.msnbc.msn.com/id/18959222/from/RS.1/ http://www.springerlink.com/content/h0jw1n5l592112... http://news.xinhuanet.com/photo/2008-09/01/content... http://adsabs.harvard.edu/abs/1992lmip.conf...77W http://wuxi.jiangsu.net/attraction/premier.php?nam...