หลักการ ของ ทัศนศาสตร์เชิงฟิสิกส์

คำว่า "ทัศนศาสตร์เชิงฟิสิกส์" บางครั้งก็ใช้เพื่อหมายถึง การประมาณความถี่สูง ที่ใช้กันทั่วไปในทัศนศาสตร์ วิศวกรรมไฟฟ้า และ ฟิสิกส์เชิงประยุกต์ ในกรณีดังกล่าว ถือเป็นวิธีการที่อยู่ระหว่างทัศนศาสตร์เชิงเรขาคณิต ซึ่งไม่สนใจธรรมชาติความเป็นคลื่นของแสง และ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งอธิบายว่าแสงเป็นคลื่นโดยสมบูรณ์ ที่ใช้คำว่า "ฟิสิกส์" ก็เนื่องจากมีลักษณะเชิงฟิสิกส์มากกว่าเชิงเรขาคณิตหรือ ไม่ใช่เพราะเป็นทฤษฎีทางฟิสิกส์ล้วน ๆ

การประมาณนี้เริ่มจากพิจารณาสนามแม่เหล็กไฟฟ้าภายในคลื่นแสง แล้วทำการหาปริพันธ์เพื่อคำนวณสนาแม่เหล็กไฟฟ้าที่ผ่านหรือกระเจิง ซึ่งในถ้ามองในทางกลศาสตร์ควอนตัมนี่จะอธิบายได้ด้วยการประมาณของบอร์น

การประมาณนี้เป็นวิธีทั่วไปในการประมาณผลคร่าว ๆ ของการเลี้ยวเบนในทัศนศาสตร์

ในวิศวกรรมวิทยุ ใช้เพื่อประเมินปรากฏการณ์อย่างคร่าว ๆ ที่คล้ายกับปรากฏการณ์ทางแสงที่ปรากฏในเสาอากาศแบบสะท้อน หรือ การกระเจิงของเรดาร์ ในสาขานี้ การประมาณด้วยทัศนศาสตร์เชิงฟิสิกส์จะอธิบายกระแสไฟฟ้าที่จะปรากฏใน ระนาบสัมผัสของวัสดุที่คล้ายกับวัสดุที่เป็นส่วนประกอบของวัตถุที่คลื่นวิทยุตกกระทบ โดยมองว่าเป็นกระแสไฟฟ้าบนตัวกระจายในแต่ละจุดบนคลื่น กระแสในพื้นที่เงาจะถือว่าเป็นศูนย์ สนามกระเจิงโดยประมาณนั้นได้มาจากการรวมกระแสเหล่านี้เข้าด้วยกัน ใช้ได้ดีสำหรับวัตถุนูนเรียบลื่นขนาดใหญ่และพื้นผิวที่มีการสะท้อนแสงต่ำ

แม้ว่าจะอธิบายการสะท้อน การแทรกสอด การเลี้ยวเบน และโพลาไรเซชันได้ถูกต้องไม่มากก็น้อย แต่ก็ค่อนข้างไม่ถูกต้องในย่านที่ห่างจากขอบเขตเชิงทัศนศาสตร์ และไม่สามารถอธิบายการพึ่งพิงโพลาไรเซชันของการเลี้ยวเบนได้ เนื่องจากเป็นการประมาณค่าความถี่สูง จึงมักจะแม่นยำในขอบเขตคลื่นวิทยุมากกว่า

เทคนิคที่คล้ายกันคือทฤษฎีการเลี้ยวเบนของทัศนศาสตร์เชิงเรขาคณิต ข้อบกพร่องบางประการของการประมาณทางทัศนศาสตร์เชิงฟิสิกส์ที่กล่าวถึงข้างต้นสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยใช้ทฤษฎีการเลี้ยวเบนของแสงเชิงเรขาคณิต แต่ในทางกลับกัน ข้อบกพร่องของทฤษฎีการเลี้ยวเบนของเลนส์เชิงเรขาคณิตบางครั้งสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการประมาณด้วยทัศนศาสตร์เชิงฟิสิกส์

ใกล้เคียง

ทัศนศิลป์ ทัศนศักดิ์ ถนอมสิทธิ์ ทัศนศึกษา ทัศนศาสตร์ ทัศนศาสตร์เชิงเรขาคณิต ทัศนศาสตร์เชิงฟิสิกส์ ทัศนศิลป์และการออกแบบ ทัศนาวลัย ศรสงคราม ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ทัศน์พล วิวิธวรรธน์