ประวัติ ของ ทัศนียภาพ_36_มุมของภูเขาฟูจิ

"ทัศนียภาพ 36 มุมของภูเขาฟูจิ" เป็นภาพชุดอูกิโยะที่มีชื่อเสียงที่สุดในบรรดาภาพอูกิโยะชุดต่าง ๆ ที่สร้างกันขึ้นมา นอกจากนั้นก็ยังมีภาพเขียนในหัวข้อเดียวกันนี้ที่เขียนโดยจิตรกรอื่นอีกหลายท่าน เช่นภาพชุดชื่อเดียวกัน -- "ทัศนียภาพ 36 มุมของภูเขาฟูจิ (ฮิโรชิเงะ)" โดยฮิโรชิเงะผู้เป็นจิตรกรภาพอูกิโยะผู้มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่ง และภาพชุดต่อมาของโฮกูไซเองในชื่อ "ทัศนียภาพ 100 มุมของภูเขาฟูจิ" ภูเขาฟูจิเป็นหัวข้อที่นิยมเขียนกันในจิตรกรรมญี่ปุ่นมาเป็นเวลานาน เพราะความสำคัญของภูเขาทั้งทางด้านวัฒนธรรมและศาสนา ความสำคัญนี้สืบมาจาก "ตำนานคนตัดไผ่" (The Tale of the Bamboo Cutter) ที่บรรยายถึงเทพเจ้าที่ทิ้ง "ธาตุชีวิต" (elixir of life) ไว้บนยอดเขา ภูเขาฟูจิเชื่อกันว่าเป็นแหล่งความลับของความเป็นเป็นอมตะ ซึ่งเป็นหัวใจของสิ่งที่ครอบงำจิตใจของโฮกูไซเอง[2]

ภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดในชุดนี้คือภาพ "คลื่นยักษ์นอกฝั่งคานางาวะ" ที่อาจจะแปลตรงตัวจากภาษาญี่ปุ่นว่า "นอกฝั่งคานางาวะ ด้านหลังของคลื่น" ที่เป็นภาพเรือสามลำที่กำลังผจญกับคลื่นยักษ์ที่ดูเหมือนจะซัดเรือทั้งสามให้กลืนหายเข้าไปในก้อนคลื่นได้ ภาพนี้มีภูเขาฟูจิอยู่ไกลลิบในฉากหลัง โดยทั่วไปแล้วคลื่นในภาพนี้กล่าวกันว่าเป็นคลื่นสึนามิ แต่อันที่จริงแล้วก็อาจจะเป็นเพียงคลื่นขนาดใหญ่เท่านั้น

ภาพแต่ละภาพในชุดนี้ขั้นแรกสร้างโดยการวาดภาพลงบนกระดาษก่อน ที่นำไปใช้เป็นแบบในการแกะพิมพ์ไม้ที่ใช้ในการทาหมึกสีต่าง ๆ ที่ประทับบนกระดาษเพื่อให้ได้ภาพที่ต้องการ ความซับซ้อนของงานของโฮกูไซอยู่ที่การใช้สีต่าง ๆ ที่ทำให้ต้องสร้างพิมพ์สำหรับสีทุกสีตามที่ต้องการในภาพ

ใกล้เคียง

ทัศนียา การสมนุช ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ ทัศนีย์ บุณยคุปต์ ทัศนียา รัตนเศรษฐ ทัศนียภาพ 36 มุมของภูเขาฟูจิ ทัศนีย์ ชลหวรรณ ทัศนีย์ ขุนทอง ทัศนียภาพสองตา ทัศนียภาพของเสียง ทัศนาวลัย ศรสงคราม