การก่อสร้าง ของ ทางพิเศษบูรพาวิถี

ประวัติการเปิดให้บริการ

การก่อสร้างตลอดสายแล้วเสร็จตามสัญญาตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2543 (ระยะเวลาก่อสร้างที่ขยายจากแผนงานเดิม 11 เดือน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2540) โดยได้เปิดให้บริการเป็นช่วงต่าง ๆ ดังนี้

  • กม.2+500 ถึง กม.7+500 เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2541
  • กม.7+500 ถึง กม.11+400 เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2541
  • กม.11+400 ถึง กม.19+300 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  • กม.19+300 ถึง กม.25+800 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542
  • กม.25+800 ถึง กม.38+300 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542
  • กม.38+300 ถึง กม.46+100 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
  • กม.46+100 ถึง กม.55+350 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543

ทางยกระดับด้านทิศใต้สนามบินสุวรรณภูมิเชื่อมทางพิเศษบูรพาวิถี เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2552 และทางเชื่อมทางพิเศษสายบางพลี-สุขสวัสดิ์ กับทางพิเศษบูรพาวิถี เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ส่วนต่อขยาย

โครงการที่จะสร้างต่อจากทางด่วนพิเศษบูรพาวิถีส่วนแรก คือ สายบูรพาวิถี–พัทยา รวมระยะทาง 68 กิโลเมตร งบลงทุน 5 หมื่นล้านบาท เมื่อสร้างสายบูรพาวิถี–พัทยา รวมส่วนแรกที่สร้างเสร็จจะมีระยะทางทั้งสิ้น 123 กิโลเมตร โดยโครงการนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน

ทั้งนี้จะดำเนินการก่อสร้างจากจุดสิ้นสุดทางพิเศษในปัจจุบัน ถึงทางแยกต่างระดับหนองไม้แดง โดยเชื่อมต่อกับถนนเลี่ยงเมืองชลบุรี รวมระยะทาง 4.5 กม. ก่อน เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรหน้านิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร[2][3]

ใกล้เคียง

ทางพิเศษศรีรัช ทางพิเศษบูรพาวิถี ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางพิเศษฉลองรัช ทางพิเศษประจิมรัถยา ทางพิเศษอุดรรัถยา ทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกตะวันตก ทางพิเศษสาย S1 ทางพิเศษกาญจนาภิเษก ทางพิเศษอุตราภิมุข