ประวัติ ของ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข_225

เนื่องจากเดิมทางหลวงสายนี้มีลักษณะขาดตอนกัน ยังไม่เชื่อมเป็นทางหลวงสายเดียวกันจนถึงปัจจุบัน กล่าวคือ

  • ช่วงตั้งแต่แยกบึงบอระเพ็ด (อำเภอเมืองนครสวรรค์) ถึงอำเภอชุมแสง เดิมเคยใช้รหัสทางหลวงหมายเลข 1118 (ปัจจุบันรหัสทางหลวงหมายเลข 1118 ใช้เรียกชื่อถนนสายท่าพุทรา – บางมูลนาก ในเวลาต่อมา)
  • ช่วงตั้งแต่อำเภอชุมแสงถึงอำเภอหนองบัว เดิมเคยใช้รหัสทางหลวงหมายเลข 1119 (ปัจจุบันรหัสทางหลวงหมายเลข 1119 ใช้เรียกชื่อถนนสายน้ำสาดเหนือ – ท่าตะโก ในเวลาต่อมา)
  • ช่วงตั้งแต่อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ถึงอำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2530 ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 สายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (นครสวรรค์) - ชัยภูมิ ตอนแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (อำเภอหนองบัว) - บรรจบทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2275 (บ้านหนองแดง) และตอนแยกทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2275 (บ้านซับบอน) - บ้านหลุบโพธิ์ พ.ศ. 2530[1]
  • ส่วนช่วงตั้งแต่อำเภอบ้านเขว้า ถึงอำเภอเมืองชัยภูมิ เดิมเคยใช้รหัสทางหลวงหมายเลข 2053 (ปัจจุบันกรมทางหลวงได้ยกเลิกรหัสหมายเลขทางหลวงนี้ และถูกยุบรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 ในเวลาต่อมา)

ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 กรมทางหลวงได้กำหนดรหัสทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 และได้ยุบรวมทางหลวงสายดังกล่าวข้างต้นทั้งหมด ให้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินสายนี้ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 มีการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 สายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (นครสวรรค์) - ชัยภูมิ ตอนทางเลี่ยงเมืองชุมแสง พ.ศ. 2541[2] โดยแนวเส้นทางเริ่มตั้งแต่บริเวณตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามทางรถไฟสายเหนือ และไปสิ้นสุดบริเวณตำบลหนองกระเจา อำเภอชุมแสง โดยเริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2545 แล้วเสร็จเมื่อประมาณ พ.ศ. 2547

ใกล้เคียง

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ทางหลวงในประเทศไทย ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 ทางหลวงไตรภาคีอินเดีย–พม่า–ไทย ทางหลวงสายเอเชีย ทางหลวงพิเศษหมายเลข 81