ทางหลวงท้องถิ่น ของ ทางหลวงในประเทศไทย

ทางหลวงท้องถิ่น คือ ทางหลวงที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะ และบำรุงรักษา และได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงท้องถิ่น ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้จัดให้ลงทะเบียนไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด ทางหลวงท้องถิ่นทั่วประเทศมีระยะทางประมาณ 352,465 กิโลเมตร มีการกำหนดรหัสสายทางเป็นตัวอักษร 3 ตัว แล้วตามด้วยตัวเลข 5 หลัก โดยมีรายละเอียด ดังนี้[2]

ลักษณะป้ายทางหลวงท้องถิ่น มี 2 แบบ คือ ป้ายแนะนำโครงการ (ซ้าย) และป้ายหมายเลขทางหลวง (ขวา)
  • ตัวอักษรย่อ ตัวอักษร 2 ตัวแรก เป็นอักษรย่อของจังหวัด ตามด้วยตัวอักษร ถ หมายถึง ถนนทางหลวงท้องถิ่น เช่น สข.ถ., สต.ถ., ปต.ถ., พท.ถ. เป็นต้น
  • หมายเลข โดยหมายเลขตัวแรก, 2 ตัวแรก หรือ 3 ตัวแรก เป็นลำดับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในจังหวัดตามบัญชีที่กรมทางหลวงชนบทกำหนดไว้ และตามด้วยตัวเลขที่เหลือซึ่งเป็นลำดับของสายทางที่ลงทะเบียนในเขต อปท. นั้นๆ

ตัวอย่างเช่น รหัสสายทาง สข.ถ 25-100 มีความหมายว่า เป็นทางหลวงท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดสงขลา โดยที่มีเทศบาลตำบลนาทวีเป็นผู้รับผิดชอบสายทางและมีลำดับสายทางที่ลงทะเบียนลำดับที่ 100

ป้ายทางหลวงท้องถิ่นความหมาย
ป้ายเลขทางท้องถิ่นโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดดูแล
ป้ายเลขทางท้องถิ่นโดยเทศบาลดูแล
ป้ายเลขทางท้องถิ่นโดยองค์การบริหารส่วนตำบลดูแล

ป้ายหมายเลขทางหลวงท้องถิ่นจะบอกรหัสสายทาง ซึ่งแบ่งออกเป็นสามบรรทัด ได้แก่ บรรทัดแรกเป็นตัวอักษรย่อจังหวัด 2 ตัว ตามด้วยตัวอักษร ถ บรรทัดที่สองเป็นหมายเลข 5 ตัว และบรรทัดที่สามเป็นชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ใกล้เคียง

ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ทางหลวงในประเทศไทย ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 ทางหลวงไตรภาคีอินเดีย–พม่า–ไทย ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ทางหลวงสายเอเชีย